Your browser doesn’t support HTML5
สถาบันศึกษาด้านแนวคิดสุดโต่งและความเกลียดชังของมหาวิทยาลัย California State University ที่เมืองซานเบอร์นาดีโน ชี้ว่า อาชญากรรมที่มีสาเหตุจากความเกลียดชังด้านเชื้อชาติในเมืองใหญ่ๆถึง 16 แห่งทั่วสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง 164 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสเเรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ในช่วงสามเดือนเเรกของปี จำนวนของรายงานเหตุอาชกรรมประเภทดังกล่าวได้ไต่ขึ้นมาจาก 36 กรณีเป็น 95 กรณีเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยนครนิวยอร์กและลอสแองเจอลิสนำหน้าเมื่องอื่นๆ ในอเมริกา
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนจึงลงนามในร่างกฎหมาย COVID-19 Hate Crimes Act เพื่อต่อต้านอาชญากรรมจากความเกลียดชังในสัปดาห์ที่ผ่านมา รายละเอียดสำคัญ คือ การเร่งให้เจ้าหน้าที่ในกระทรวงยุติธรรมสืบสวนอาชกรรมประเภทดังกล่าว และ การเพิ่มงบประมาณเพื่อจัดการฝึกอบรมเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ
การทำร้ายคนเอเชียมีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว
แต่อดีตนักการเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นชาวเวียดนามที่มาตั้งรกรากในสหรัฐฯ อย่าง ไทเลอร์ ดีย็อบ แสดงความคิดเห็นผ่าน วีโอเอ ว่า เขาไม่คิดว่ามันเป็นอะไรที่แปลกใหม่เลยสำหรับการเหยียดคนเอเชีย
สิ่งที่แปลกใหม่คือ การที่สังคมอเมริกันและสื่อยักษ์ใหญ่ในประเทศเลือกที่จะพูดถึงเหตุการณ์ประเภทนี้ มากขึ้น
นักการเมืองคนนึ้อธิบายต่อว่า การเหยียดคนเอเชียเกิดขึ้นเสมอ บางครั้งก็รุนแรง บางครั้งก็ไม่มีใครสนใจ
เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นและกล้องวงจรปิดต่างๆ ช่วยทำให้คนสามารถเหตุถึงการทำร้ายคนเอเชียได้ ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณนครนิวยอร์กและซานฟรานซินโกได้ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว
สาเหตุหลักที่คนรายงานอาชกรรมจากควาเกลียดชังมากขึ้น
ทั้งนี้ เหตุคุกคามคนเอเชียหลายๆครั้งที่ถูกโพสต์ลงบนโลกโชเชียลหรือออกอากาศในโทรทัศน์ ทำให้เอเชียนอเมริกันบางส่วนกล้าที่จะพูดถึงการกระทำชนิดนี้ที่เกิดขึ้นกับตนเองมาหลายปี
องค์กรต่อสู้เพื่อยุติความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก หรือ STOP AAPI Hate ระบุว่า ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ เอเชียนอเมริกันในสหรัฐฯ ได้เสนอรายงานถึงเหตุถูกคุกคามต่อประชากรกลุ่มนี้มากถึง 6,600 ครั้ง เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆบนเว็บไซต์ขององค์กรดังกล่าว
รายงานล่าสุดของ STOP AAPI Hate ในเดือนนี้พบว่า ผู้เเจ้งเหตุเป็นคนอเมริกันเชื้อสายจีนถึง 44 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นคนที่มีเชื้อสายเกาหลี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งยังเป็นสตรีอีกด้วย
การคุกคามด้านวาจาได้รับการแจ้งเหตุมากที่สุดถึง 65 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การแสดงความรังเกียจ เกิดขึ้นประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และ ท้ายสุด คือ การทำร้ายร่างกาย ซึ่งคนเอเชียตกเป็นเหยื่อถึง 12 เปอร์เซ็นต์
อาจารย์ รัสเซล จียัง ของมหาวิทยาลัย San Francisco State และ ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร Stop AAPI Hate กล่าวว่า เขาไม่ใจแน่ว่าคนเอเชียถูกคุกคามเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่สิ่งแน่เห็นได้ชัด คือ การคุกคามนั้นแพร่หลายมาก
อาจารย์จียัง อธิบายต่อว่า ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด คนอเมริกันประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักจึงมีความโกรธแค้นและต้องกาารหาแพะรับบาป ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนเลือกที่จะโทษคนจีน คนเชื้อสายเอเชียเชื้อชาติอื่นๆในอเมริกันจึงถูกเหมารวมและตกเป็นเป้า
อดีตที่ปรึกษาสำนักงานอัยการเขตของรัฐแคลิฟอร์เนีย เทียน โฮ บอกว่า ชุมชนเอเชียหลายแห่งในสหรัฐฯยังคงเลือกที่จะไม่รายงานเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดอาชกรรมจากความเกลียดชังขึ้น เพราะ คนเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล
ทั้งนี้ เทียน โฮ ย้ำว่า ถึงแม้การพูดจาด่าทอด้านเชื้อชาติต่อคนเอเชียบางครั้งอาจจะไม่ถึงขั้นว่าเป็นอาชกรรมการเกลียดชัง ผู้ถูกกระทำก็ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายจะได้เห็นถึงประวัติของคนที่ไปคุกคามคนเอเชียว่าเคยมีพฤติกรรมแนวนี้มาก่อน ซึ่งสามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ตัดสินได้ว่าอาชกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบทั่วไป หรือ เป็นการเหยีดเชื้อชาติ
สภาพแวดลล้อมที่ทำคนเอเชียตกเป็นเป้า
ในงานวิจัยถึงอาชกรรมความเกลียดชังต่อคนกลุ่มน้อยชิ้นล่าสุดของอาจารย์ เล็นนิ่ง ฉาง จากมหาวิทยาลัย St. Francis ในรัฐเพนซิลวาเนียที่ศึกษา ข้อมูลชี้ว่า คนเอเชียนอเมริกันมีโอกาสถูกคุกคามโดยคนที่ไม่ใช่คนผิวขาวมากกว่าคนกลุ่มน้อยประเภทอื่น เช่น กลุ่มคนดำ หรือ กลุ่มคนที่มีเชื้อสายฮิสแปนิก
ส่วนองค์กร Stop AAPI Hate เจาะลึกถึงประเด็นนี้ว่าคนเอเชียนอเมริกันที่มีรายได้น้อยนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในชุมชนที่มีอัตราการอาชกรรมสูง ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้คนเอเชียนอเมริกันนี้ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายกว่าคนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น
การแก้ปัญหา Hate Crimes
สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องอาชกรรมจากความเกลียดขัง อาจารย์จียังคิดว่ากฎหมายใหม่ๆที่รัฐบาลออกมาถือเป็นก้าวแรกที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะให้การศึกษาเพื่อเปลี่ยนทัศนคติคที่เหมารวมว่าคนเอเชียในสหรัฐฯเป็นคนต่างชาติ
แต่อดีตนักการเมือง ไทเลอร์ ดีย็อบ ทิ้งท้ายว่า รัฐบาลชุดไหนก็ไม่สามารถกำจัดความเกลียดชังได้ เพราะความคิดและความวิตกกังวลของคนไม่สามารถถูกควบคุมผ่านกฏหมายได้ ดังนั้น สิ่งที่เขาเห็นว่ามีประสิทธิภาพมากในการลด Hate Crimes ที่สุด คือ การเปิดโปงพฤติกรรมการคุมคนเอเชียในที่สาธารณะและโชเชียลมีเดีย