องค์การอนามัยโลกเร่งให้วัคซีนป้องกัน 'เชื้ออหิวาต์ระบาด' ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงจะ

A Rohingya refugee child washes utensils in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 6, 2017.

A Rohingya refugee child washes utensils in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 6, 2017.

Your browser doesn’t support HTML5

องค์การอนามัยโลกเร่งให้วัคซีนป้องกัน 'เชื้ออหิวาต์ระบาด' ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงจะ

เวลานี้ องค์การอนามัยโลก และกองทุนเด็กของสหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค แก่เด็กๆ ชาวมุสลิมโรฮิงจะในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนบังกลาเทศแล้ว เพื่อป้องกันการระบาดของโรคนี้ในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าว ซึ่งมีชาวโรฮิงจะอาศัยอยู่หลายแสนคน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานการเกิดโรคท้องร่วง 10,300 ราย ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจะ บริเวณเขต Cox’s Bazar ของบังกลาเทศ ซึ่งมีชาวมุสลิมโรฮิงจะจากเมียนมา อาศัยอยู่ราว 500,000 คน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการระบาดของเชื้ออหิวาต์ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ว่านี้แต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังได้เริ่มโครงการให้วัคซีนทางปากเพื่อป้องกันอหิวาตกโรคแก่เด็กๆ หลายแสนคนในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้ออหิวาต์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีสภาพความเป็นอยู่ยากลำบาก แออัด ขาดสุขอนามัย ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อโรคชนิดนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

A Rohingya woman holds her child and stands at a makeshift camp near Kutupalong refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 3, 2017. More than half a million Rohingya have fled from Myanmar to Bangladesh in just over a month, the largest refugee crisis

A Rohingya woman holds her child and stands at a makeshift camp near Kutupalong refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Oct. 3, 2017. More than half a million Rohingya have fled from Myanmar to Bangladesh in just over a month, the largest refugee crisis

คุณคริสเตียน ลินด์เมเยอร์ โฆษกขององค์การอนามัยโลก กล่าวกับ VOA ว่าโครงการให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคนี้ ถือเป็นครั้งใหญ่อันดับสองรองจากโครงการให้วัคซีนชนิดเดียวกันนี้ที่เฮติ หลังเกิดเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแมทธิวถล่มเฮติเมื่อปีที่แล้ว

โดยในการให้วัคซีนรอบแรกนี้มีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถครอบคลุมชาวมุสลิมโรฮิงจะ กว่า650,000 คน ที่เดินทางมาจากรัฐยะไข่ของเมียนมา

คุณลินด์เมเยอร์ ระบุว่าองค์การอนามัยโลกได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ชุดใหญ่ไปยังค่ายผู้ลี้ภัย โดยมีทีมแพทย์เคลื่อนที่กว่า 200 ทีม ที่เข้าร่วมโครงการนี้

สำหรับการให้วัคซีนรอบที่สองจะมีขึ้นในวันที่ 31 ต.ค. ซึ่งจะครอบคลุมถึงเด็กๆ อายุระหว่าง 1 – 5 ขวบ จำนวน 250,000 คน

อย่างไรก็ตาม แม้วัคซีนจะสามารถป้องกันการระบาดของเชื้ออหิวาต์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ทางองค์การอนามัยโลกระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก การรักษาสุขอนามัย และการเข้าถึงน้ำสะอาด

(ผู้สื่อข่าว Lisa Schlein รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)