องค์กรเสรีภาพสื่อชี้หลายประเทศปิดกั้นการทำงานของนักข่าวช่วงโควิดระบาด

A woman wearing a protective mask walks outside a village that was placed under lockdown due to the number of COVID-19 cases among residents in Manila, Philippines on Thursday, March 11, 2021. The Philippine capital placed two villages and two…

Your browser doesn’t support HTML5

Covid 19 Media Freedom


ในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัสเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของหลายประเทศออกมาตรการฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อมองว่า บรรยากาศดังกล่าวเปิดทางให้รัฐเผด็จการปิดกั้นหน้าที่ของนักข่าว

หลายตัวอย่างถูกสะท้อนออกมาในกรณีของการที่นักข่าวถูกจับกุมตัว ในข้อหาเผยเเพร่ข่าวเท็จ เว็บไซต์ข่าวถูกบล็อก และการห้ามทำข่าวการสรุปข้อมูลเรื่องการระบาด

แอมมี สลิโพวิตซ์ ผู้จัดการโครงการวิจัยของหน่วยงาน Freedom House ที่ออกรายงาน Freedom in the World และรายงาน Democracy under Lockdown กล่าวว่า การระบาดของโคโรนาไวรัสก่อให้เกิดสิ่งคุกคามเสรีภาพสื่อด้วย

หน่วยงาน Freedom House พบว่า ในบรรดา 192 ประเทศที่อยู่ในการทำสำรวจ มี 91 ประเทศซึ่งรวมถึงไทย สหรัฐฯ และอังกฤษที่ใช้กฎข้อบังคับไม่มากก็น้อยเพื่อจำกัดทางเสนอข่าว ในมาตรการรับมือโควิด-19 ของรัฐ

FILE - This picture taken with a self-timer shows AFP journalists in protective gear while reporting on a COVID-19 story at Pondok Ranggon cemetery in Jakarta, May 6, 2020.

นักรณรงค์กล่าวว่า โดยทั่วไปกฎหมายและมาตรการต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านสาธารณสุข แต่ก็มีหลายประเทศที่ใช้กฎเหล่านั้นมาขัดขวางและคุกคามสื่อ

สก็อตต์ กริฟฟิน รองผู้อำนวยการสถาบัน International Press Institute หรือ IPI ที่กรุงเวียนนา กล่าวว่า รัฐบาลหลายเเห่งโดยเฉพาะที่เป็นเผด็จการ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องลดทอนเสรีภาพเมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข

แต่ในความเป็นจริง สก็อตต์ กริฟฟิน มองว่าการทำข่าวอย่างอิสระเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นพิเศษ เมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข

และเมื่อรัฐจะยังคงออกมาตรการใหม่ๆ มาเรื่อยๆ ตัวอย่างหนึ่งไม่นานนี้คือที่ประเทศมาเลเซียที่ รัฐบาลขยายอำนาจกฎหมายภาวะฉุกเฉินในเดือนมีนาคมนี้ ที่เพิ่มการลงโทษต่อสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการเสนอข้อมูลเท็จ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นรวมถึงโทษจำคุกขั้นสูงสุดเป็นเวลาสามปีด้วย

คอร์ทนีย์ ราดช์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม แห่ง Committee to Protect Journalists หรือ CPJ ที่นครนิวยอร์กกล่าวถึงประเทศที่มีประวัติน่ากังวลเรื่องเสรีภาพสื่อว่าประกอบด้วย จีน อิยิปต์ และตุรกี และองค์กรของเธอพบว่าเมื่อปีที่เเล้ว มีนักข่าวถูกจับกุมตัว 274 คน ซึ่งมีจำนวนมากที่ถูกจับจากการทำข่าวการระบาดของโควิด-19 และมีสองรายที่เสียชีวิตจากโคโรนาไวรัส

ขณะที่สถาบัน IPI ระบุว่า เมื่อปีที่เเล้ว เกิดการละเมิดเสรีภาพสื่อในกรณีที่เกี่ยวกับโควิด-19 ทั้งหมด 600 กว่าเหตุการณ์ โดยที่ประเทศอินเดีย เกิดปัญหาดังกล่าวทั้งหมด 84 กรณีนำหน้าประเทศอื่นๆ ในการสำรวจของ IPI

Zimbabwe Protests

ซิมบับเว คือประเทศที่เกิดการละเมิดเสรีภาพสื่อมากที่สุดในแอฟริกา ส่วนเวเนซูเอลาเป็นประเทศที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวมากที่สุดในละตินอเมริกา ขณะที่รัสเซียขยายขอบข่ายการเอาผิดสื่อภายใต้กฎหมาย “fake news” laws ที่มุ่งเป้าไปที่นักข่าวที่วิจารณ์รัฐบาล

ในส่วนของประเทศจีน แอมมี สลิโพวิตซ์ แห่ง Freedom House กล่าวว่ากรณีที่น่าเป็นห่วงยิ่ง คือเมื่อ สตรีรายหนึ่งที่ชื่อ จาง จาน รายงานข่าวจากเมืองอู่ฮั่น เมื่อเดือนธันวาคม และถูกตัดสินจำคุกสี่ปี และที่ประเทศอิยิปต์ ที่นักข่าวของสื่ออังกฤษ​ The Guardian ถูกเนรเทศออกจากอิยิปต์เพราะเสนอข่าววิจารณ์รัฐบาลไคโรเรื่องการรับมือกับโคโรนาไวรัส