นโยบายมีลูกคนเดียวทำให้พ่อแม่ที่ลูกโทนเสียชีวิตขาดที่พึ่งพาทางเศรษฐกิจและสังคมยามแก่ตัวลง
เรื่องราวของชาวจีนที่สูญเสียลูกโทนทำให้หมดที่พึ่งทางเศรษฐกิจกลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนจีนให้ความสนใจเป็นพิเศษในขณะนี้และท้าทายรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ทบทวนนโยบายควบคุมจำนวนประชากรของประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ ชาวจีนราว 100 รายที่ต่างสูญเสียทายาทเพียงคนเดียวของครอบครัว ได้ไปรวมตัวกันที่สำนักงาน วางแผนประชากรครอบครัวแห่งชาติจีน (National Population Family Planning Commission) ในกรุงปักกิ่ง
พวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลจีนจ่ายค่าชดเชยแก่ครอบครัว
นิตยสารข่าวภาษาจีน Southern Weekly ยอดนิยมได้ตีพิมพ์เรื่องราวของครอบครัวเหล่านี้และความพยายามของพวกเขาในร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ
ศาสตราจารย์มู กวางโซง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า เขาเข้าใจถึงความทุกข์ยากที่ครอบครัวชาวจีนเหล่านี้ต้องเผชิญหลังจากสูญเสียลูกโทน ที่เป็นความหวังพึ่งพิงยามแก่เฒ่าของพ่อแม่
เขาบอกว่า รัฐบาลจีนต้องรับผิดชอบต่อคนเหล่านี้ แม้ว่าสาเหตุการเสียชีวิตจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล อาจจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากโรคภัยไข้เจ็บ หรืออาจฆ่าตัวตาย แต่นโยบายที่บังคับครอบครัวให้มีลูกคนเดียวทำให้ชาวจีนขาดทายาทสืบทอดตระกูลทันทีหากบุตรคนเดียวเกิดเสียชีวิต ส่งผลให้ครอบครัวขาดความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคม
นโยบายมีลูกคนเดียวของจีนเริ่มบังคับใช้เมื่อปีพุทธศักราช 2522 มุ่งควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรจีนอย่างรวดเร็ว นโยบายนี้บังคับให้สามีภรรยาชาวจีนทุกคนมีบุตรเพียงเดียว ยกเว้นชนกลุ่มน้อยกับคนจีนในชนบทห่างไกล ประมาณว่ามีชาวจีนเกือบ 36 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศหรือราว 480 ล้านคนที่เข้าข่ายตามกฏหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายมีลูกคนเดียว
หลังจากบังคับใช้มานาน 33 ปี จำนวนครอบครัวที่สูญเสียลูกคนเดียวและฝ่ายหญิงอายุมากเกินไปที่จะมีลูกอีกได้เพิ่มจำนวนขึ้น แม้ไม่สามารถระบุตัวเลขแน่นอน แต่หน่วยงานราชการชี้เมื่อ 6 ปีที่แล้วว่า มีหญิงชาวจีนราวสามหมื่นเจ็ดพันคนที่สูญเสียลูกโทนและหญิงเหล่านี้อายุมากกว่า 49 ปีทำให้มีบุตรใหม่ไม่ได้ คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้ 4 เท่าตัวภายใน 25 ปีข้างหน้า
ประเทศจีนเริ่มตั้งระบบกองทุนผู้เกษียณอายุทั่วประเทศเมื่อห้าปีที่แล้ว แต่มาถึงตอนนี้ครอบคลุมเฉพาะคนชราในเมืองเท่านั้น ในระบบนี้ พ่อแม่ที่สูงอายุและสูญเสียบุตรคนเดียวไป ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเดือนละ 15 ดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 450 บาท
ศาสตราจารย์ มู กวางโซง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลแก่คนกลุ่มนี้ยังไม่เพียงพอ และเป็นแค่การแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลใส่ใจต่อคนกลุ่มนี้้เท่านั้น
