ผู้อพยพหลั่งไหลเข้ายุโรปต่อเนื่องหลังจากเยอรมนีและออสเตรียอ้าแขนรับ

Migrants and refugees disembark from a ferry arriving from the northeastern Greek island of Lesbos, Piraeus, Greece, Sept. 6, 2015.

ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่เยอรมนีบอกว่าเตรียมรับผู้อพยพถึง 800,000 คน

Your browser doesn’t support HTML5

europe refugees crisis

ผู้อพยพหลั่งไหลเข้ายุโรปต่อเนื่อง หลังจากเยอรมนีและออสเตรียอ้าแขนรับคนเหล่านี้ซึ่งมาจากตะวันออกกลาง และแอฟริกาเป็นหลัก จำนวนมากเป็นผู้อพยพมาจากซีเรียที่หนีภัยสงครามมา

คาดว่าเมื่อสิ้นสุดวันอาทิตย์ น่าจะมีคนจำนวน 8,000 คนเดินทางเข้าเยอรมนี ครั้งนี้น่าจะเป็นระลอกแรกๆ ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่เยอรมนีบอกว่าเตรียมรับผู้อพยพถึง 800,000 คน

พระสันตปาปาฟรานซิสตรัสเรียกร้องให้โบสถ์ทุกโบสถ์ ชุมชนทุกแห่ง และศาสนาสถานทุกที่ เป็นครอบครัวอุปการะต่อผู้อพยพเหล่านี้

ในทางการเมืองหลายฝ่ายไม่อยากเรียกคนเหล่านี้ว่าผู้ลี้ภัย เพราะนั่นหมายความว่าทางการต้องให้การปกป้องคุ้มครองตามพันธะขอกฎหมายระหว่างประเทศ จึงใช้คำว่าผู้อพยพแทน

Frederica Mogherini ประธานหน่วยงานด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรปกล่าวว่า ยิ่งประเทศต่างๆยอมรับเรื่องนี้ด้านจิตใจและการเมืองได้เร็วมากเท่าใด การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเกิดขึ้นเร็วมากขึ้นเท่านั้น

เยอรมนี ออสเตรีย พร้อมด้วยอิตาลีและฝรั่งเศส มีท่าทีชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือผู้อพพ ในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากรเข้ายุโรปครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศแกนนำเหล่านี้ต้องการให้มีการกระจายจำนวนผู้อพยพอย่างยุติธรรม และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามในบรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 28 ประเทศ มีหลายประเทศขนาดเล็กที่ยังไม่พร้อม

ที่ฮังการีซึ่งเป็นทางผ่านเข้ายุโรปตะวันตก นายกรัฐมนตรี Viktor Orban กล่าวว่าหากรับผู้อพยพทุกคน ยุโรปจะถูกทำลาย ฮังการียังได้ตั้งแนวลวดหนามความยาว 174 กิโลเมตรระหว่างชายแดนของตนกับของเซอร์เบียเพื่อกันผู้อพยพ

ไกลออกไปอีกด้านหนึ่งของโลก ที่ประเทศออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรี Tony Abbott กล่าวว่าออสเตรเลียพร้อมให้เงินช่วยเหลือด้านผู้อพยพเพิ่มต่อสหประชาชาติ และยินดีที่จะเป็นผู้รับดูแลผู้อพยพด้วย

(รายงานโดยห้องข่าววีโอเอ / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)

ภาพวิกฤติการณ์ผู้อพยพในยุโรป