นักวิทยาศาสตร์อเมริกันพัฒนา 'เมล็ดพืชอัจฉริยะ' ให้ผลผลิตสูงและอุดมด้วยสารอาหาร

  • Margaret Besheer

Scientists are creating smarter seeds with more nutrients to help fight world hunger.

Your browser doesn’t support HTML5

เมล็ดพืชอัจฉริยะให้ผลผลิตอุดมด้วยสารอาหาร

การคิดค้นกระบวนการที่ทำให้พืชมีสารอาหารบางอย่างมากขึ้นกว่าเดิม เรียกว่า กระบวนการไบโอฟอร์ทิฟิเคชั่น (biofortification) ซึ่งฟังเเล้วซับซ้อน แต่จริงๆ เเล้วเป็นแนวคิดอย่างง่ายที่มุ่งคิดค้นเมล็ดพืชที่ดีกว่าเดิมเพราะจะโตเป็นพืชอาหารหลักที่ให้สารอาหารมากขึ้นกว่าเดิม

Bev Postma ซีอีโอแห่งหน่วยงานไม่หวังผลกำไร HarvestPlus ในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้คิดค้นเมล็ดพืชอัจฉริยะนี้ กล่าวว่า เมล็ดพืชที่ได้รับการเพิ่มปริมาณสารอาหารจะเต็มไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และวิตามินเอ

เธอกล่าวว่ามีความสำคัญมากที่เมล็ดพืชเหล่านี้ไม่เพียงเเค่มีปริมาณสารอาหารสูงเท่านั้น เเต่ยังให้ผลผลิตสูงอีกด้วย มีความทนทานต่อศัตรูพืช ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพืชที่ชาวนาต้องการ

การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ ล้มป่วยหรือติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น และในบางกรณี อาจทำให้สูญเสียสายตาและเเคระเเกร็น

Vitamin A Maize Corn from HarvestPlus

คุณ Postma ซีอีโอแห่งหน่วยงานไม่หวังผลกำไร HarvestPlus กล่าวว่า ผลกระทบต่อร่างกายเหล่านี้เป็นผลเสียจากความอดอยากที่มองไม่เห็น และมีคนทั่วโลก 2 พันล้านคนที่เสี่ยงต่อผลกระทบร้ายเเรงนี้

ในขณะที่มีคนเสียชีวิตทั่วโลกปีละ 450,000 คน เนื่องจากภาวะขาดอาหารและทุพโภชนาการ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานไม่หวังผลกำไร HarvestPlus ได้คิดค้นเมล็ดพันธุ์เสริมสารอาหารของพืชอาหารหลัก 12 ชนิด ออกมาได้แล้ว 150 พันธุ์ ซึ่งมีทั้งข้าวโพด ถั่ว ข้าว ถั่วเลนทิล และข้าวสาลี

ทางหน่วยงานได้ตั้งโครงการเเจกจ่ายเมล็ดพืชอัจฉริยะตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2003 เเละได้เเจกจ่ายเเก่คนในประเทศยากจน 30 ชาติ รวมเเล้วราว 20 ล้านคน เเละตั้งเป้าว่าจะเเจกจ่ายแก่คนได้ถึงหนึ่งพันล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า

Postma ซีอีโอแห่งหน่วยงานไม่หวังผลกำไร HarvestPlus กล่าวว่า ทางหน่วยงานไม่ได้มุ่งปรับเปลี่ยนนิสัยการกินของคน เพียงเเต่ปรับปรุงให้อาหารหลักที่คนกิน มีคุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

เมล็ดพืชที่ผ่านกระบวนการเพิ่มสารอาหารนี้จะถูกเพาะปลูกตามแนวทางการเกษตรแบบดั้งเดิม และเเตกต่างจากพืชตกเเต่งพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็มโอ

หน่วยงาน HarvestPlus เเจกจ่ายเมล็ดพืชผ่านบริษัทเมล็ดพันธุ์พืช และบางครั้งจะเเจกจ่ายเมล็ดพืชแก่ชาวนาโดยตรง ทางหน่วยงานได้เรียนรู้ว่าในบางประเทศ หากนำเมล็ดพืชไปแจกจ่าย นอกจากจะกระตุ้นให้ชาวนานำเมล็ดไปปลูกเเล้ว ยังบอกให้ชาวนาเเจกจ่ายเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวในปีต่อไปให้เเก่ชาวนารายใหม่ต่อไปอีก 4 ราย

Postma ซีอีโอแห่งหน่วยงานไม่หวังผลกำไร HarvestPlus กล่าวว่า ในที่สุดพืชเสริมสารอาหารจะกลายเป็นทางออกแก่ปัญหาสุขภาพของคนผ่านการเกษตรกรรม

(รายงานโดย Margaret Besheer ที่นิวยอร์ก / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว )