วิเคราะห์: กองทัพจีน-รัสเซีย ใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังเกิดสงครามในยูเครน

In this handout photo taken from video released by Russian Defense Ministry Press Service on Aug. 29, 2022, Chinese soldiers arrive at Grodekovo railway station to participate in war games drills in Grodekovo, Russia. (Russian Defense Ministry Press Service via AP)

ตามรายงานชิ้นใหม่ของหน่วยงาน Center for Strategic and International Studies (CSIS) ระบุว่าการบุกยูเครนโดยรัสเซียช่วยกระชับความร่วมมือทางทหารระหว่างรัสเซียและจีน และผลของสงครามครั้งนี้อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งของความสัมพันธ์ของสองมหาอำนาจนี้ในอนาคต

รายงานระบุว่า "การตัดสินใจของจีนที่อยู่ข้างรัสเซียอย่างเงียบ ๆ แม้เกิดการรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 ได้สร้างความเกรงกลัวครั้งใหม่จากความเป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างจีนเเละรัสเซีย"

"เท่าที่ผ่านมาทั้งสองประเทศพยายามเลี่ยงการเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางทหารที่ลึกซึ้งร่วมกัน ซึ่งมีหัวใจสำคัญจากการค้าอาวุธและการซ้อมรบร่วม" รายงานของ CSIS ระบุ

Your browser doesn’t support HTML5

China-Russia Military Ties Boosted by Invasion of Ukraine

ในเวลานี้รัสเซียเป็นเจ้าภาพหารซ้อมรบทางตะวันออกของประเทศภายใต้ชื่อปฏิบัติการ "วอสท็อก 22" (Vostok 22) ที่มีจีนเข้าร่วมเป็นเเขกกิตติมศักดิ์ ประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมปฏิบัติการได้เเก่ เบลารุส อินเดีย และซีเรีย เป็นต้นโดย "วอสท็อก 22" ที่เริ่มต้นไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม จะจบลงในวันพุธนี้

ในบทความของ CSIS ผู้เขียนอ้างคำกล่าวของ พลเรือตรี วาเลอรี คาซาคอฟ แห่งกองเรือรัสเซียภาคพื้นเเปซิฟิก ที่เปิดเผยว่าความร่วมมือทางทหารระหว่างจีนเเละรัสเซียเพิ่มขึ้น "เชิงคุณภาพ" สู่ระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

นักวิเคราะห์ บอนนี ลิน ผู้ร่วมเขียนบทความ กล่าวว่า "ความร่วมมือทางทหารที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศมีขึ้นเพื่อสนับสนุนภาพรวมของความสัมพันธ์ทางการเมือง" และน่าจะเห็นการซ้อมรบร่วมของรัสเซียและจีนมากขึ้นในอนาคตด้วย

แม้ว่าทั้งของประเทศมีการกระชับความสัมพันธ์ ยังคงมีบางประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่

ลินกล่าวว่า จีนให้ความสัมคัญมากขึ้นต่อการผลิตอาวุธเอง และอาจเป็นปัจจัยสั่นคลอนการนำเข้าอาวุธจากรัสเซีย ที่สูงถึง 70% ของอาวุธทั้งหมดที่จีนมี ส่วนรัสเซียกังวลว่าจีนอาจขโมยเทคโนโลยีทางกลาโหมของตน

บทความของ CSIS ระบุว่า เมื่อราวสามปีก่อน รอสเทค (Rostec) บริษัทอาวุธที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของ กล่าวหาว่า เกิดกรณีลอกเลียนอุปกรณ์ของบริษัทกว่า 500 กรณี ในช่วง 17 ปีก่อนหน้านั้น และมีการวิจารณ์จีนอย่างเปิดเผย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น

รอสเทค กล่าวในครั้งนั้นว่า สิ่งที่ถูกจีนลอกเลียนแบบประกอบด้วย เครื่องยนต์อากาศยาน เครื่องบิน Sukhoi ระบบป้องกันทางอากาศ ระบบยิงพิสัยกลางจากพื้นสู่อากาศ Pantsir เป็นต้น

ลินกล่าวกับวีโอเอว่า เมื่อเกิดการเเบ่งขั้วขึ้นในโลก ที่เป็นการเเข่งขันระหว่าง "ฝ่ายอำนาจนิยม" และ "ฝ่ายประชาธิปไตย" จีนถูกมองว่าใกล้ชิดรัสเซียมากขึ้นเรื่อย ๆ และจีนอาจถูกมองด้วยว่ามีความเป็นประเทศที่เเข็งกร้าว เช่นเดียวกัยรัสเซีย

นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่า เป็นไปได้ว่าทางการจีนจะเห็นว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ รัฐบาลปักกิ่งยิ่งต้องการกระชับความสัมพันธ์กับรัสเซียมากขึ้น

บทวิเคราะห์ของ CSIS กล่าวว่า ทั้งนี้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในอนาคต น่าจะถูกกำหนดโดยผลลัพธ์จากสงครามในยูเครนด้วย

หากรัสเซียไม่ประสบความสำเร็จในสงครามครั้งนี้ จีนอาจกลับมาประเมินความสัมพันธ์และปรับท่าทีใหม่ ตามการวิเคราะห์ของ CSIS

  • ที่มา: ข้อมูลบางส่วนมาจากรอยเตอร์