ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณให้สัมภาษณ์กับ VOA ว่าสมาคมอาเซียนสมควรได้รับคำชมในฐานะที่พยายามสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองในพม่าจนนำไปสู่การยกเลิกมาตรการลงโทษทางศก.ต่อพม่า
เมื่อคราวที่ผู้นำอาเซียนร่วมประชุมที่กรุงพนมเปญในเดือนเมษายน คำถามสำคัญในเวลานั้นคือเมื่อไรที่จะมีการยกเลิกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า เพราะผู้นำอาเซียนต่างเชื่อว่าพม่าสมควรได้รับรางวัลจากการปฏิรูปทางการเมือง จากนั้นประเทศตะวันตกต่างประกาศลด ระงับ หรือยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าเพื่อตอบสนองต่อคำเรียกร้องของอาเซียนในลักษณะที่แตกต่างกันไป
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันซึ่งจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในปลายปีนี้ ชี้ว่าสหรัฐและสหภาพยุโรปใช้วิธีที่ต่างกันในเรื่องนี้ คือยุโรปสั่งระงับมาตรการลงโทษพม่าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าสินค้าทุกอย่างสามารถผ่านเข้าพม่าได้ แต่ก็อาจนำมาตรการคว่ำบาตรนั้นกลับมาใช้ใหม่ได้ทันทีเช่นกัน ส่วนสหรัฐใช้วิธีผ่อนคลายทีละขั้นละตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทางอาเซียนยินดีต่อทั้ง 2 วิธี แต่ก็หวังว่ากระบวนการต่างๆจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่าการที่กระบวนการยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าเป็นไปอย่างเชื่องช้านั้นก่อให้เกิดความไม่พอใจอยู่บ้างในหมู่ผู้นำอาเซียน แต่ในที่สุดแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับและต้องเคารพการตัดสินใจของประเทศตะวันตก สำหรับตนเชื่อว่าอาเซียนเดินมาถูกทางแล้วและมั่นใจว่าจะไม่มีการนำมาตรการลงโทษพม่ากลับมาใช้อีกครั้ง
ทางด้านอาจารย์ Carlyle Thayer นักวิเคราะห์กิจการอาเซียนแห่งมหาวิทยาลัยรัฐ New South Wales ในออสเตรเลีย เชื่อว่าเหตุผลที่อาเซียนต้องการให้ยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าทั้งหมดในทันทีนั้น เพราะไม่ต้องการให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนถูกกีดกันหรือเลือกปฏิบัติในประชาคมโลก
อาจารย์ Carlyle Thayer ระบุด้วยว่าปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการต่างๆเป็นไปอย่างล่าช้า ก็เพราะการยกเลิกมาตรการลงโทษนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการกำหนดใช้มาตรการลงโทษในตอนแรก เนื่องจากการยกเลิกมาตรการลงโทษต้องได้รับมติเป็นเอกฉันทน์เช่นในสหภาพยุโรป ดังนั้นการใช้วิธีระงับการลงโทษไว้ก่อนจึงเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าการยกเลิกทั้งหมด
ในขณะเดียวกัน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ระบุว่าขณะนี้บรรดาผู้นำในอาเซียนต่างมุ่งมองไปที่ปี พ.ศ 2557 ซึ่งเป็นปีที่พม่าจะก้าวขึ้นเป็นประธานอาเซียน ดร.สุรินทร์กล่าวว่าหากพม่าต้องการเป็นประธานอาเซียนซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีรับผิดชอบสูง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี พม่าก็ต้องดำเนินการหลายอย่างดังที่ประเทศสมาชิกอื่นๆได้ทำมาแล้ว ซึ่งอาเซียนเองก็จะให้ความช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน เพื่อรับประกันว่าวาระการเป็นประธานอาเซียนของพม่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น เห็นว่าปี พ.ศ 2557 จะเป็นปีที่สำคัญอีกปีหนึ่งสำหรับพม่าและสมาคมอาเซียน เนื่องจากปีถัดไปคือปี พ.ศ 2558 จะเป็นปีที่พม่าจัดการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ การทำงานในตำแหน่งประธานอาเซียนจึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะพิสูจน์ว่าพม่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่
