วันหยุด "โคลัมบัส" กับประเด็นถกเถียงเรื่องใครคือผู้ "ค้นพบ" อเมริกา?

FILE -- This mural depicting Christopher Columbus, painted by Luigi Gregori, is on display at the University of Notre Dame, in South Bend, Ind. The University of Notre Dame will cover murals in a campus building that depict Columbus in America, the school

วันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการของสหรัฐฯ มาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 เพื่อฉลองการเดินของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวอิตาเลียน ที่เหยียบผืนแผ่นดินทวีปอเมริกาในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492 และประกาศความเป็นกรรมสิทธิ์ของดินแดนแห่งนี้ให้กับสเปน

ข้อมูลนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส "เป็นผู้ค้นพบอเมริกา" แต่หากพิจารณาถึงหลักฐานอ้างอิงอื่นๆ อาจกล่าวได้ว่า ที่ถูกต้องกว่า คือการที่โคลัมบัส เป็นบุคคลที่ทำให้อเมริกาเป็นที่รู้จักต่อชาวยุโรปตะวันตก ในช่วงการเดินทาง 4 ครั้งของเขามายังดินเเดนแห่งนี้ระหว่างปี ค.ศ. 1492 ถึง 1502

เขาคือผู้ที่เปิดทางให้มีการอพยพครั้งใหญ่ ของชาวยุโรปตะวันตกมายังทวีปอเมริกา ผู้ที่พิจารณาถึงจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์นี้ พบว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสช่วยเปิดทางให้เกิดการค้าทาส ณ ดินเเดนแห่งนี้

และในปีนี้เมื่อเกิดความระสำ่ระสายทางสังคมในสหรัฐฯ อันเนื่องการจากการใช้ความรุนแรงของตำรวจต่อคนผิวดำ รูปปั้นโคลัมบัส และบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับการค้าทาส การล่าอาณานิคมและการเหยียดสีผิว ถูกทำลายจำนวนมาก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐต่างๆในสหรัฐฯเรียกวันหยุด 12 ตุลาคม เพื่อให้เกียรติแก่กลุ่มประชากรที่เคยอยู่ในทวีปอเมริกาเเต่ดั้งเดิม แทนการฉลองการเดินทางถึงทวีปอเมริกาโดยโคลัมบัส

ดังนั้น วันหยุด Columbus Day จึงถูกเรียกขานในชื่ออื่นด้วย เช่น Indigenous Peoples' Day หรือ Native American Day

ในปีนี้ผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย ให้เรียก Columbus Day ว่าเป็น Indigenous Peoples' Day เป็นปีเเรก เพื่อรำลึกคนพื้นเมืองในอเมริกาที่ถูกชาวตะวันตกกดขี่ หลังการบุกเบิกของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

นอกจากนี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ว่า โคลัมบัส มิได้เป็นคนจากดินเเดนอื่นที่เดินทางถึงทวีปอเมริกาเป็นคนแรก

ไมเคิล บาวายา บรรณาธิการของนิตยสาร American Archaeology บอกกับวีโอเอว่า เมื่อราวอย่างน้อย 15,000 ก่อน คนจากทวีปเอเชียเดินทางมาถึงทวีปอเมริกา โดยเดินเท้าข้ามมาทางเส้นทาง ที่เรียกว่า Bering land bridge ที่เชื่อมระหว่าง พื้นที่ที่ปัจจุบันคือรัฐอะลาสกา และไซบีเรีย

Beringia land bridge

ในยุคดังกล่าว ระดับนำ้ทะเลตำ่กว่าปัจจุบัน และปรากฏพื้นที่แผ่นดินความยาวหลายร้อยกิโลเมตรระหว่างดินเเดนทั้งสอง

จุดเชื่อมต่อทางบกดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ทำให้สัตว์และพืชหลายชนิดแพร่พันธุ์และเดินทางข้ามทวีปได้

ข้อมูลจากหน่วยงานอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯระบุด้วยว่าการย้ายถิ่นของสัตว์หลายชนิดในอดีตยังคงรักษารูปแบบเส้นทางเดิมมาจนถึงปัจจุบัน

เดิมทีคนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาถูกเรียกว่าชาวโคลวิส (Clovis) ตามหลังฐานการตั้งถิ่นฐาน เมื่อกว่า 11,000 ปีก่อน ที่พบบริเวณที่เขต Clovis รัฐนิวเม็กซิโก

แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญพบว่า คนพื้นเมืองกลุ่มแรกของทวีปอเมริกามิใช่ชาวโคลวิส และพบในพื้นที่อื่นด้วย เช่น ในประเทศเปรู ชิลี รวมถึงรัฐเท็กซัสและเวอร์จิเนียของสหรัฐฯ

หลักฐานที่พบเพิ่มเติมระบุว่าอาจมีการตั้งถิ่นฐานครั้งเเรกของชนพื้นเมืองเมื่อ 20,000 ก็เป็นได้

และสำหรับข้อถกเถียงเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวยุโรปที่เดินทางถึงทวีปอเมริกาเป็นรายแรก มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าชาวไวกิ้ง มาเยือนดินเเดนที่เป็นประเทศแคนาดาปัจจุบัน 500 ปีก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยพบหลักฐานชาวไวกิ้งที่เกาะนิวฟันเเลนด์ ณ สถานที่ที่เรียกว่า ล็องส์ โอ เมโดวส์ (l'Anse Aux Meadows)

เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลอ้างอิงเหล่านี้ อาจกล่าวได้ว่าอเมริกาเป็นดินเเดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมก่อนที่จะถูกเรียกในยุคปัจจุบันว่าเป็น melting pot ที่หลอมรวมพื้นเพของคนหลายเชื้อชาติ ที่มาเเสวงหาเสรีภาพและโอกาสใหม่ๆในดินเเดนแห่งนี้

A helicopter flies past as the full moon rises behind the Statue of Liberty on May 18, 2019 in New York City.