การศึกษาการละลายแผ่นน้ำแข็งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ช่วยนักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ทางสภาะวอากาศในอนาคต

  • Rosanne Skirble
ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สองชิ้นที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วนี้ในวารสาร Nature Geoscience อธิบายลักษณะการละลายของแผ่นน้ำแข็งจุดต่างๆในอดีต
แอนเดอร์ส คาร์ลสัน นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย University of Wisconsin ศึกษาเรื่องการละลายของแผ่นน้ำแข็งจากการวิเคราะห์ตัวอย่างก้อนน้ำแข็งที่มีการสะสมของตะกอนจากแผ่นน้ำแข็งในทะเลและจากแผ่นน้ำแข็งที่อยู่บนพื้นดิน ผลการศึกษาของเขาช่วยให้อธิบายได้ว่าโลกยุคก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปเหนือหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อหนึ่งแสนสี่หมื่นปีที่แล้ว

คาร์ลสัน นักธรณีวิทยาอเมริกันกล่าวว่าผลการศึกษาพบว่าน้ำแข็งที่ตั้งอยู่บนพื้นดินมีปฏิกริยาตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสภาวะอากาศที่อุ่นขึ้น แต่จะไม่ละลายอย่างรวดเร็ว ก้อนน้ำเเข็งบนพื้นดินของโลกจะค่อยละลายอย่างช้าๆ คล้ายกับก้อนน้ำแข็งที่ถูกเครื่องเป่าผมเป่าลมร้อนเข้าใส่ ในขณะที่แผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่บนมหาสมุทรกลับมีปฏิกริยาต่อความร้อนแตกต่างออกไปและไม่สามารถคาดการณ์ได้ เขาบอกว่าแผ่นน้ำแข็งในทะเลอาจจะไม่แสดงอาการใดๆทันทีต่ออุณหภูมิของโลกที่อุ่นขึ้น แต่พอถึงจุดหนึ่งจะเห็นปฏิกริยาตอบสนองอย่างไม่คาดคิดมาก่อนและอาจจะละลายหายไปอย่างรวดเร็ว

กรีนแลนด์กับแอนตาร์กติกาเป็นจุดที่ตั้งของแผ่นน้ำแข็งสองจุดสุดท้ายของโลก ในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมชี้ว่าราว 97 เปอร์เซ็นต์ของผิวหน้าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายภายในเวลาสี่วัน เป็นอัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งที่เร็วกว่าอัตราที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ คุณคาร์สันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าอาจะเป็นเพราะแผ่นน้ำแข็งตอบสนองรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก คล้ายกับที่พบในการละลายของแผ่นน้ำแข็งที่ตั้งอยู่บนพื้นดินในยุคก่อนประวัติศาสตร์

นักธรณีวิทยาอเมริกันกล่าวอีกว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แม้แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะละลายอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ถึงกับล่มสลายหายไป ในขณะที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาซึ่งเป็นแผ่นน้ำแข็งที่ตั้งอยู่บนน้ำทะเลกลับมีปฏิกริยาที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถคาดเดาได้แม่นยำ

ในรายงานชิ้นที่สองที่ตีพิมพ์ในวารสาร์ Nature Geoscience เป็นการศึกษาอดีตเมื่อ 12,000 ปีถึง 7,000 ปีที่แล้ว ตอนที่แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ยังปกคลุมพื้นที่ลาติจูดสูงในทางพื้นที่ของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิของโลกในตอนนั้นยังพอใกล้เคียงกับอุณหภูมิของโลกในปัจจุบันและเกิดการละลายของแผ่นน้ำแข็งเช่นเดียวกัน

การศึกษาชิ้นดังกล่าวอธิบายถึงการเพิ่มของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วจากหนึ่งเมตรครึ่งเป็นสองเมตร เป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของแผ่นน้ำแข็ง ทอบียอน ทอนควิส นักวิทยาศาสตร์โลกที่ Tulane University ในหลุยส์เซียน่า เป็นผู้ร่วมร่างผลการศึกษานี้

คุณทอนควิส บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าระบบการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรจะเปลี่ยนแปลงไปหากเราสูบน้ำจืดปริมาณมหาศาลลงไปในทะเล เขาชี้ว่าในปัจจุบัน น้ำจืดปริมาณมหาศาลจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินได้ลงไปสูงทะเลแอตแลนติกเหนือทำให้สิ่งแวดล้อมของทะเลเปลี่ยนแปลงไป

นี่อาจมีผลให้เกิดภาวะฝนตกมากขึ้นในพื้นที่และทำให้น้ำทะลสูงขึ้นอีก เขาคิดว่าจำเป็นมากที่ต้องทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์สภาวะอากาศผันผวนของโลกหรือไม่เพราะความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้มนุษย์สามารถคาดเดาและเตรียมตัวรับมือกับภัยธรรมชาติในอนาคตได้ดีขึ้น