ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนสร้างความกังวลแก่สหรัฐฯ

Visitors walk past an AI (Artificial Inteligence) security robot named APV3 with a facial recognition system at the 14th China International Exhibition on Public Safety and Security at the China International Exhibition Center in Beijing

Your browser doesn’t support HTML5

China US Tech

ความกังวลของสหรัฐฯ ต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของจีน มีอิทธิพลบางส่วนต่อการเจรจาการค้าที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างสองประเทศ ขณะที่สหรัฐเเละสหภาพยุโรปต่างพยายามออกมาตรการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจีน

แต่นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า บริษัทจีนเเละการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศของจีน อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับเครือข่ายสื่อสารไร้สายระบบ 5G สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้ด้วยตัวเอง เเม้ว่าชาติตะวันตกจะปกปิดข้อมูลไม่ให้รั่วไหลก็ตาม

มีรายงานว่าจีนมีความก้าวหน้ามากกว่าชาติตะวันตกในหลายด้าน เช่น ยวดยานขับเคลื่อนอัตโนมัติ เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเเละโดรนบางชนิด

สถาบันด้านปัญญาประดิษฐ์อัลเลน ในสหรัฐฯ (Allen Institute of Artificial Intelligence) ได้รับความสนใจเมื่อเร็วๆ นี้หลังจากได้รายงานว่า จีนเป็นอันดับสองตามหลังสหรัฐฯ มาติดๆ เมื่อพูดถึงเเหล่งที่มาของรายงานการวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับการกล่าวอ้างถึงบ่อยๆ

บาร์ท เซลแมน (Bart Selman) ประธานของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Association for the Advancement of Artificial Intelligence) กล่าวกับวีโอเอว่า สหรัฐฯ ยังนำหน้าอยู่ในด้านศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี AI เเต่ช่องว่างระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเริ่มเเคบลงอย่างรวดเร็ว เพราะจีนมีการลงทุนใหม่ๆ และสำคัญในเทคโนโลยีนี้

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แห่งจีน ได้กระตุ้นบรรดาผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้สร้างความมั่นใจว่าจีนนำหน้าด้านการวิจัยทางทฤษฎีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสำคัญ เเละทำให้จีนกลายเป็นผู้กุมเทคโนโลยี AI หลักๆ เอาไว้ในมือ

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า ระบบการเมืองของจีนเเละความกระตือรือร้นของรัฐบาลจีนในการสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้จีนสามารถสร้างระบบต่างๆ อาทิ ระบบคอมพิวเตอร์แบบ cloud computing เเละการมีแรงงานด้านการออกแบบซอฟท์แวร์ ซึ่งจะทำให้จีนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

บรรดาบริษัทจีนได้เริ่มติดตั้งเเละใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้ากันแล้ว ซึ่งทำได้ยากในประเทศประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เนื่องจากข้อจำกัดนโยบายและความกังวลทางจริยธรรมเเละสังคม

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเเละภาพถ่ายของของจีนอาจถือว่าก้าวหน้าที่สุดในโลกขณะนี้ ส่วนหนึ่งเพราะว่าการควบคุมของรัฐบาลทำให้ง่ายมากขึ้นในการสร้างข้อมูลจากเเหล่งที่มาจำนวนมาก อย่าง ธนาคาร บริษัทมือถือเเละสื่อสังคมออนไลน์

เซลแมนกล่าวว่า ความสามารถเหล่านี้เกิดขึ้นจากการใช้การเรียนรู้อย่างลึกซึ้งจากข้อมูลจำนวนมากที่มี เขากล่าวว่า จีนได้เปรียบในด้านนี้เพราะมีข้อมูลจำนวนมากให้ใช้ในการฝึกระบบปัญญาประดิษฐ์มากกว่าประเทศอื่นๆ ทุกประเทศในโลก

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่เเล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งพิเศษให้หน่วยงานรัฐบาลเน้นงานพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้มากขึ้น

แต่บรรดานักวิจารณ์กล่าวว่า คำสั่งพิเศษของผู้นำสหรัฐฯ ไม่ได้ชี้เเนะถึงการขยายการลงทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ เเละแผนต่างๆ ในการดึงดูดคนที่มีความสามารถทางการวิจัยเเละพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจำเป็นต่อความก้าวหน้าเเละการเเข่งขัน

เกรกอรี่ อัลเลน (Gregory Allen) นักวิจัยทุนอาวุโสที่ Center for a New American Security กล่าวว่า สหรัฐฯ ใช้เงินส่วนมากไปกับการวิจัยเเละการพัฒนาที่จำนวน 2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในเวลา 5 ปี

ในทางตรงกันข้าม มณฑลเซี่ยงไฮ้ของจีน ซึ่งเป็นรัฐบาลในระดับเมือง วางแผนที่จะลงทุน 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ กับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของจีนยังมีข้อจำกัดอยู่ และโดยรวมเเล้วสหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำตลาดของเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองอยู่ การแปลความของหุ่นยนต์ ความเข้าใจภาษาเเละการค้นหาทางเวป

จีนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านต่างๆ ข้างต้นเนื่องจากมีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม วิลเลี่ยม คาร์เตอร์ รองผู้อำนวยการเเละนักวิจัยทุนโครงการนโยบายด้านเทคโนโลยีที่ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่า แม้จะเเข่งขันกัน ความร่วมมือเเละการเเลกเปลี่ยนความคิดระหว่างสองประเทศในสาขา AI มีความสำคัญ เเม้ว่าจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กันนัก เขากล่าวว่า ในทางการเมือง เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเเข่งขันกันสูง เเต่ในด้านเศรษฐกิจเเละวิทยาศาสตร์ ความมีความร่วมมือกันมากกว่า

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)