นักวิจัยพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานบินได้ใกล้เคียง 'มังกรในตำนาน'

Animatronic life-size pterosaurs are seen ahead of an interactive exhibition, Jurassic Kingdom, at Osterley Park in west London, Britain, March 31, 2017.

Your browser doesn’t support HTML5

Flying Prehistoric Reptile


นักบรรพชีวินวิทยาชาวออสเตรเลียได้ค้นพบสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ยุคก่อนประวัติศาสตร์สายพันธุ์ใหม่ ในชนบทห่างไกลของรัฐควีนส์แลนด์ ที่มีชื่อว่า Thapunngaka shawi เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในออสเตรเลีย และมีอายุย้อนไปถึง 100 ล้านปี

นักวิจัยกล่าวว่า ไดโนเสาร์พันธุ์ "เทอโรซอร์" ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ เป็น "สิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับมังกรมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา"

นักวิจัยกล่าวว่า ด้วยปากที่เหมือนหอกและปีกที่ยาวประมาณ 7 เมตร ทำให้พวกมัน “ทะยานเหมือนมังกร” เหนือท้องทะเลในที่กว้างใหญ่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปกคลุมพื้นที่ห่างไกลของรัฐควีนส์แลนด์

นักบรรพชีวินวิทยากล่าวว่า เจ้าเทอโรซอร์มีกระดูกที่ค่อนข้างกลวงและเต็มไปด้วยอากาศ สามารถปรับให้เข้ากับการบินได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซากของพวกมันเป็นของหายาก ดังนั้น การค้นพบฟอสซิลตรงส่วนกรามของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ในเหมืองหินเมื่อปี 2011 โดยนักธรณีวิทยามือสมัครเล่นในท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และฟอสซิลดังกล่าวถูกทิ้งไว้ในตู้โชว์ของพิพิธภัณฑ์เป็นเวลานานก่อนที่จะถูกนำไปวิเคราะห์โดยทีมของมหาวิทยาลัย University of Queensland

ทิม ริชาร์ดส์ นักวิจัยจากห้องทดลองไดโนเสาร์ของมหาวิทยาลัย กล่าวว่า เจ้าเทอโรซอร์ตัวนี้น่าจะเป็นนักล่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์

เขากล่าวว่า สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการศึกษากระดูกขากรรไกรของมัน โดยการเปรียบเทียบกับเทอโรซอร์สายพันธุ์ใกล้เคียงที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ทราบได้ว่ากระดูกขากรรไกรที่กำลังศึกษาอยู่นั้นค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเทอโรซอร์สายพันธุ์ใกล้เคียง และสันนิษฐานได้ว่าปีกของมันน่าจะกว้างประมาณ 7 เมตร และกระโหลกศีรษะน่าจะยาวประมาณหนึ่งเมตร

ทั้งนี้เทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่นี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ananguerians ซึ่งอาศัยอยู่ทุกทวีปในช่วงหลังของยุคของไดโนเสาร์

ชื่อของเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่ “Thapunngaka shawi” เป็นที่รู้จักของชนพื้นเมืองในริชมอนด์ซึ่งเป็นที่ที่พบฟอสซิล โดยเป็นการใช้คำจากภาษาที่สูญพันธุ์ไปแล้วของประเทศ Wanamara ในรัฐควีนส์แลนด์

เรื่องราวของเจ้าเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกอยู่ในวารสาร Journal of Vertebrate Paleontology

อย่างไรก็ตาม เทอโรซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ แต่ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม และฟอสซิลที่ค้นพบนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ตั้งแต่ 65 ล้านถึง 250 ล้านปีก่อน