การอ่านหนังสือช่วยเสริมสร้างจินตนาการตลอดจนความคิดสร้างสรรค์แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการเเต่งหนังสือยิ่งมีประโยชน์มากขึ้นไปอีก
ในห้องเรียนนักเรียนประถมปีที่ 3 โรงเรียน Taylor Elementary ที่เมือง Arlington รัฐ Virginia เด็กนักเรียนวัยแปดถึงเก้าขวบกำลังวุ่นวายกับการแต่งหนังสือ ระบายสีภาพและคุยกับคุณครู เด็กๆ เหล่านี้เป็นนักเขียนรุ่นเยาว์ที่กำลังแต่งหนังสือในหัวข้อที่เด็กๆ เลือกเองตามใจชอบ
เด็กหญิง Avalon Bennett บอกว่าสนุกกับการเเต่งหนังสือของตนเองได้ระบายสีภาพประกอบและได้เลือกหัวข้อเองเด็กหญิง Bennett เเต่งหนังสือเกือบเสร็จเเล้ว เธอตั้งชื่อเรื่องว่า Maleficent เป็นเรื่องราวของตัววายร้ายจากการ์ตูนแนวคลาสสิกของดิสนีย์เรื่องเจ้าหญิงนิทรา
คุณ Paul DiBenedetto คุณครูให้นักเรียนในชั้นเเต่งหนังสือห้าถึงหกเล่มตลอดปีการศึกษา จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กๆ ได้เรียนไป
คุณครูกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเเม้ว่าการเเต่งหนังสือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนแต่เด็กๆต้องเรียนการเขียน นอกจากการเเต่งหนังสือจะช่วยเด็กๆ ฝึกการเขียนแล้ว ยังเป็นวิธีเเสดงออกทางความเป็นตัวของตัวเองและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการแต่งหนังสือ เด็กๆต้องหาแนวเรื่องที่อยากเขียนและเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ เด็กๆ จะเริ่มเเต่งเรื่องขึ้นก่อน หลังจากนั้นจะทำการเเก้ไขงานเขียนที่เเต่งขึ้น
หลังจากเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสร็จ เด็กๆจะต้องเขียนร่างหนังสือรอบสุดท้ายโดยพิมพ์ลงบนคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนนี้ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีไปในตัว คุณครู DiBenedetto กล่าวว่าเด็กๆ ได้ฝึกคิดเหมือนนักเขียนหนังสือ
คุณครู DiBenedetto กล่าวว่าเด็กๆ จะปรึกษาว่าเรื่องที่เขียนเป็นไปตามแนวเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่ มีรายละเอียดพอมั้ย จะเขียนตอนจบอย่างไรดีให้เข้ากับเรื่องราว
ไม่ว่าจะสอนเด็กระดับชั้นประถมใด คุณครู DiBenedetto จะให้เด็กๆ เเต่งหนังสือเสมอ เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ในระดับชั้นประถมปีที่หนึ่ง เด็กๆ ต้องเขียนให้ได้อย่างน้อยหนึ่งถึงสามประโยค ในระดับประถมปีที่สาม นักเรียนต้องเขียนให้ได้สี่ถึงห้าย่อหน้า สำหรับประถมปีที่ห้า นักเรียนต้องเขียนหนังสือได้หลายหน้ากระดาษ
ด้านคุณ Holly Karapetkova นักเขียนหนังสือเด็กและอาจารย์สอนด้านวรรณกรรมแห่งมหาวิทยาลัย Marymount University กล่าวว่าเธอยินดีมากที่ K.J. ลูกชายวัยแปดขวบและเพื่อนร่วมชั้นหัดเเต่งหนังสือในชั้นเรียน
เธอกล่าวว่าการแต่งหนังสือช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ รักการอ่าน นอกจากจะอ่านหนังสือที่ตนเองแต่งแล้ว ยังจะขนขวายอ่านหนังสือประเภทอื่นๆ ด้วย
การแต่งหนังสือเป็นกิจกรรมที่คุณ Holly Karapetkova ทำที่บ้านกับ K.J. ลูกชายและลูกสาว วัยสามขวบ
คุณ Holly Karapetkova กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอกับลูกๆ เเต่งหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ อากาศ ตัวหนังสือและตัวเลขเพื่อส่งเสริมทักษะที่เด็กได้เรียนไป เธอบอกว่าหนังสือที่ชอบมากที่สุดในบรรดาหนังสือที่เเต่งขึ้นกับลูกๆ ที่บ้านเป็นหนังสือเกี่ยวกับตัวอักษรที่มีตัวหนังสือธรรมดาๆ กับภาพประกอบ โดยภาพมีทั้งที่พิมพ์มาจากภาพถ่ายส่วนตัวและภาพที่เด็กๆ วาดขึ้นเอง
คุณ Holly Karapetkova กล่าวว่าต้องให้อิสระเเก่เด็กในการเลือกเพื่อให้เด็กสนใจเเต่งหนังสือจนจบ ในฐานะคุณเเม่ คุณ Holly Karapetkova หวังว่าทักษะที่ลูกๆ กำลังฝึกฝนอยู่นี้ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การอ่าน การคิดและจินตนาการ จะช่วยให้ลูกๆประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 21
