ว่าที่ปธน. 'โจ ไบเดน' กับปัญหาท้าทายที่รออยู่ทั้งศึกในศึกนอก

FILE - U.S. Vice President Joe Biden is sworn in as his wife Jill Biden watches during the inauguration of President Barack Obama in Washington, Jan. 20, 2009.

Your browser doesn’t support HTML5

Biden Challenge

หากมลรัฐต่างๆ ยืนยันผลการนับคะแนนคณะผู้เลือกตั้งตามที่สื่อมวลชนของสหรัฐฯ รายงาน โจ ไบเดนก็จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ในเวลาเที่ยงของวันที่ 20 มกราคม 2564 และสำหรับอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้

ปัญหาท้าทายที่รอเขาอยู่นั้นมีมากมายหลายด้าน นับตั้งแต่การจัดการกับการระบาดของโควิด-19 การทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัว ปัญหาการเลือกปฏิบัติและความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติและสีผิว รวมทั้งการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นต้น ยังไม่รวมถึงนโยบายต่างประเทศหรือเหตุการณ์วิกฤตอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

Democratic 2020 U.S. presidential nominee Joe Biden celebrates onstage at his election rally in Wilmington

  • การระบาดใหญ่ของโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจซบเซา

ในคำปราศรัยรับชัยชนะเมื่อวันเสาร์ โจ ไบเดน ระบุว่าตนจะประกาศตั้งคณะทำงานในวันจันทร์เพื่อให้คำแนะนำทั้งในแง่วิทยาศาสตร์และสาธารณสุขแก่ว่าที่ประธานาธิบดีเพื่อรับมือกับโรคระบาดใหญ่ที่ทำให้มีคนอเมริกันติดเชื้อไปแล้วถึงกว่า 9,900,000 คนและเสียชีวิตไปแล้วกว่า 237,000 คน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขการติดเชื้อในช่วงไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งมีสูงถึงวันละราว 100,000 คน และทำให้ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตวันละกว่า 1,000 คนในช่วงสามสี่วันหลังนี

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไบเดนให้สัญญาระหว่างการหาเสียงและจะต้องเร่งลงมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่มีคนอเมริกันถึง 20,000,000 คนต้องตกงานและรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจงวดใหม่ เนื่องจากพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันมีข้อขัดแย้งกันอยู่ทั้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะใช้ และกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์

อีกปัญหาหนึ่งของโจ ไบเดน ขณะนี้ก็คือถึงแม้พรรคเดโมแครตยังสามารถคุมเสียงข้างมากในสภาล่างได้แม้จะมีที่นั่งน้อยลง แต่ทางพรรคก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการคุมเสียงในสภาสูงหรือวุฒิสภาอย่างที่คาดไว้ และทางพรรคกำลังให้ความหวังกับการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกรอบสองในรัฐจอร์เจียสองที่นั่ง ซึ่งหากพรรคเดโมแครตชนะทั้งสองตำแหน่งก็จะเป็นผลให้มีเสียงเท่ากับพรรครีพับลิกันคือ 50 ต่อ 50 ในวุฒิสภา และรองประธานาธิบดีในฐานะประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่งก็จะสามารถออกเสียงชี้ขาดได้ในกรณีที่การลงคะแนนเรื่องใดเท่ากัน

Your browser doesn’t support HTML5

ผู้สนับสนุน 'ทรัมป์' ประท้วง หลังสื่อสหรัฐฯ คาดแพ้ศึกเลือกตั้ง

  • ผสานรอยร้าวของคนอเมริกัน

นักวิเคราะห์การเมืองเชื่อว่าปัญหาท้าทายของโจ ไบเดนในการทำงานนั้นมีอยู่มากมาย คือนอกจากจะต้องพยายามสมานบาดแผลที่ทั้งกว้างและลึกซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา และทำให้ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์ยอมรับและร่วมมือแล้ว โจ ไบ เดนยังต้องพยายามหาทางทำงานร่วมกับสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาหากจะให้วาระของตนประสบความสำเร็จด้วย

อาจารย์แชนนอน โอไบรอัน ผู้สอนวิชาการเมืองอเมริกันที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแท็กซัสชี้ว่า โจ ไบเดน ต้องพยามทำงานกับวุฒิสมาชิกมิทช์ แมคคอแนลล์ ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งและจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีกหกปี โดยคาดว่าวุฒิสมาชิกแมคคอแนลล์จะเป็นผู้นำพรรคเสียงข้างมากในวุฒิสภาต่อไปอย่างน้อยในช่วงสองปีต่อจากนี้ด้วย

และเมื่อวันศุกร์ โจ ไบเดน ได้เน้นเรื่องการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองพรรค โดยใช้คำพูดว่าเราอาจจะเป็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งมีความเห็นแตกต่างแต่เราก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน

Your browser doesn’t support HTML5

จับประเด็นสำคัญ สุนทรพจน์ ‘ไบเดน-แฮร์ริส’ หลังประกาศชัยชนะเลือกตั้ง

  • แรงกดดันจากมุ้งต่าง ๆ ภายในพรรค

อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกับพรรครีพับลิกันอาจไม่ใช่เรื่องเดียวที่โจ ไบเดนต้องพยายามผ่อนปรน เพราะนักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่าเขาจะต้องรับมือกับความกดดันทั้งจากกลุ่มแนวก้าวหน้าและกลุ่มแนวสายกลางของพรรคเดโมแครตเอง ทั้งในเรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งที่สำคัญและการจัดทำนโยบายเรื่องต่าง ๆ นับตั้งแต่เรื่องระบบการประกันสุขภาพ การรับมือกับปัญหาโลกร้อน แนวนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนถึงเรื่องวิธีแก้ปัญหาความไม่ทัดเทียมและความไม่ยุติธรรมในสังคมด้วย

ด้วยเหตุนี้ ผู้ติดตามการเมืองของสหรัฐฯ จึงเชื่อว่า เขาจะต้องรับมือกับความกดดันต่าง ๆ จากกลุ่มหัวก้าวหน้าของพรรคเดโมแครต ซึ่งก่อนหน้านี้เข้าร่วมสนับสนุนโจ ไบเดน เพราะมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือต้องการเอาชนะประธานาธิบดีทรัมป์

และจากการที่พรรคเดโมแครตไม่สามารถคุมเสียงข้างมากในทั้งสองสภา รวมทั้งจากความแตกแยกทางการเมืองซึ่งอาจจะไม่สามารถเยียวยาได้อย่างรวดเร็วนั้น นโยบายต่าง ๆ ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่น่าจะเป็นในลักษณะการปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน