โฆษกของรัฐยะไข่ นาย Win Myaing กล่าวกับ VOA ภาคภาษาพม่าว่าเวลานี้สถานการณ์ในรัฐยะไข่อยู่ในการควบคุมแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งองค์กรความช่วยเหลือต่างๆยังคงได้รับรายงานเกี่ยวกับการต่อสู้ในเขตชนบทห่างไกลอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระบุว่า ทางการพม่าควรยื่นมือเข้าช่วยมากกว่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมโรฮิงจะในรัฐยะไข่
คุณ Phil Robertson ผช.ผอ.ฝ่ายเอเชียของ Human Rights Watch ชี้ว่ามีความกังวลมากขึ้นว่ารัฐบาลพม่าอาจไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้จริง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีแรงกระตุ้นทางการเมืองในการแก้ไขรากเหง้าของปัญหา นั่นคือนโยบายที่เลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมโรฮิงจะ ซึ่งทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ไร้ที่พึ่งพิง
แม้ยังไม่ทราบสาเหตุของความรุนแรงครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ แต่ก็ทำให้มีชาวมุสลิมมากกว่า 27,000 คนต้องอพยพออกจากถิ่นฐาน หมู่บ้านมุสลิมหลายแห่งถูกเผาทั้งหมู่บ้านรวมแล้วมีบ้านเรือนถูกเผามากกว่า 4,000 หลัง ชาวมุสลิมจำนวนมากหลบหนีไปยังค่ายอพยพในเมืองสิทธเวซึ่งแออัดอยู่แล้ว
คุณ Maeve Murphy หัวหน้าสำนักงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติหรือ UNHCR ในเมืองสิทธเวระบุว่า ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยอยู่ที่ค่ายอพยพดังกล่าวราว 75,000 คนจากความรุนแรงครั้งที่แล้วในรัฐยะไข่เมื่อเดือนมิ.ย ซึ่งเวลานี้ยังไม่มีเสบียงเพียงพอสำหรับผู้ลี้ภัยชุดใหม่ แต่ก็พยายามเร่งขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมไปแล้ว
ชาวมุลสิมโรฮิงจะบางคนที่พอพูดภาษาเบงกาลีได้พยายามหลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ แต่จุดผ่านแดนยังถูกปิดแม้ว่าทาง UNHCR ได้ร้องขอกับทางรัฐบาลบังกลาเทศไปแล้ว ซึ่งคุณ Phil Robertson กล่าวว่าองค์กรความร่วมมือของอิสลามหรือ OIC ควรกดดันรัฐบาลบังกลาเทศมากขึ้นในประเด็นนี้
ผช.ผอ.ฝ่ายเอเชียของ Human Rights Watch กล่าวว่าสิ่งที่นายกฯ บังกลาเทศ Sheikh Hasina กระทำต่อชาวมุสลิมโรฮิงจะนั้นเป็นเรื่องน่าอับอาย และ OIC ควรตำหนิบังกลาเทศที่ไม่จัดหาการปกป้องขั้นพื้นฐานให้กับชาวมุสลิมโรฮิงจะที่หลบหนีความรุนแรงเหล่านั้น
ทางด้านเลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวปราศรัยที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ แสดงความกังวลต่อความวุ่นวายในรัฐยะไข่ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจขยายวงกว้างออกไปนอกประเทศพม่า ดร.สุรินทร์เน้นย้ำว่าอาเซียนและประชาคมนานาชาติควรช่วยกันสนับสนุนให้เกิดความปรองดองทางการเมืองในพม่าโดยเร็ว
คุณ Phil Robertson ผช.ผอ.ฝ่ายเอเชียของ Human Rights Watch ชี้ว่ามีความกังวลมากขึ้นว่ารัฐบาลพม่าอาจไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้จริง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีแรงกระตุ้นทางการเมืองในการแก้ไขรากเหง้าของปัญหา นั่นคือนโยบายที่เลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมโรฮิงจะ ซึ่งทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ไร้ที่พึ่งพิง
แม้ยังไม่ทราบสาเหตุของความรุนแรงครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ แต่ก็ทำให้มีชาวมุสลิมมากกว่า 27,000 คนต้องอพยพออกจากถิ่นฐาน หมู่บ้านมุสลิมหลายแห่งถูกเผาทั้งหมู่บ้านรวมแล้วมีบ้านเรือนถูกเผามากกว่า 4,000 หลัง ชาวมุสลิมจำนวนมากหลบหนีไปยังค่ายอพยพในเมืองสิทธเวซึ่งแออัดอยู่แล้ว
คุณ Maeve Murphy หัวหน้าสำนักงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติหรือ UNHCR ในเมืองสิทธเวระบุว่า ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยอยู่ที่ค่ายอพยพดังกล่าวราว 75,000 คนจากความรุนแรงครั้งที่แล้วในรัฐยะไข่เมื่อเดือนมิ.ย ซึ่งเวลานี้ยังไม่มีเสบียงเพียงพอสำหรับผู้ลี้ภัยชุดใหม่ แต่ก็พยายามเร่งขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมไปแล้ว
ชาวมุลสิมโรฮิงจะบางคนที่พอพูดภาษาเบงกาลีได้พยายามหลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ แต่จุดผ่านแดนยังถูกปิดแม้ว่าทาง UNHCR ได้ร้องขอกับทางรัฐบาลบังกลาเทศไปแล้ว ซึ่งคุณ Phil Robertson กล่าวว่าองค์กรความร่วมมือของอิสลามหรือ OIC ควรกดดันรัฐบาลบังกลาเทศมากขึ้นในประเด็นนี้
ผช.ผอ.ฝ่ายเอเชียของ Human Rights Watch กล่าวว่าสิ่งที่นายกฯ บังกลาเทศ Sheikh Hasina กระทำต่อชาวมุสลิมโรฮิงจะนั้นเป็นเรื่องน่าอับอาย และ OIC ควรตำหนิบังกลาเทศที่ไม่จัดหาการปกป้องขั้นพื้นฐานให้กับชาวมุสลิมโรฮิงจะที่หลบหนีความรุนแรงเหล่านั้น
ทางด้านเลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวปราศรัยที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ แสดงความกังวลต่อความวุ่นวายในรัฐยะไข่ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจขยายวงกว้างออกไปนอกประเทศพม่า ดร.สุรินทร์เน้นย้ำว่าอาเซียนและประชาคมนานาชาติควรช่วยกันสนับสนุนให้เกิดความปรองดองทางการเมืองในพม่าโดยเร็ว