ภาคเอกชนในสหรัฐยังนำโดรนไปใช้งานไม่ได้เพราะทางการยังขาดกฏหมายควมคุม

  • George Putic
มียวดยานทางอากาศแบบไร้คนขับหรือโดรนจำนวนมากมายนำออกเเสดงในงานนิทรรศการนานาชาติที่กรุงวอชิงตันทำให้นักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่าโดรนจะกลายเป็นยวนยานทางอากาศที่จะพบเห็นทั่วไปอย่างแน่นอน แต่การนำโดรนไปใช้งานในภาคธุรกิจและภาคการค้ายังประสบกับอุปสรรคเนื่องจากความเชื่องช้าในขั้นตอนของการออกกฏหมายเพื่อควบคุมดูแลการใช้งานโดรนในภาคเอกชน

โดรน มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ประหยัดกว่าทั้งในเเง่ของราคาที่ซื้อขาย และค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งาน ถือว่าประหยัดกว่าการซื้อและใช้งานเครื่องบินที่ต้องใช้นักบิน

โดรนยังสามารถนำไปใช้งานที่เสี่ยงต่ออันตรายโดยไม่ทำให้ทรัพยากรบุคคลต้องเสี่ยงต่อชีวิต และโดรนยังมีศักยภาพสูงกว่ากองทัพด้วย

โดรนสามารถนำไปค้นหานักปีนเขาที่หลงทางในป่า ใช้เฝ้าติดตามดูผลผลิตทางการเกษตร การจัดการทรัยพากรสัตว์ป่า ใช้ในการสเปรย์สารเคมีทางการเกษตรในไร่องุ่น ขนส่งยารักษาโรค สำรวจหาแหล่งน้ำมัน เฝ้าติดตามดูสายไฟฟ้า หรือเเม้แต่การจัดส่งอาหารตามสั่ง

แต่อุปสรรคสำคัญต่อการนำโดรนไปใช้งานในภาคธุรกิจและการค้าในสหรัฐเกิดจากการไร้กฏหมายควบคุมดูแล

สำนักงานควบคุมการบินแห่งชาติสหรัฐ (Federal Aviation Administration) หรือ เอฟเอเอเป็นหน่วยงานดูแลควบคุมการบินในสหรัฐและได้อนุมัติให้ใช้โดรนได้ในพื้นที่ที่มีกิจกรรมการบินน้อย อาทิ ในรัฐอาลาสก้า

ผู้ใช้โดรนต้องขอใบรับรองการใช้เครื่องบินเเบบไร้คนขับจากทางสำนักงานเอฟเอเอเสียก่อน โดยจะพิจารณาออกใบรับรองให้เฉพาะกับกิจการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนา การสาธิตการบินและการขายและการฝึกฝนนักบิน

คุณเดวิด ไฮเดล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดแห่งบริษัท AeroVironment กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ทางบริษัทกำลังวางเเผนที่จะจะขอใบรับรองดังกล่าวเเก่โดรนรุ่น Puma ที่โด่งดัง
ของบริษัท

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าอย่างที่ได้ประกาศไปเมื่อหลายสัปดาห์หก่อน ทางบริษัทจะยื่นขอใบรับรองจากเอฟเอเอเพื่อใช้โดรนพูม่าบินในบริเวณขั้วโลกเหนือ และมุ่งเป้าไปที่การเฝ้าดูการรั่วไหลของน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนติดตามดูสัตว์ป่าและการเฝ้าระวังตามเเนวชายฝั่ง

นิทรรศการจัดเเสดงโดรนจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุม Convention Center ในกรุงวอชิงตันเมื่อไม่นานมานี้ ในงาน เต็มไปด้วยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์แบบไร้คนขับจำนวนมากมาย ทั้งที่บังคับด้วยรีโมทคอนโทร และเครื่องบินบังคับจากภาคพื้นดินและแบบใต้น้ำ

บรรดาผู้ผลิตโดรนต่างชี้ว่ายวนยานทางอากาศที่พวกเขาผลิตขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ทางการทหาร สามารถนำไปปรับใช้งานในภาคธุรกิจได้ด้วย นายเจสัน ริทเท็นเฮาร์ วิศวกรแห่งบริษัท Applied Research Associates กล่าวว่า

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทางบริษัทสร้างโดรนเพื่อการใช้งานในกองทัพ แก่ทางหน่วยงานลาดตระเวณตามเเนวชายแดน ตลอดจนหน่วยงานดับเพลิงและตำรวจ เขากล่าวว่าหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายอย่างตำรวจ มีความสนใจเป็นอย่างมากที่จะใช้โดรนในการทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยคอมมานโด ที่ต้องการใช้โดรนในงานการเฝ้าระวังเหนือระดับพื้นดิน

ขณะที่เทคโนโลยีนี้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนในการอนุญาติให้ภาคธุรกิจนำโดรนไปใช้งานได้กลับเดินหน้าอย่างเชื่องช้า เนื่องจากทางสำนักงานเอฟเอเอ ผู้ควบคุมการใช้โดรนยังไม่ออกนโยบายใดๆออกมาเพื่อปกป้องสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของอเมริกันชน

ทางวุฒิสภาสหรัฐอาจจะพิจารณาร่างกฏหมายออกมาหยุดยั้งขั้นตอนขอใบรับรองการใช้โดรน ไปจนกว่าทางสำนักงานเอฟเอเอ จะเสร็จสิ้นรายงานศึกษาถึงผลกระทบของการใช้โดรนต่อความเป็นส่วนตัวของประชาชนในสหรัฐเสียก่อน

นี่ทำให้ธุรกิจของบรรดาผู้ผลิตโดรน ยังต้องพึ่งพาการจัดซื้อโดรนจากทางกองทัพและทางหน่วยงานตำรวจไปพลางๆก่อน