ภาคประชาสังคมอาเซียนชี้ไทยเป็นหนึ่งในตัวอย่างปัญหาสิทธิมนุษยชน

U.S. National Security Advisor Robert C. O’Brien and ASEAN foreign ministers and Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha attend 7th ASEAN-United States Summit in Bangkok, Thailand, November 4, 2019.

Your browser doesn’t support HTML5

ASEAN Human Rights

หลังจากที่การประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพฯ จบสิ้นลง ประเด็นการค้า และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ได้รับความสนใจตามคาด

แม้ ‘สิทธิมนุษยชน’ ยังคงเป็นเรื่องสำคัญในภูมิภาคนี้ แต่ถูกบดบังโดยประเด็นหลักๆ ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นเคย

องค์การสมาชิกสภานิติบัญญัติอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือ ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR) กล่าวว่ายังคงมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนมากมายในภูมิภาคนี้
APHR ยกตัวอย่าง อำนาจของทหารในประเทศไทย การกำจัดพรรคการเมืองฝ่ายค้านในกัมพูชา ไปจนถึง การกวาดล้างทางชาติพันธุ์ต่อชาวโรฮิงจะ ในเมียนมา และเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมคนจำนวนมากในฟิลิปปินส์ในช่วงการปราบปรามยาเสพติด

นายชาร์ลส์ ซานติอาโก ประธานของ APHR ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของมาเลเซีย กล่าวว่า ผู้นำประเทศอาเซียนบางประเทศ แม้มีเจตนาที่ดี แต่ก็ยังคงไม่เกิดพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นเพื่อการพูดคุยถึงการใช้อำนาจในทางที่ผิดในการกดขี่เสรีภาพของประชาชนในประเทศตน

แม้ว่าในทางทฤษฎี ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีการเลือกตั้ง แต่ผู้นำยังคงสร้างความยากลำบากให้กับประชาชนในการเเสดงความเห็นที่เเตกต่าง

สถานการณ์โลกที่เกิดระบอบประชานิยม ซึ่งเดินออกห่างจากเสรีประชาธิปไตยเรื่อยๆ ทั้งในอาเซียนและส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดผู้นำประเทศที่ขึงขังดุดัน และบางครั้งลดทอนพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนถึงขั้นทำให้ผู้ที่เห็นต่างอยู่ในอันตรายได้

นักวิเคราะห์กล่าวว่า อาเซียนยังคงเป็นสมาคมระหว่างประเทศที่หวังผลจากความร่วมมือในด้านที่เห็นความสำเร็จไม่ยาก เช่น การลดภาษีนำเข้าสินค้า แต่ไม่แตะเรื่องที่ละเอียดอ่อน เช่น การเมือง การต้านอำนาจจีนร่วมกัน และความกล้าวิจารณ์กันและกันในเรื่องสิทธิมนุษยชน

องค์การ APHR กล่าวว่า อาเซียนควรมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้การเลี่ยงปัญหาสิทธิมนุษยชน และประเด็นยากๆ อื่นๆ อาจกีดขวางความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคได้

นาย กษิต ภิรมย์ สมาชิกคณะกรรมการของ APHR และอดีตนักการเมืองไทย กล่าวว่า การสนับสนุนการปกครองเผด็จการที่กดขี่สิทธิและเสรีภาพของประชาชน จะไม่ทำให้อาเซียนเดินไปสู่สันติภาพและความรุ่งเรืองตามที่ประเทศสมาชิกหวังไว้

หลังการประชุมอาเซียนครั้งล่าสุด ซึ่งไม่มีการนำเรื่องสิทธิมนุษชน เป็นหัวข้อหลักในการเจรจาของเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรภาคประชาสังคม ประชุมร่วมกันเพื่อหารือในหัวข้อดังกล่าวแทน และในโอกาสนี้ APHR กล่าวถึงการที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้กฎหมายในการบั่นทอนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนในสังคมอย่างเสรี

องค์กรดังกล่าวยกตัวอย่างให้เห็นถึง การที่ทางการกัมพูชาจับกุมตัวสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน 50 ราย และบังคับให้คนเหล่านี้สารภาพว่าได้กระทำการผิดกฎหมาย

ส่วนในประเทศไทย APHR กล่าวย้อนไปถึงในตอนที่ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของทหารหลังการทำรัฐประหาร ที่มีการใช้กฎหมายห้ามขึ้นเวทีปราศรัยในที่สาธารณะ แม้ครั้งหนึ่งไทยเคยเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เบ่งบาน และผู้คนไม่เกรงกลัวที่จะประท้วงและท้าทายชนชั้นปกครอง