ทีมนักวิจัยอเมริกันค้นพบหลักฐานที่ชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงในกลุ่มเด็กหญิงวัยเจริญเติบโตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในตอนโตเป็นผู้ใหญ่
ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันพบหลักฐานที่โยงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมกับโภชนาการของเด็กหญิิงวัยรุ่นจากการศึกษาเรื่องนี้ในหนูทดลองที่มหาวิทยาลัย University of California Davis
คุณรัส โฮวี่ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมวิจัยศึกษาพัฒนาการของหนูทดลองตัวเมียที่ระบบการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกบล็อกไม่ให้ทำงาน ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีบทบาทในพัฒนาการทางเพศของผู้หญิง รวมทั้งการเติบโตของเต้านม ในการทดลอง หนูตัวเมียไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้
หลังจากนั้นนักวิจัยให้หนูทดลองกินอาหารที่มีระดับแคลอรี่สูง เป็นอาหารทีมีกรดไขมันชนิด 10 และ 12 ซีแอลเอ อาหารที่มีกรดไขมันทั้งสองอย่างในปริมาณสูงทำให้หนูเริ่มพัฒนาอาการก่อนเป็นโรคเบาหวาน คือ เริ่มมีความผิดปกติในระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีความดันโลหิตสูงตามมา
คุณโฮวี่ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าอาหารที่มีกรดไขมันสูงยังไปกระตุ้นให้เต้านมหนูทดลองโตขึ้นทั้งๆที่ระบบผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายหนูทดลองจะถูกควบคุมไม่ให้ผลิตฮอร์โมนก็ตาม
คุณโฮวี่ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสิ่งที่การวิจัยพบแสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีกรดไขมันบางชนิดในระดับสูงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย แต่ที่สร้างความแปลกใจแก่ทีมงานมากที่สดุคือการค้นพบว่าแม้หนูทดลองตัวเมียจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน เต้านมของหนูยังโตขึ้น
นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าอาหารที่มีไขมันสูงทำให้หนูทดลองบางตัวยังเกิดก้อนเนื้อในเต้านมด้วย แต่เนื่องจากไม่ได้เกิดกับหนูทดลองทุกตัว นักวิจัยสงสัยว่าพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทที่ทำให้หนูทดลองบางตัวเกิดมะเร็งในเต้านม
ผลการวิจัยนี้ทำให้ทีมงานเชื่อว่าอาหารที่มีกรดไขมันบางอย่างสูง มีผลให้เด็กผู้หญิงวัยรุ่นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและโรคอื่นๆเมื่ออายุมากขึ้น
คุณโฮวี่ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่สองที่เกิดจากอาหาร ที่อาจจะมีผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น โดยไม่เกี่ยวพันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
โรคเบาหวานประเภทสองที่เิกิดจากการโภชนาการที่ไม่สมดุลกลายเป็นปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลกในปัจจุบัน ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันครั้งนี้ชี้ว่าโรคมะเร็งเต้านมกำลังกลายเป็นปัญหาที่ตามมาติดเพราะเชื่อว่าเป็นผลสืบเนื่องจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง
คุณรัส โฮวี่ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมวิจัยศึกษาพัฒนาการของหนูทดลองตัวเมียที่ระบบการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกบล็อกไม่ให้ทำงาน ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีบทบาทในพัฒนาการทางเพศของผู้หญิง รวมทั้งการเติบโตของเต้านม ในการทดลอง หนูตัวเมียไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้
หลังจากนั้นนักวิจัยให้หนูทดลองกินอาหารที่มีระดับแคลอรี่สูง เป็นอาหารทีมีกรดไขมันชนิด 10 และ 12 ซีแอลเอ อาหารที่มีกรดไขมันทั้งสองอย่างในปริมาณสูงทำให้หนูเริ่มพัฒนาอาการก่อนเป็นโรคเบาหวาน คือ เริ่มมีความผิดปกติในระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีความดันโลหิตสูงตามมา
คุณโฮวี่ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าอาหารที่มีกรดไขมันสูงยังไปกระตุ้นให้เต้านมหนูทดลองโตขึ้นทั้งๆที่ระบบผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายหนูทดลองจะถูกควบคุมไม่ให้ผลิตฮอร์โมนก็ตาม
คุณโฮวี่ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสิ่งที่การวิจัยพบแสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีกรดไขมันบางชนิดในระดับสูงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย แต่ที่สร้างความแปลกใจแก่ทีมงานมากที่สดุคือการค้นพบว่าแม้หนูทดลองตัวเมียจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน เต้านมของหนูยังโตขึ้น
นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าอาหารที่มีไขมันสูงทำให้หนูทดลองบางตัวยังเกิดก้อนเนื้อในเต้านมด้วย แต่เนื่องจากไม่ได้เกิดกับหนูทดลองทุกตัว นักวิจัยสงสัยว่าพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทที่ทำให้หนูทดลองบางตัวเกิดมะเร็งในเต้านม
ผลการวิจัยนี้ทำให้ทีมงานเชื่อว่าอาหารที่มีกรดไขมันบางอย่างสูง มีผลให้เด็กผู้หญิงวัยรุ่นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและโรคอื่นๆเมื่ออายุมากขึ้น
คุณโฮวี่ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่สองที่เกิดจากอาหาร ที่อาจจะมีผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น โดยไม่เกี่ยวพันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
โรคเบาหวานประเภทสองที่เิกิดจากการโภชนาการที่ไม่สมดุลกลายเป็นปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลกในปัจจุบัน ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันครั้งนี้ชี้ว่าโรคมะเร็งเต้านมกำลังกลายเป็นปัญหาที่ตามมาติดเพราะเชื่อว่าเป็นผลสืบเนื่องจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง