การจัดระเบียบธุรกิจบันเทิงของจีนทำให้ผู้ผลิตเนื้อหาต่างชาติเริ่มทบทวนตลาดจีน

Visitors walk past a display of posters for Chinese movie and television productions at the China International Fair for Trade in Services in Beijing, Sept. 3, 2021.

Your browser doesn’t support HTML5

China Entertain

มาตรการควบคุมและจัดระเบียบอุตสาหกรรมบันเทิงซึ่งทางการจีนนำมาใช้ ทำให้บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตเนื้อหาในต่างประเทศเริ่มพิจารณาทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนที่อาจพึ่งพาตลาดในประเทศจีนน้อยลง

โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ทางการจีนได้เผยแพร่กฎเกณฑ์รายละเอียดสำหรับการทบทวนเนื้อหาของรายการต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งระบุว่าผู้ผลิตเนื้อหาไม่ควรใช้ดารานักแสดงจากฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน หรือจากประเทศอื่น ๆ อย่างไม่เหมาะสม

และนักแสดงของจีนบางคนตีความกฎหมายเรื่องนี้ว่า ตนจะต้องยกเลิกการมีสองสัญชาติโดยหันมาถือสัญชาติการเป็นพลเมืองของจีนแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อแสดงความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน หากยังคาดหวังที่จะทำงานและเติบโตในวงการบันเทิงของจีนต่อไป

และก็มีนักแสดงหรือนักร้องบางคน เช่น คุณ Nicholas Tse ซึ่งได้ย้ายจากฮ่องกงไปอยู่ที่นครแวนคูเวอร์ของแคนาดาตั้งแต่เด็ก กล่าวว่า ตนได้ตัดสินใจสละสัญชาติแคนาดาด้วยเหตุผลดังกล่าว

SEE ALSO: สถานทูตจีน ยืนยันจัดระเบียบแฟนด้อม ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

แต่สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิงของจีนรายอื่น แนวทางปฎิบัติที่ว่านี้ทำให้เริ่มมีการพิจารณาเรื่องการแยกตัวหรือถอนตัวออกจากตลาดประเทศจีน ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของโลกตะวันตกมักถูกกล่าวหามาตลอดว่าพยายามเอาใจจีนจากการที่จีนมีตลาดภาพยนตร์ใหญ่ที่สุดของโลกตามตัวเลขของปี 2020 ก็ตาม

อย่างเช่น เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว นาย Reed Hasting ซีอีโอร่วมของ Netflix ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่าทางบริษัทได้พยายามมุ่งเน้นโอกาสของการเติบโตในส่วนอื่นของโลก แต่ไม่ใช่ในประเทศจีน โดยเหตุผลหนึ่งของเรื่องนี้อาจมาจากการที่จีนได้พยายามเพิ่มกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมเนื้อหารายการบันเทิงที่ผลิตโดยต่างชาติ

SEE ALSO: จีนจัดระเบียบวงการบันเทิงแดนมังกร ฐานเป็นพิษภัยต่อเยาวชนและสังคม

ทั้งนี้ ตามข้อสังเกตของคุณ Clayton Dube ผู้อำนวยการสถาบันสหรัฐ-จีน ของ University of Southern California ส่วนคุณ Aynne Kokas ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสื่อของมหาวิทยาลัย University of Verginia ก็บอกกับวีโอเอภาคภาษาจีนกลางว่ากฎหมายของจีนที่มุ่งควบคุมอุตสาหกรรมบันเทิงนั้นอาจมีขึ้นเพื่อส่งเสริมค่านิยมระดับชาติที่ทางการจีนเห็นว่าสำคัญเช่นกัน

คำถามในขณะนี้ก็คือ หากธุรกิจผู้ผลิตเนื้อหาบันเทิงของประเทศตะวันตกพิจารณาถอนตัวออกจากตลาดจีนแล้ว เรื่องนี้จะสร้างผลเสียด้านรายได้และผลกำไรมากน้อยเพียงใด

ซึ่งอาจารย์ Wendy Su ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อของจีนที่มหาวิทยาลัย University of California - Riverside ให้ความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวอาจยากที่จะคาดเดาเพราะมีภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายเรื่องซึ่งรายได้น่าผิดหวังในสหรัฐฯ แต่กลับทำได้ดีในตลาดจีน เช่นเรื่อง “Rampage” ของ Dwayne Johnson เมื่อปี 2018 เป็นต้น

SEE ALSO: จีนดำเนินมาตรการเข้มงวดจำกัดการเล่นวิดีโอเกมของเยาวชน

แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้สร้างภาพยนตร์บางคนที่มั่นใจว่า ภาพยนตร์ของตนจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องพึ่งตลาดจีน อย่างเช่นเรื่อง “Once Upon a Time … in Hollywood” ของผู้กำกับ Quentin Tarantino ซึ่งสามารถสร้างรายได้ทั่วโลกได้กว่า 357 ล้านดอลลาร์โดยไม่ได้เข้าไปฉายในประเทศจีน เป็นต้น

ส่วนคุณ Stanley Rosen ผู้สอนด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of Southern California ก็ชี้ว่า ปกติแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหนังฟอร์มใหญ่ทุกเรื่องที่จะทำรายได้แบบถล่มทลายในตลาดจีน เพราะขณะนี้จีนมีระบบโควต้าซึ่งกำหนดว่าจะมีภาพยนตร์ต่างประเทศได้ 34 เรื่องต่อปีแบบแบ่งรายได้กัน และในจำนวนนี้ 14 เรื่องต้องเป็นหนังฟอร์มใหญ่ในรูปแบบ IMAX และ/หรือ 3D เป็นต้น

ดังนั้น โอกาสของเรื่องนี้จึงค่อนข้างจำกัดอยู่แล้ว และนิตยสาร Variety ก็รายงานว่าตั้งแต่ปี 2019 รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ตั้งเป้าให้มีการผลิตภาพยนตร์ในประเทศปีละ 100 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องควรทำรายได้อย่างน้อย 100 ล้านหยวน หรือประมาณ 15 ล้านดอลลาร์เช่นกัน