กลุ่มประชาสังคมอาเซียน ACSC และ APF วิจารณ์สมาคมอาเซียนว่าละเลยเสียงของประชาชน

  • Steve Herman

The Association of the Southeast Asian Nations (ASEAN) flag, right, leads the flags of the 10 member countries during the ASEAN Regional Forum meeting.

แกนนำกลุ่ม ACSC และ APF เตรียมร่วมแถลงข้อวิจารณ์อย่างรุนแรงต่อสมาคมอาเซียนในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 26

Your browser doesn’t support HTML5

Asean Right

บรรดาแกนนำของกลุ่มประชาสังคมอาเซียนและวาระประชาชน (ASEAN Civil Society Conference and People’s Forum) เตรียมร่วมแถลงข้อวิจารณ์อย่างรุนแรงต่อสมาคมอาเซียนในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 26 ที่จะจัดขึ้นในปลายเดือนนี้ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

Jerald Joseph left speaks at a briefing on the upcoming ASEAN peoples' forum while Sunsanee Sutthisunsanee, right, listens, April 2, 2015. (Steve Herman/VOA News)

แกนนำกลุ่ม ACSC และ APF นี้ เตรียมแจ้งแก่บรรดาผู้นำอาเซียนว่าข้อแนะนำต่างๆที่พวกตนเสนอแก่ทางสมาคมอาเซียนเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2548 ไม่เคยถูกนำไปใช้ในแนวทางที่เป็นประโยชน์ใดๆ เลย และชี้ว่านี่เป็นเพราะสมาคมอาเซียนให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของบริษัท กลุ่มชนชั้นนำในสังคม รวมทั้งรัฐวิสาหกิจมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนทั่วไป

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนาน 4 วันจะจัดที่เมืองหลวงของมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนนี้ ก่อนหน้าการประชุม ทางการมาเลเซียปล่อยตัวคนกว่า 100 คน รวมทั้งบรรดาผู้สื่อข่าวที่ถูกจับกุมในข้อหาสร้างความปั่นป่วนแก่บ้านเมืองตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

นักรณรงค์ชาวมาเลเซีย Jerald Joseph ประธานของกลุ่มวาระประชาชนอาเซียนกล่าวว่านายกรัฐมนตรี Najib Razak แห่งมาเลเซียต้องตอบคำถามสำคัญพื้นฐานข้อหนึ่งในฐานะผู้จัดการประชุม

เขากล่าวว่ามาเลเซียต้องตอบให้ได้ว่าตนจะเป็นประธานอาเซียนได้อย่างไรในขณะที่ปล่อยให้ทุกส่วนในสังคมตกอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เขาคิดว่านี่ถือเป็นการละเมิดต่อกฏของอาเซียนที่มุ่งเคารพต่อสิทธิ์ขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ

การประชุมผู้นำอาเซียนเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแค่เสือกระดาษเพราะสมาคมอาเซียนต้องยึดในนโยบายไม่แทรกแซงกิจการของประเทศสมาชิก แต่การประชุมของกลุ่มประชาสังคมอาเซียนที่จะจัดขึ้นนอกรอบ จะไม่ลังเลที่จะวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาถึงปัญหาที่กำลังคุกกรุ่น อาทิ การละเมิดสิทธิ์

ในเดือนนี้ กลุ่มประชาสังคมอาเซียนจะเรียกร้องต่อลาวเป็นการเฉพาะ ให้ชี้แจงกรณีการลักพาตัวนักรณรงค์ด้านสิทธิ์ชาวลาวคนสำคัญคนหนึ่งโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับทางการ

พวกเขาต้องการให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างเขื่อนหลายๆ เขื่อนบนแม่น้ำโขงและปัญหาการเอารัดเอาเปรียบคนต่างด้าวและผู้อพยพที่รุนแรงขึ้น นอกเหนือจากประเด็นอื่นๆ

ส่วนประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลทหารตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้วก็จะได้รับความสนใจอย่างมากเช่นกัน

บรรดานักรณรงค์ด้านสิทธิ์ในประเทศไทยตกอยู่ในสภาพที่ไม่แน่ใจตลอดเวลาว่าจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอะไรได้บ้างหรือจะทำอะไรได้บ้าง

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในกรุงเทพเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว คุณศันสนีย์ สุทธิศันสนีย์ ตัวแทนชาวไทยในวาระประชาชนแห่งอาเซียน กล่าวว่าบรรดานักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจะยึดในคำสัญญาของพลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ที่บอกว่าจะไม่ใช้อำนาจของตนซึ่งไร้การตรวจสอบในทางที่ผิด

ทางด้าน Human Rights Watch องค์กรสิทธิมนุษยนชนระหว่างประเทศได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยยกเลิกการบังคับใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เสียเพราะเป็นการชี้ชัดว่าไทยอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการ

นอกจากนี้กลุ่มประชาสังคมแห่งอาเซียนยังต้องการให้พม่า อยู่ภายใต้การตรวจสอบต่อไปในช่วงที่มีการใช้กำลังปราบปรามกลุ่มนักศึกษาและแสดงความไม่เป็นมิตรต่อบรรดาชนเผ่าต่างๆ มากขึ้น

บรรดาตัวแทนจากชาติต่างๆ ในวาระประชาชนแห่งอาเซียนชี้ว่าในขณะที่อาเซียนกำลังมุ่งสู่เป้าหมายของการผนึกตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค บรรดาชาติสมาชิกอาเซียนจำนวนมากยังคงริดรอนสิทธิมนุษยชนกันอยู่และยังเกี่ยวข้องกับการเมืองแบบถอยหลังเข้าคลอง