ผลวิจัยชี้อาหารอเมริกันที่ปริมาณเนื้อสัตว์สูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในกลุ่มคนอเมริกันผิวดำ

Steak on the grill.

การทดลองเปลี่ยนลักษณะอาหารที่รับประทานเป็นเวลานานสองสัปดาห์มีผลชัดเจนต่อความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

Your browser doesn’t support HTML5

ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในสหรัฐอเมริกา มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอันดับที่สอง ชาวอเมริกันผิวสีเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าราว 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย อาหารเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้

ทีมนักวิจัยทีมหนึ่งที่ประกอบด้วยนักวิจัยจากนานาชาติได้ทำการศึกษาว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชาวอเมริกันผิวสีกับชาวอาฟริกันในชนบทของประเทศอาฟริกาใต้ สลับอาหารที่รับประทานเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าชาวอาฟริกันในชนบทของประเทศอาฟริกาใต้มีอัตราการการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำกว่าชาวอเมริกันผิวดำอย่างมากเนื่องจากอาหารที่รับประทานมีใยอาหารสูงและมีไขมันต่ำ

หลังการทดลองสลับอาหารที่รับประทานดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ทีมนักวิจัยสรุปว่า หากอาสาสมัครชาวอาฟริกันที่เข้าร่วมในการทดลองยังรับประทานอาหารสไตล์อเมริกันต่อไป พวกเขาจะมีโอกาสเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ในขณะที่นักวิจัยเห็นว่าอาสาสมัครชาวอเมริกันผิวสีกลับเริ่มแสดงอาการที่ส่อว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลง

Dr. Stephen O’ Keefe เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงานผลการศึกษานี้และเป็นศาสตราจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยการแพทย์ Pittsburg School of Medicine กล่าวว่าผลการศึกษานี้สร้างความแปลกใจแก่ทีมงานวิจัยของตนเองเป็นอย่างมาก ผลการศึกษานี้ชี้ว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์ของโรคได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือเพียงแค่ปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารที่รับประทานเท่านั้นซึ่งมีผลอย่างมากต่อสุขภาพของผนังของลำไส้ใหญ่

การศึกษาครั้งนี้มีอาสาสมัคร 20 คนจากแต่ละประเทศ อายุระหว่าง 50 – 65 ปี เข้าร่วม ระหว่างการทดลอง อาสาสมัครชาวอาฟริกันรับประทานอาหารสไตล์อเมริกันที่มีเนื้อสัตว์ในปริมาณสูง ส่วนอาสาสมัครชาวอเมริกันผิวสีต้องรับประทานอาหารสไตล์อาฟริกันที่มีใยอาหารสูง รวมทั้งถั่ว ผลไม้และผักหลากหลายชนิด

หลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ ทีมนักวิจัยได้เปรียบเทียบตัวอย่างอุจจาระและกากของเสียในลำใส้ใหญ่จากอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มกับตัวอย่างที่จัดเก็บเอาไว้ก่อนหน้าการทดลอง

ผลการเปรียบเทียบตัวอย่างกากของเสียจากลำไส้ใหญ่ชี้ว่า ชาวอเมริกันผิวสีได้ประโยชน์จากการรับประทานอาหารสไตล์อาฟริกันที่มีใยอาหารสูง เพราะแสดงอาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ลดลง ซึ่งอาการอักเสบนี้เป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่และสำหรับอาสาสมัครชาวอาฟริกัน ทีมนักวิจัยพบว่ามีการเกิดใหม่ของเซลล์ในลำไส้เพื่อชดเชยเซลล์ที่ตายลงเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่อว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

Dr. Stephen O’ Keefe ซึ่งเคยทำงานเป็นแพทย์ด้านโรคในสำไส้ ในชนบทของประเทศอาฟริกาใต้ก่อนที่จะย้ายมาอาศัยในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าในชนบทของอาฟริกาใต้ เขามักตรวจพบการอักเสบของลำไส้ที่เกิดจากเชื้อพยาธิแต่ไม่ค่อยพบอาการอักเสบของลำไส้ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง แต่หลังจากย้ายมาอาศัยและทำงานในสหรัฐอเมริกา เขาตรวจพบมะเร็งในลำไส้ในผู้ป่วยอายุ 50-65 ปีอย่างน้อย 20-30 เปอร์เซ็นต์และสูงกว่านั้นในกลุ่มชาวอเมริกันเชื้อสายอาฟริกัน

Dr. O’ Keefe หวังว่าผลการศึกษานี้จะส่งผลทางบวกต่ออุปนิสัยการกินของคนในประเทศตะวันตก