แต่แม้ว่าปัญหาของคนเหล่านี้จะเกี่ยวโยงกับนโยบายการมีลูกคนเดียวอย่างใกล้ชิด ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในประเทศจีน พ่อแม่ที่ได้รับผลกระทบหลังลูกเสียชีวิตยังลังเลที่จะเปิดเผยชื่อที่จริงในรายงานข่าวหนังสือพิมพ์และในสื่อมวลชนอื่นๆ
เมื่อเร็วๆนี้ ชาวจีนราว 100 รายที่ต่างสูญเสียทายาทเพียงคนเดียวของครอบครัว ได้ไปรวมตัวกันที่สำนักงาน วางแผนประชากรครอบครัวแห่งชาติจีน (National Population Family Planning Commission) ในกรุงปักกิ่ง
พวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลจีนจ่ายค่าชดเชยแก่ครอบครัว
นิตยสารข่าวภาษาจีน Southern Weekly ยอดนิยมได้ตีพิมพ์เรื่องราวของครอบครัวเหล่านี้และความพยายามของพวกเขาในร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ
ศาสตราจารย์มู กวางโซง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า เขาเข้าใจถึงความทุกข์ยากที่ครอบครัวชาวจีนเหล่านี้ต้องเผชิญหลังจากสูญเสียลูกโทน ที่เป็นความหวังพึ่งพิงยามแก่เฒ่าของพ่อแม่
เขาบอกว่า รัฐบาลจีนต้องรับผิดชอบต่อคนเหล่านี้ แม้ว่าสาเหตุการเสียชีวิตจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล อาจจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากโรคภัยไข้เจ็บ หรืออาจฆ่าตัวตาย แต่นโยบายที่บังคับครอบครัวให้มีลูกคนเดียวทำให้ชาวจีนขาดทายาทสืบทอดตระกูลทันทีหากบุตรคนเดียวเกิดเสียชีวิต ส่งผลให้ครอบครัวขาดความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคม
นโยบายมีลูกคนเดียวของจีนเริ่มบังคับใช้เมื่อปีพุทธศักราช 2522 มุ่งควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรจีนอย่างรวดเร็ว นโยบายนี้บังคับให้สามีภรรยาชาวจีนทุกคนมีบุตรเพียงเดียว ยกเว้นชนกลุ่มน้อยกับคนจีนในชนบทห่างไกล ประมาณว่ามีชาวจีนเกือบ 36 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศหรือราว 480 ล้านคนที่เข้าข่ายตามกฏหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายมีลูกคนเดียว
หลังจากบังคับใช้มานาน 33 ปี จำนวนครอบครัวที่สูญเสียลูกคนเดียวและฝ่ายหญิงอายุมากเกินไปที่จะมีลูกอีกได้เพิ่มจำนวนขึ้น แม้ไม่สามารถระบุตัวเลขแน่นอน แต่หน่วยงานราชการชี้เมื่อ 6 ปีที่แล้วว่า มีหญิงชาวจีนราวสามหมื่นเจ็ดพันคนที่สูญเสียลูกโทนและหญิงเหล่านี้อายุมากกว่า 49 ปีทำให้มีบุตรใหม่ไม่ได้ คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้ 4 เท่าตัวภายใน 25 ปีข้างหน้า
ประเทศจีนเริ่มตั้งระบบกองทุนผู้เกษียณอายุทั่วประเทศเมื่อห้าปีที่แล้ว แต่มาถึงตอนนี้ครอบคลุมเฉพาะคนชราในเมืองเท่านั้น ในระบบนี้ พ่อแม่ที่สูงอายุและสูญเสียบุตรคนเดียวไป ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเดือนละ 15 ดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 450 บาท
ศาสตราจารย์ มู กวางโซง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลแก่คนกลุ่มนี้ยังไม่เพียงพอ และเป็นแค่การแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลใส่ใจต่อคนกลุ่มนี้้เท่านั้น
แต่แม้ว่าปัญหาของคนเหล่านี้จะเกี่ยวโยงกับนโยบายการมีลูกคนเดียวอย่างใกล้ชิด ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในประเทศจีน พ่อแม่ที่ได้รับผลกระทบหลังลูกเสียชีวิตยังลังเลที่จะเปิดเผยชื่อที่จริงในรายงานข่าวหนังสือพิมพ์และในสื่อมวลชนอื่นๆ