รายงานวิจัยเรื่องโรคอ้วนชิ้นล่าสุดจากสถาบัน Health Metrics and Evaluation จาก University of Washington ระบุว่า ปัจจุบันมีประชากรโลกน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วนมากกว่า 2,000 ล้านคน โดยภูมิภาคที่มีประชากรเป็นโรคอ้วนมากที่สุดคือ ตะวันออกกลางและอัฟริกาตอนเหนือ ที่มีสัดส่วนประชากรวัยผู้ใหญ่กว่า 60% ที่มีน้ำหนักตัวเกิน แต่หากพิจารณาเป็นรายประเทศจะเห็นว่า สหรัฐมีสัดส่วนประชากรน้ำหนักตัวเกินมากที่สุด รองลงมาคือจีน
รายงานชิ้นนี้รวบรวมข้อมูลจาก 188 ประเทศ และพบว่าปัจจุบันกว่า 27% ของชายและหญิงจีนวัยผู้ใหญ่ มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวหรือเป็นโรคอ้วน รายงานชิ้นนี้ให้คำจำกัดความ “น้ำหนักตัวเกิน” ไว้ว่าหมายถึง การที่มีดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 และถ้าเกิน 30 ถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) คืออัตราส่วนระหว่างน้ำหนัก (กก.) ต่อส่วนสูง (ซม.) ของคนๆนั้น
ปัญหาน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมิได้ลุกลามในหมู่ผู้ใหญ่จีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเด็กและเยาวชนของจีนด้วย โดยรายงานระบุว่าเวลานี้ 23% ของเด็กผู้ชายจีนอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน ส่วนเด็กผู้หญิงนั้น ตัวเลขนี้อยู่ที่ 14% ซึ่งเป็นตัวเลขที่แซงประเทศรายได้สูงอื่นๆ รวมทั้ง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปแล้ว
อาจารย์ Marie Ng ผู้จัดทำรายงานชิ้นนี้ บอกว่าโรคอ้วนในวัยเด็กนั้น นำมาซึ่งผลกระทบด้านสุขภาพหลายประการ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้มีอำนาจในประเทศจีนควรหาทางออกในปัญหานี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่า รอบเอวของคนจีนนั้นเพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ กล่าวคือเมื่อประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นก็มักมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังชี้ว่า นโยบายลูกคนเดียวของจีนอาจมีส่วนในเรื่องนี้ด้วย เพราะบางครอบครัวนั้น ลูกคนเดียวกลับถูกเลี้ยงดูหรือปฏิบัติเหมือนจักรพรรดิน้อยๆ จากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย กลายเป็นเหมือนการสนับสนุนให้ลูกหลานมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
รายงานจาก RIC และ WSJ / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล
รายงานชิ้นนี้รวบรวมข้อมูลจาก 188 ประเทศ และพบว่าปัจจุบันกว่า 27% ของชายและหญิงจีนวัยผู้ใหญ่ มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวหรือเป็นโรคอ้วน รายงานชิ้นนี้ให้คำจำกัดความ “น้ำหนักตัวเกิน” ไว้ว่าหมายถึง การที่มีดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 และถ้าเกิน 30 ถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) คืออัตราส่วนระหว่างน้ำหนัก (กก.) ต่อส่วนสูง (ซม.) ของคนๆนั้น
ปัญหาน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมิได้ลุกลามในหมู่ผู้ใหญ่จีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเด็กและเยาวชนของจีนด้วย โดยรายงานระบุว่าเวลานี้ 23% ของเด็กผู้ชายจีนอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน ส่วนเด็กผู้หญิงนั้น ตัวเลขนี้อยู่ที่ 14% ซึ่งเป็นตัวเลขที่แซงประเทศรายได้สูงอื่นๆ รวมทั้ง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปแล้ว
อาจารย์ Marie Ng ผู้จัดทำรายงานชิ้นนี้ บอกว่าโรคอ้วนในวัยเด็กนั้น นำมาซึ่งผลกระทบด้านสุขภาพหลายประการ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้มีอำนาจในประเทศจีนควรหาทางออกในปัญหานี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่า รอบเอวของคนจีนนั้นเพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ กล่าวคือเมื่อประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นก็มักมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังชี้ว่า นโยบายลูกคนเดียวของจีนอาจมีส่วนในเรื่องนี้ด้วย เพราะบางครอบครัวนั้น ลูกคนเดียวกลับถูกเลี้ยงดูหรือปฏิบัติเหมือนจักรพรรดิน้อยๆ จากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย กลายเป็นเหมือนการสนับสนุนให้ลูกหลานมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
รายงานจาก RIC และ WSJ / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล