นักวิจัยในสหรัฐใช้วิธีจีนบำบัดในการรักษาอาการซึมเศร้า

  • เจสสิก้า เบอร์แม่น
    เจษฎา สีวาลี

นักวิจัยในสหรัฐใช้วิธีจีนบำบัดในการรักษาอาการซึมเศร้า

แพทย์กล่าวว่าในวันหนึ่งข้างหน้าอาจสามารถใช้วิธีจีนบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงให้หายได้ นักวิจัยผู้รายงานเรื่องนั้นกล่าวว่าการวิจัยที่ทำกับมนุษย์และสัตว์ทำให้พวกเขาเกิดกำลังใจ

นักวิจัยค้นพบโปรตีน p11 ตรงบริเวณส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสมอง โปรตีนดังกล่าวมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับเรื่องภาวะซึมเศร้า สมองส่วนที่ว่านี้ที่มีชื่อเรียกว่า nucleus accumbens เป็นส่วนที่ควบคุมความรู้สึกยินดีพอใจและการตอบแทนเอื้อเฟื้อ

นักวิจัย ไมเกิ้ล แคปลิตต์แห่งแผนกศัลยกรรมประสาทของศูนย์การแพทย์ Presbyterian/Weill Cornell ที่รัฐนิวยอร์กกล่าวว่า หนูทดลองที่ให้กินอาหารที่ปราศจากจีนโปรตีน p11 ส่อว่ามีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง รวมทั้งอาการเฉยเมยเมื่อนักวิจัยดึงหางของหนู ซึ่งแทนที่จะพยายามวิ่งหนีไปนั้นกลับไม่ทำ อีกทั้งยังไม่สนใจน้ำใส่น้ำตาล ซึ่งนักวิจัย ไมเกิ้ล แคปลิตต์บอกว่าเป็นของโปรดที่หนูทดลองชอบดื่มมากทีเดียว นักวิจัยผู้นั้นกล่าวด้วยว่า ผลของการตรวจเนื้อเยื่อของสมองของผู้ที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงแสดงให้เห็นว่าระดับของโปรตีน p11 ในส่วนของสมองที่เรียกว่า nucleus accumbens ต่ำเหลือเกินเมื่อเทียบกับสมองของคนที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า เขากล่าวต่อไปว่า ในการใช้หนูที่ขาดโปรตีนp11โดยสิ้นเชิงในการทดลอง

นักวิจัยสอดโปรตีนปกติเข้าไปในเชื้อไวรัสที่ไม่มีอันตรายแล้วฉีดเข้าไปตรงส่วนสมอง nucleus accumbens ของหนูทดลองที่มีอาการภาวะซึมเศร้า นักวิจัย ไมเกิ้ล แคปลิตต์ กล่าวว่า เมื่อโปรตีนปกติใส่เข้าไปในตัวหนูทดลองที่โตเต็มวัยเหล่านี้แล้ว หนูจะมีความประพฤติเป็นปรกติอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการผันกลับจากอาการภาวะซึมเศร้าและกลับคืนสู่สภาพปรกติ ดังนั้น เรื่องนั้นชวนให้คิดว่าถ้าคุณมีโปรตีน p11 ในระดับต่ำในสมองส่วนนั้น และถ้าเรื่องดังกล่าวก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าแล้ว เราก็มีลู่ทางว่าจะใช้วิธีจีนบำบัดรักษาให้อาการนั้นผันกลับไปในทางดีได้ นักวิจัย ไมเกิ้ล แคปลิตต์และคณะยังนำวิธีการบำบัดที่ว่านี้ไปทดลองกับผู้ที่ป่วยเป็นโรค Parkinson’s ด้วย

นักวิจัยหวังว่าจะเริ่มนำวิธีจีนบำบัดมาทดลองในหมู่ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ซึ่งรักษาด้วยยาไม่ได้ผลนั้น

บทความเรื่องการใช้วิธีจีนบำบัดรักษาอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงนี้ลงพิมพ์อยู่ในวารสาร “ Science Translational Medicine “