Your browser doesn’t support HTML5
เขื่อนที่ใหญ่กว่า และคาดว่าจะส่งผลกระทบร้ายแรงกว่าต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านในบริเวณใกล้เขื่อน คือเขื่อนที่กำลังจะสร้างขึ้นที่แม่น้ำ Se San 2 ตอนล่าง
แม่น้ำสายนี้แยกออกมาจากแม่โขง อยู่ทางเหนือของกัมพูชาใกล้กับชายแดนลาว
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประมาณว่า เขื่อนนี้จะลดปริมาณปลาลงราวๆ 10% หรือสองแสนตันต่อปี ชาวบ้านในบริเวณนั้นอาศัยปลาจากแม่น้ำเป็นอาหารหลัก
เขื่อน Se San 2 ตอนล่าง ยังสะกัดกั้นการเคลื่อนย้ายตะกอนก้นแม่น้ำอีกด้วย ซึ่ง Ame Trandem ผู้อำนวยการภูมิภาคของมูลนิธิ International Rivers บอกว่า ตะกอนก้นแม่น้ำมีความสำคัญต่อผลิตภาพทางการเกษตรและความเสถียรของทางน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นภัยคุกคามต่อเวียตนามและบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง หรือหม้อข้าวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
เขื่อนแห่งที่สอง คือ Stung Cheay Areng ในจังหวัดเกาะกง กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ถ้ามีการสร้างเขื่อนแห่งนี้ ชาวบ้าน 1,500 คนจะต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัย และจะก่อผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากด้วย
แต่เป้าหมายของรัฐบาลกัมพูชา คือการผลิตไฟฟ้าสนองตอบความต้องการที่เพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชายืนยันว่า งานสร้างเขื่อน Se San 2 ตอนล่างจะเดินหน้าต่อไป ส่วนเขื่อน Stung Cheay Areng กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอยู่ รัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะสร้างเขื่อนนี้หรือไม่ หลังจากได้รับงานศึกษาชิ้นนี้
กลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลยื่นรายงานหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติเมื่อวันจันทร์ เรียกร้องให้สหประชาชาติดำเนินการสืบสวนและให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน
เจ้าหน้าที่สหประชาชาติผู้นี้จะเดินทางเยือนกัมพูชาเป็นเวลา 9 วันในเดือนนี้ เขาส่งอีเมลอธิบายว่า ยังไม่สามารถให้ความเห็นในเรื่องนี้ได้ จนกว่าจะได้ตรวจพิสูจน์ข้อความในรายงานและรับฟังความคิดเห็นของรัฐบาลกัมพูชาก่อน