ในห้องเรียนนักเรียนประถมปีที่ 3 โรงเรียน Taylor Elementary ที่เมือง Arlington รัฐ Virginia เด็กนักเรียนวัยแปดถึงเก้าขวบกำลังวุ่นวายกับการแต่งหนังสือ ระบายสีภาพและคุยกับคุณครู เด็กๆ เหล่านี้เป็นนักเขียนรุ่นเยาว์ที่กำลังแต่งหนังสือในหัวข้อที่เด็กๆ เลือกเองตามใจชอบ
เด็กหญิง Avalon Bennett บอกว่าสนุกกับการเเต่งหนังสือของตนเองได้ระบายสีภาพประกอบและได้เลือกหัวข้อเองเด็กหญิง Bennett เเต่งหนังสือเกือบเสร็จเเล้ว เธอตั้งชื่อเรื่องว่า Maleficent เป็นเรื่องราวของตัววายร้ายจากการ์ตูนแนวคลาสสิกของดิสนีย์เรื่องเจ้าหญิงนิทรา
คุณ Paul DiBenedetto คุณครูให้นักเรียนในชั้นเเต่งหนังสือห้าถึงหกเล่มตลอดปีการศึกษา จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กๆ ได้เรียนไป
คุณครูกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเเม้ว่าการเเต่งหนังสือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนแต่เด็กๆต้องเรียนการเขียน นอกจากการเเต่งหนังสือจะช่วยเด็กๆ ฝึกการเขียนแล้ว ยังเป็นวิธีเเสดงออกทางความเป็นตัวของตัวเองและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการแต่งหนังสือ เด็กๆต้องหาแนวเรื่องที่อยากเขียนและเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ เด็กๆ จะเริ่มเเต่งเรื่องขึ้นก่อน หลังจากนั้นจะทำการเเก้ไขงานเขียนที่เเต่งขึ้น
หลังจากเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสร็จ เด็กๆจะต้องเขียนร่างหนังสือรอบสุดท้ายโดยพิมพ์ลงบนคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนนี้ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีไปในตัว คุณครู DiBenedetto กล่าวว่าเด็กๆ ได้ฝึกคิดเหมือนนักเขียนหนังสือ
คุณครู DiBenedetto กล่าวว่าเด็กๆ จะปรึกษาว่าเรื่องที่เขียนเป็นไปตามแนวเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่ มีรายละเอียดพอมั้ย จะเขียนตอนจบอย่างไรดีให้เข้ากับเรื่องราว
ไม่ว่าจะสอนเด็กระดับชั้นประถมใด คุณครู DiBenedetto จะให้เด็กๆ เเต่งหนังสือเสมอ เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ในระดับชั้นประถมปีที่หนึ่ง เด็กๆ ต้องเขียนให้ได้อย่างน้อยหนึ่งถึงสามประโยค ในระดับประถมปีที่สาม นักเรียนต้องเขียนให้ได้สี่ถึงห้าย่อหน้า สำหรับประถมปีที่ห้า นักเรียนต้องเขียนหนังสือได้หลายหน้ากระดาษ
ด้านคุณ Holly Karapetkova นักเขียนหนังสือเด็กและอาจารย์สอนด้านวรรณกรรมแห่งมหาวิทยาลัย Marymount University กล่าวว่าเธอยินดีมากที่ K.J. ลูกชายวัยแปดขวบและเพื่อนร่วมชั้นหัดเเต่งหนังสือในชั้นเรียน
เธอกล่าวว่าการแต่งหนังสือช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ รักการอ่าน นอกจากจะอ่านหนังสือที่ตนเองแต่งแล้ว ยังจะขนขวายอ่านหนังสือประเภทอื่นๆ ด้วย
การแต่งหนังสือเป็นกิจกรรมที่คุณ Holly Karapetkova ทำที่บ้านกับ K.J. ลูกชายและลูกสาว วัยสามขวบ
คุณ Holly Karapetkova กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอกับลูกๆ เเต่งหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ อากาศ ตัวหนังสือและตัวเลขเพื่อส่งเสริมทักษะที่เด็กได้เรียนไป เธอบอกว่าหนังสือที่ชอบมากที่สุดในบรรดาหนังสือที่เเต่งขึ้นกับลูกๆ ที่บ้านเป็นหนังสือเกี่ยวกับตัวอักษรที่มีตัวหนังสือธรรมดาๆ กับภาพประกอบ โดยภาพมีทั้งที่พิมพ์มาจากภาพถ่ายส่วนตัวและภาพที่เด็กๆ วาดขึ้นเอง
คุณ Holly Karapetkova กล่าวว่าต้องให้อิสระเเก่เด็กในการเลือกเพื่อให้เด็กสนใจเเต่งหนังสือจนจบ ในฐานะคุณเเม่ คุณ Holly Karapetkova หวังว่าทักษะที่ลูกๆ กำลังฝึกฝนอยู่นี้ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การอ่าน การคิดและจินตนาการ จะช่วยให้ลูกๆประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 21