ปัญหาการจดทะเบียนแจ้งเกิดในไทยยังเป็นข้อจำกัดของแรงงานต่างชาติแม้จะเหลือเวลาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีกไม่นาน

  • Steve Herman

Your browser doesn’t support HTML5

หลายประเทศเอเชียเร่งแก้ปัญหาการจดทะเบียนแจ้งเกิด

หลายประเทศในประชาคมอาเซียนพยายามปรับปรุงระบบการจดทะเบียนการแจ้งเกิด-การเสียชีวิต และจดทะเบียนสมรสที่จะมีลักษณะเป็นสากลมากขึ้น

Your browser doesn’t support HTML5

Asia Registration

ทารกน้อยเพศหญิงชื่อ 'เอด้า' ที่เพิ่งลืมตาดูโลกจากคุณแม่ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรปราการ ดูเหมือนจะโชคดีกว่าเด็กต่างด้าวอีกหลายคน ที่ขั้นตอนจดทะเบียนแจ้งเกิด หรือจดสูติบัตร เอกสารสำคัญที่จะรับรองการเริ่มต้นมีชีวิตของเธอได้รับการดำเนินการในเวลาเพียงกี่ชั่วโมง

ซู ซู คุณแม่วัย 30 ปี แรงงานจากพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่า 7 ปี บอกว่า หลักฐานการแจ้งเกิดสำคัญมากสำหรับเธอและลูก เพราะถ้าไม่มีหลักฐานแจ้งเกิด ลูกๆ ของเธอก็จะสมัครเข้าโรงเรียนไม่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่เธอจะต้องได้รับสูติบัตรเพื่อยืนยันการเกิดของเด็กทารก

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ไทยมักไม่ค่อยกระตือรือร้นกับการออกใบรับรองการเกิดของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย แม้ว่ากฏหมายไทยจะระบุว่าทารกเกิดใหม่ในราชอาณาจักรไทยจะต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน และจะต้องได้รับหมายเลขบัตรประจำตัว

คุณนภัทร พิศาลบุตร เจ้าหน้าที่องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย บอกว่า ไม่ว่าเด็กจะเป็นคนไทยหรือไม่ใช่ก็ตาม ก็ควรจะได้รับการรับรองการแจ้งเกิดและจำเป็นต้องให้ความสำคัญว่าเด็กๆ ทุกคนต้องมีสิทธิในการแจ้งเกิด ขณะที่โรงพยาบาลก็ควรมีส่วนเข้าช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ชาวต่างด้าวที่อาจยังไม่เข้าใจภาษาไทยหรือขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ รวมทั้งรับทราบถึงความสำคัญของเอกสารรับรองการเกิด

แผนกสูตินารีแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ ดูเหมือนจะเป็นเพียงไม่กี่แห่งที่เตรียมพร้อมรับมือกับคุณแม่ชาวต่างด้าว ซึ่งแต่ละเดือนจะมีเด็กๆ มากกว่า 150 คน ที่แม้จะไม่ได้รับสัญชาติไทยแต่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ช่วยดำเนินการให้ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้รับการรับรองการเกิด

คุณศรีประไพ ไกลดอน (Sripapi Khlaidon) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ ช่วยอธิบายขั้นตอนการแจ้งเกิดของโรงพยาบาล

ผู้สื่อข่าววีโอเอ รายงานด้วยว่า 1 ใน 3 ของเด็กๆ ที่เกิดในประเทศไทยและมีคุณแม่เป็นชาวต่างด้าวที่มาจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา มักจะไม่ได้รับจดทะเบียนการเกิด ขณะที่บางครั้งยังถูกเลือกปฏิบัติ ไม่สนใจ หรือ แม้กระทั่งเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหน้าที่บางคน

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ประสบปัญหาในเรื่องนี้ หลายประเทศในเอเชีย เช่น เนปาล ปากีสถาน ก็มีสถิติการจดทะเบียนการเกิดที่ต่ำมากและส่งผลเสียต่อเด็กๆ ที่จะเติบโตในอนาคต