ส่วนทางสมาคมอาเซียนเองก็กระหายที่จะพิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นว่า พม่าสามารถดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนได้อย่างราบรื่นไร้อุปสรรค ซึ่งนั่นทำให้เกิดความกังวลว่าในที่สุดแล้วอาเซียนอาจมองข้ามหรือละเลยประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าไปได้
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันซึ่งจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในปลายปีนี้ ชี้ว่าสหรัฐและสหภาพยุโรปใช้วิธีที่ต่างกันในเรื่องนี้ คือยุโรปสั่งระงับมาตรการลงโทษพม่าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าสินค้าทุกอย่างสามารถผ่านเข้าพม่าได้ แต่ก็อาจนำมาตรการคว่ำบาตรนั้นกลับมาใช้ใหม่ได้ทันทีเช่นกัน ส่วนสหรัฐใช้วิธีผ่อนคลายทีละขั้นละตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทางอาเซียนยินดีต่อทั้ง 2 วิธี แต่ก็หวังว่ากระบวนการต่างๆจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่าการที่กระบวนการยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าเป็นไปอย่างเชื่องช้านั้นก่อให้เกิดความไม่พอใจอยู่บ้างในหมู่ผู้นำอาเซียน แต่ในที่สุดแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับและต้องเคารพการตัดสินใจของประเทศตะวันตก สำหรับตนเชื่อว่าอาเซียนเดินมาถูกทางแล้วและมั่นใจว่าจะไม่มีการนำมาตรการลงโทษพม่ากลับมาใช้อีกครั้ง
ทางด้านอาจารย์ Carlyle Thayer นักวิเคราะห์กิจการอาเซียนแห่งมหาวิทยาลัยรัฐ New South Wales ในออสเตรเลีย เชื่อว่าเหตุผลที่อาเซียนต้องการให้ยกเลิกมาตรการลงโทษพม่าทั้งหมดในทันทีนั้น เพราะไม่ต้องการให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนถูกกีดกันหรือเลือกปฏิบัติในประชาคมโลก
อาจารย์ Carlyle Thayer ระบุด้วยว่าปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้กระบวนการต่างๆเป็นไปอย่างล่าช้า ก็เพราะการยกเลิกมาตรการลงโทษนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการกำหนดใช้มาตรการลงโทษในตอนแรก เนื่องจากการยกเลิกมาตรการลงโทษต้องได้รับมติเป็นเอกฉันทน์เช่นในสหภาพยุโรป ดังนั้นการใช้วิธีระงับการลงโทษไว้ก่อนจึงเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าการยกเลิกทั้งหมด
ในขณะเดียวกัน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ระบุว่าขณะนี้บรรดาผู้นำในอาเซียนต่างมุ่งมองไปที่ปี พ.ศ 2557 ซึ่งเป็นปีที่พม่าจะก้าวขึ้นเป็นประธานอาเซียน ดร.สุรินทร์กล่าวว่าหากพม่าต้องการเป็นประธานอาเซียนซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีรับผิดชอบสูง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี พม่าก็ต้องดำเนินการหลายอย่างดังที่ประเทศสมาชิกอื่นๆได้ทำมาแล้ว ซึ่งอาเซียนเองก็จะให้ความช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน เพื่อรับประกันว่าวาระการเป็นประธานอาเซียนของพม่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น เห็นว่าปี พ.ศ 2557 จะเป็นปีที่สำคัญอีกปีหนึ่งสำหรับพม่าและสมาคมอาเซียน เนื่องจากปีถัดไปคือปี พ.ศ 2558 จะเป็นปีที่พม่าจัดการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ การทำงานในตำแหน่งประธานอาเซียนจึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะพิสูจน์ว่าพม่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่
ส่วนทางสมาคมอาเซียนเองก็กระหายที่จะพิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นว่า พม่าสามารถดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนได้อย่างราบรื่นไร้อุปสรรค ซึ่งนั่นทำให้เกิดความกังวลว่าในที่สุดแล้วอาเซียนอาจมองข้ามหรือละเลยประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าไปได้