วิเคราะห์: เหตุใด 'เอเชียนอเมริกัน' จึงกลายมาเป็นกลุ่มที่สำคัญทางการเมือง

FILE - Asian-American demonstrators hold a rally outside the U.S. Supreme Court as it was hearing a case involving affirmative action in university admissions, Dec. 9, 2015. The case was brought white applicant Abigail Fisher, who claimed that a Universit

Your browser doesn’t support HTML5

Asian American Force


บทบาทและการเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวเอเชียนอเมริกันชัดเจนมากขึ้น หลังประชากรกลุ่มนี้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งในศึกประธานาธิบดีและสมาชิกสภาอเมริกันเมื่อปีที่ผ่านมากกว่าครั้งก่อนๆ

สำนักสำรวจสำมะโนประชากร (US Census Bureau) รายงานว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ชาวเอเชียนอเมริกันออกมาใช้เสียงเกือบ 60% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจากกลุ่มชาติพันธุ์นี้

หน่วยงานรณรงค์เพื่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่ชื่อ AAPI Civic Engagement Fund และองค์กรอื่นๆได้ร่วมกันสำรวจถึงการเลือกประธานาธิบดีสหรัฐฯ และพบว่า 68% ของประชากรกลุ่มนี้โหวตให้นาย​ โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต เทียบกับ 28% ที่สนับสนุน นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

ผู้อำนวยการองค์กร AAPI Civic Engagement Fund ระบุว่าจากผลสำรวจ ชาวเอเชียนอเมริกันให้ความสนใจเรื่องการจ้างงาน เศรษฐกิจและระบบสาธารณสุข มากเป็นอันดับต้นๆ ส่วนเรื่องอื่นๆก็ประกอบด้วย การจัดการการระบาดของโคโรนาไวรัส และการเหยียดเชื้อชาติ

นักวิชาการอาวุโสขององค์กรดังกล่าวซาร่า ซาดวานี่ อธิบายถึงการออกมาใช้สิทธิเลือกต้ังที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนเอเชียนอเมริกันในปี 2020 ว่า เหตุคุกคามและกระแสการเหยียดคนเอเชียในสหรัฐฯ ความรู้สึกถูกเกลียดชัง และการถูกกีดกันทางสังคม ล้วนต่างกระตุ้นให้พวกเขาตบเท้าออกมาลงทะเบียนเลือกตั้งและมีส่วนร่วมทางการเมือง

คะแนนเสียงของเอเชียนอเมริกันนั้นมีความสำคัญมากและคนกลุ่มนี้ก็มีการออกมาใช้สิทธิได้เพิ่มขึ้นสูงขึ้น โดยเฉพาะในสนามเลือกตั้งที่มีคะแนนคู่คี่ หรือที่เรียกกันว่า ‘รัฐสมรภูมิ’ (battleground states) นั่นเอง ศูนย์ข้อมูลทางการเมือง TargetSmart รายงานว่า เอเชียนอเมริกันออกมาเลือกตั้งใน ‘รัฐสมรภูมิ’ มากกว่าประชากรกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆในปี 2020

USA-ELECTION/GEORGIA-BIDEN Jon Ossoff and Raphael Warnock

ตัวอย่างสำคัญของบทบาททางการเมืองของเอเชียนอเมริกัน เกิดขึ้นที่รัฐจอร์เจียซึ่งอยู่ทาตอนใต้ของสหรัฐฯ โดยประชากรกลุ่มนี้ออกมาใช้เสียงมากกว่า 62,000 คนเมื่อเทียบกับศึกเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐฯเมื่อปี 2016 ซึ่งรัฐดังกล่าว โจ ไบเดนชนะ ประธานธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้นไปอย่างฉิวเฉียดเพียงแค่ 12,000 โหวตเท่านั้น

นักวิชาการอาวุโสขององค์กร AAPI Civic Engagement Fund กล่าวด้วยว่า เอเชียนอเมริกันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐจอร์เจียซึ่งปกติเป็นฐานเสียงหลักของรีพับลิกันพลิกมาเป็นรัฐของเดโมแครตได้ และที่พรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกสองเก้าอี้จากรัฐนี้ ก็ได้เเรงหนุนจากเอเชียนอเมริกันด้วย

ทางด้าน จูดี ชู นักการเมืองหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายจีนคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นส.ส.สหรัฐฯเมื่อ 12 ปีก่อน พูดถึงศึกเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐฯครั้งล่าสุดว่า เอเชียนอเมริกันผันตัวเองจากกลุ่มคนที่ถูกรังแกเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมสำคัญในชัยชนะของพรรคเดโมแครด

อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวว่าทั้งสองพรรคการเมืองไม่ได้เข้าหาผู้ใช้สิทธิที่เป็นชาวเอเชียนอเมริกันเท่าที่ควร เเต่ขณะนี้ก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวแล้ว

นักการเมืองอเมริกันเชื้อสายเอเชียได้รับเลือกให้เข้าสภาคองเกรสไปถึง 21 คนเมื่อปีที่ผ่านมา แม้ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีจำนวนประชากรที่คิดเป็นเพียงแค่ 6.1% ของประชากรสหรัฐฯ

พวกเขาได้สร้างประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่ง คือ การที่นักการเมืองเชื้อสายเอเชียได้รับเลือกให้เข้าสภาคองเกรสไปถึง 21 คนเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งนักการเมืองหญิงอเมริกันเชื้อสายเกาหลี มิเชล สตีลก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอเองก็สร้างประวัติศาสตร์โดยการเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรด้วย

SEE ALSO: มุมมองผู้ใช้สิทธิ์ครั้งแรกชาวไทย ในวันลงคะแนนเลือกตั้งสหรัฐฯ

ประธานและผู้อำนวยการสถาบัน Asian Pacific American Institute for Congressional Studies แมดดาลีน แมลค์ พูดว่า เธอเห็นเอเชียนอเมริกันมีบทบาทในการเลือกตั้งมากขึ้น และพอชื่อของคนเหล่านั้นอยู่บนบัตรเลือกตั้ง ชาวเอเชียนอเมริกันก็ออกมาใช้เสียงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สถาบัน Pew Research และ US Census ระบุว่า 71% ของเอเชียนอเมริกันวัยผู้ใหญ่นั้นไม่ได้เกิดในสหรัฐฯ

จูดี ชู อธิบายเสริมว่าคนบางส่วนของประชากรกลุ่มนี้เผชิญกับอุปสรรคในการใช้ภาษาอังกฤษ และไม่คุ้นเคยกับการใช้สิทธิเลือกตั้งที่เป็นรากฐานสำคัญในระบบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ เธอบอกอีกว่า อาจจะต้องใช้เวลาสำหรับบางคนในการปรับตัวและสร้างทัศนคติว่าเสียงของพวกเขามีความหมาย โดยเฉพาะคนที่มาจากประเทศที่อาจจะมีการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสหรือไม่มีการเลือกตั้งเลย