นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาการโคจรของอุกกาบาตเพื่อเตรียมตัวรับมือภัยคุกคามในอนาคต

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการโคจรของอุกกาบาตเพื่อเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติในอนาคต

อุตสาหรรมภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับภัยคุกคามจากอุกกาบาตมานานแล้ว เช่นเรื่อง Deep Impact และ Armageddon ซึ่งวาดภาพความวานวายบนโลกที่กำลังจะถูกอุกกาบาตพุ่งชน ส่วนเรื่องราวที่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ก็คือเหตุการณ์ที่มีสะเก็ดอุกกาบาตพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศโลกมาปะทะกับพื้นโลกที่บริเวณเมืองเชลยาบิ้งค์ในรัสเซีย เมื่อวันที่ 15 ก.พ ปีนี้ จนก่อให้เกิดความโกลาหลไปทั่ว

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีอุกกาบาตหรือดาวหางโคจรอยู่ทั่วไปใกล้กับโลกของเราราว 10,000 ลูก ซึ่งถือเป็นเพียง 1% ของอุกกาบาตนับล้านๆลูกที่โคจรอยู่ในวงชั้นในของระบบสุริยจักรวาลของเรา

เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์ Thomas Jones แห่งสมาคมสำรวจอวกาศอเมริกัน กล่าวเตือนเรื่องนี้ว่า หากเกิดการระเบิดของดาวหางที่โคจรผ่านโลกในระยะประชิด และทำให้มีสะเก็ดอุกกาบาตพุ่งเข้ามาชนโลก ก็อาจทำให้ผู้คนนับล้านคนเสียชีวิตได้ในในทันที

นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ชี้ว่าวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติจากอุกกาบาตได้ก็คือ การใช้กล้องโทรทัศน์ที่โคจรอยู่นอกโลกในการตรวจจับวัตถุต้องสงสัยว่าอาจเข้าลอยเข้ามาอยู่ในวงโคจรของโลก เพื่อที่หากพบว่าอุกกาบาตใดที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพุ่งชนโลกในระยะประชิด ก็อาจจะใช้จรวดบรรทุนระเบิดนิวเคลียร์ยิงขึ้นไปปะทะเพื่อทำลายอุกกาบาตหรือทำให้อุกกาบาตนั้นเปลี่ยนวิถีไปได้ เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นบนโลกมนุษย์

รายงานจากห้องข่าว VOA / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล