ผลวิจัยชี้ยา "เรมเดสซีเวียร์" ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการไม่รุนแรงได้

(FILES) In this file photo one vial of the drug Remdesivir is viewed during a press conference about the start of a study with the Ebola drug Remdesivir in particularly severely ill patients at the University Hospital Eppendorf (UKE) in Hamburg, northern

บริษัทยา กิลเลียด ไซแอนเซส (Gilead Sciences) ประกาศในวันจันทร์ว่า ยาต้านเชื้อไวรัส "เรมเดสซีเวียร์" แสดงผลที่น่าพอใจในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการแบบไม่รุนแรง

ประธานเจ้าหน้าที่การแพทย์ของบริษัทกิลเลียด ระบุว่าจากการทดสอบครั้งล่าสุด พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาเรมเดสซีเวียร์เป็นเวลา 5 วัน จะมีอาการดีขึ้น 65% ในวันที่ 11 มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาชนิดนี้ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงประสิทธิผลของยาดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์ แอนโธนี่ ฟาวชี่ ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ เคยกล่าวว่า ยาเรมเดสซีเวียร์ ใช้ได้ผลชัดเจนในการช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะยาตัวนี้สามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื้อของไวรัสตัวนี้ได้

รายงานข่าวระบุว่า ผู้ป่วยที่ทดลองใช้ยาตัวนี้รักษาหายป่วยได้ภายใน 11 วัน ซึ่งสั้นกว่ากลุ่มคนไข้ที่ใช้ยาหลอก (Placebo) ที่ใช้เวลา 15 วันกว่าจะหายป่วย

ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่รับรองอย่างเป็นทางการให้ใช้ยาเรมเดสซีเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ขณะที่องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA อนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเหมือนกับญี่ปุ่น