นักวิทยาศาสตร์ กำลังมองหาทางที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศ เพื่อให้มีน้ำมาใช้มากขึ้น

  • ธัญญาภรณ์ สุนทรวงษ์

Villagers water trees on a volunteer work day.

เราต้องการน้ำมาก เราใช้น้ำปลูกธัญญพืชเพื่อนำมาเป็นอาหาร ใช้ชำระล้างร่างกาย และสำหรับใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตามเขื่อนสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังน้ำเสียด้วยซ้ำไป

เราต้องการน้ำมาก เราใช้น้ำปลูกธัญญพืชเพื่อนำมาเป็นอาหาร ใช้ชำระล้างร่างกาย และสำหรับใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตามเขื่อนสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังน้ำเสียด้วยซ้ำไป

แต่ทว่าพื้นที่บางแห่งมีน้ำไม่พอใช้ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์และบริษัทพลังงานต่างๆ กำลังมองหาทางที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศ เพื่อให้มีน้ำมาใช้มากขึ้น วิธีการดังกล่าวใช้กันตามเขตบางส่วนของสหรัฐ ถึงแม้ว่าความสำเร็จของวิธีการดังกล่าว ยังมองเห็นไม่ได้แน่ชัดก็ตาม

ในการเดินทางผ่านภูมิประเทศที่ทุรกันดาร ของย่านเบอร์นีย์ ฟอลสในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปกับคุณ พอล โมเรโน ผู้แถลงข่าวคนหนึ่งของบริษัท Pacific Gas and Electric ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานใหญ่เหลือเกินบริษัทหนึ่ง ในสหรัฐนั้น คุณ พอล โมเรโนเล่าว่า บริษัทที่เขาทำงานอยู่นี้ ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศในพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกลความเจิญแห่งนี้ โดยใช้วิธีเร่งเมฆให้กลายเป็นฝน

ในทุกวันนี้รัฐราว 12 รัฐ ซึ่งส่วนมากอยู่ทางภาคตะวันตก และกึ่งตะวันตกของสหรัฐใช้วิธีการดังกล่าว

คุณ พอล โมเรโน ชี้ให้ดูกล่องโลหะกล่องหนึ่งพร้อมกับกล่าวว่า “เรากำลังมองดูเครื่องเร่งเมฆ ให้กลายเป็นฝน เครื่องมือที่ว่านี้ ตั้งอยู่บนแท่นเหล็กกล้าสูงจากพื้นดินราว 12 ฟุต และส่วนประกอบที่อยู่ภายในกล่อง ก็คือถังบรรจุสารผสมเงินไอโอไดด เขาจะฉีดสารผสมที่ว่านี้ เหมือนอย่างกับเราฉีดน้ำหอมออกจากขวดที่มีที่ฉีด”

เครื่องมือดังกล่าว จะฉีดสารผสมเงินไอโอไดดที่ร้อนขึ้นไปในอากาศ แล้วจะทำหน้าคล้ายกับเป็นแม่เหล็ก ดูดติดกับอนุภาคที่เป็นน้ำแข็งจนกระทั่งหิมะก่อตัว ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะยิ่งมีหิมะมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีน้ำมากขึ้นเท่านั้น และการมีน้ำมากขึ้นก็หมายถึงว่าบริษัท Pacific Gas and Electricจะได้พลังงาน สำหรับโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำมากขึ้นนั่นเอง นั่นเป็นภาคทฤษฎี

แต่ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีดังกล่าว ใช้งานได้ผลดี

กล่าวโดยทั่วไปแล้วคุณแบรนท์ ฟุต ผู้อำนวยการของห้องปฎิบัติวิจัยประยุกต์ แห่งศูนย์เพื่อการวิจัยบรรยากาศแห่งชาติ ผู้ศึกษาค้นคว้า เรื่องการเร่งเมฆให้กลายเป็นฝนมาหลายสิบปีนั้น คิดว่า วิธีการข้างต้นมิได้ก่อให้เกิดพิษภัยอะไร แต่

เขาไม่แน่ใจว่าการเร่งเมฆให้กลายเป็นฝนได้ผลจริงๆ คนบางส่วนไม่ชอบวิธีการดังกล่าว ไม่ว่าวิธีดังกล่าวจะได้ผลหรือไม่ เพราะเห็นว่าคนเราไม่ควรจะไปยุ่งกับภาวะธรรมชาติ พวกเขาคิดว่าควรพยายามเพิ่มความเพียรพยายาม ในด้านการสงวนน้ำจะเข้าท่ากว่า

แต่ทั้งๆ ที่มีความวิตกกังวลกันว่าวิธีการเร่งเมฆให้กลายเป็นฝน เป็นวิธีการที่ดีหรือได้ผลหรือไม่ก็ตาม บางรัฐนำเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนมาสนับสนุน วิทยาศาสตร์เป็นจำนวนล้านๆ เหรียญสหรัฐ และบริษัทพลังงานอย่างเช่น Pacific Gas and Electricทุ่มเงินรายได้ที่เก็บจากผู้ใช้ก๊าซ และกระแสไฟฟ้านับล้านๆ เหรียญสหรัฐ ให้กับโครงการเร่งเมฆให้กลายเป็นฝนดังกล่าวในสหรัฐ

มูลนิธิพาร์กและมูลนิธิเกย์หลอดและโดโรธี ดอนเนลลีย์สนับสนุนรายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้ ท่านจะรับฟังรายงานนี้เพิ่มเติม และบอกรับเป็นสมาชิกรับฟังรายงานประจำวันดังกล่าวนี้ ได้ที่ environment report dot org