นักวิจัยพบว่าหัวก๊อกน้ำระบบเปิดปิดอัตโนมัติมีเชื้อแบคทีเรียซุกซ่อนอยู่มากกว่าก๊อกธรรมดา

  • Christopher Cruise
    จำเริญ ตัณฑ์สมบุญ

Washing hands

นักวิจัยซึ่งนำหัวก๊อกน้ำระบบเปิดปิดอัตโนมัติในห้องน้ำของโรงพยาบาล Johns Hopkins ที่นคร Baltimore ของสหรัฐฯ 20 หัวมาถอดเพื่อศึกษาได้พบว่า ครึ่งหนึ่งของหัวก๊อกแบบนี้มีเชื้อแบคทีเรีย Legionella อยู่เมื่อเทียบกับ 15 % ของก๊อกแบบธรรมดา

โดยปกติแล้วคนที่แข็งแรงทั่วไปจะไม่ป่วยด้วยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ แต่เชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดบอมในกลุ่มคนที่ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่นคนที่เป็นมะเร็ง ติดเชื้อ HIV/AIDS รวมทั้งผู้ที่เพิ่งผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะมาใหม่ๆ เป็นต้น

หลังจากที่ถอดชิ้นส่วนหัวก๊อกระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบเซ็นเซอร์อิเล็คทรอนิคส์ออกตรวจแล้ว นักวิจัยได้ใช้คลอรีนไดออกไซด์ทำความสะอาดระบบน้ำและท่อน้ำของโรงพยาบาลและนำหัวก๊อกมาตรวจอีกครั้ง แต่ก็ยังพบว่า 29 % ของหัวก๊อกระบบอัตโนมัตินี้ยังมีเชื้อแบคทีเรีย Legionella ซุกซ่อนอยู่เมื่อเทียบกับ 7 % ของหัวก๊อกธรรมดา นักวิจัยให้เหตุผลว่าหัวก๊อกระบบเปิดปิดอัตโนมัติมีชิ้นส่วนข้างในมากกว่าและอาศัยแรงดันน้ำต่ำกว่าเพื่อประหยัดน้ำ ทำให้เชื้อแบคที่เรียมีพื้นที่ที่ซุกซ่อนและเติบโตได้ นอกจากการศึกษาที่โรงพยาบาล Johns Hopkins นี้แล้วผลการศึกษาอื่นๆ อีก 6 ชิ้นก็แสดงเช่นกันว่ามีเชื้อแบคที่เรียอยู่ในหัวก๊อกแบบนี้เช่นกัน และผลการค้นพบทำให้โรงพยาบาล Johns Hopkins ตัดสินใจเปลี่ยนหัวก๊อกระบบอัตโนมัติเป็นหัวก๊อกธรรมดาแบบที่ต้องใช้มือจับหรือหมุนแทน