ธุรกิจ: อินโดฯ เรียกร้องยูเอ็นออกกฏหมายลักลอบทำประมงมีโทษเท่าคดีอาชญากรรมข้ามชาติ

The Indonesian navy scuttles foreign fishing vessels caught fishing illegally in Indonesian waters near Bitung, North Sulawesi, May 20, 2015. A total of 19 foreign boats from Vietnam, Thailand, Philippines and one from China were destroyed.

เพลิดเพลินกับสินค้าขายไม่ออกที่ 'พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว' ในสวีเดน

Your browser doesn’t support HTML5

ข่าวธุรกิจประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2560

อินโดฯ เรียกร้องยูเอ็นออกกฏหมายลักลอบทำประมงมีโทษเท่าคดีอาชญากรรมข้ามชาติ

รัฐบาลอินโดนีเซียเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ ผลักดันให้การลักลอบทำประมงเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาในที่ประชุมว่าด้วยเรื่องมหาสมุทรของสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสมาชิกชาติอื่นๆ

การที่อินโดนีเซียเป็นแกนนำในการผลักดันกฏหมายประมงครั้งนี้ มีขึ้นเนื่องจากการลักลอบทำประมงโดยผิดกฏหมาย การประมงที่ไม่ได้รายงาน และการประมงที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเรียกว่า IUUF นั้น อาจตามมาด้วยการลักลอบขนยาเสพติด / การลักลอบค้าหรือขนส่งอาวุธ / การลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฏหมาย / รวมทั้งการค้ามนุษย์ ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้

รู้จัก 'พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว' ในสวีเดน

พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว ตั้งอยู่ในเมือง Helsingborg ประเทศสวีเดน ซามูเอล เวสต์ นักจิตวิทยาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น เพื่อรวบรวมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกที่นำออกวางขายแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

โดยหลายคนอาจไม่เคยคาดคิดว่าบริษัทต่างๆ จะเคยผลิตสินค้าแบบนี้ออกวางขายเสียด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทคอลเกต ที่เคยขายลาซานญ่าเนื้อแช่แข็งเมื่อช่วงปี 1980 / Coke 2 จากโคคาโคล่า / Pepsi Crystal จาก Pepsi / น้ำหอมของ Harley Davidson เมื่อปี 1996 รวมทั้งอุปกรณ์ใหม่ล่าสุดที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จอย่าง Google Glass

พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว เปิดให้ประชาชนไปสัมผัสกับความไม่สำเร็จของบริษัทยักษ์ใหญ่ ด้วยค่าเข้าชม 11 ดอลลาร์สหรัฐฯ