ความคิดเห็นของบรรดาผู้บริหารของอุตสาหกรรมพลาสติก เกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกกำลังเติบโต โดยที่จีน และอินเดียกำลังท้าทายประเทศผู้ผลิตพลาสติกที่โลกยอมรับกันอย่างเช่นประเทศไทย ขณะนี้เรื่องผลกระทบที่พลาสติก มีต่อสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเรื่องที่สนใจกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้สื่อข่าว วอยซ ออฟ อเมริกา รอน คอร์เบ้น (Ron Corben) รายงานจากกรุงเทพมหานครว่า นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้บริหารของอุตสาหกรรมพลาสติกเห็นพ้องกันว่า พลาสติกแบบที่สลายตัวได้ โดยกระบวนการชีวภาพนั้น จะต้องมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในวงการอุตสาหกรรมพลาสติกในอนาคต

อุตสหกรรมพลาสติกในเอเชียกำลังขยายตัวครั้งใหม่ ทั้งนี้เพราะมีอุปสงค์ในเมืองจีนและอินเดียเป็นเครื่องกระตุ้น ขณะที่ผู้บริโภค และผู้ผลิตพลาสติกมองเห็นว่า พลาสติกนั้นใช้ทำถุงใส่ของตามร้านค้าเรื่อยไป จนถึงการเป็นชิ้นส่วนที่ทันสมัยสำหรับใช้ทางวิศวกรรม

พลาสติกที่ซื้อขายกันในตลาดโลก มีจำนวนราวสองร้อยล้านตัน และขยายตัวปีละห้าเปอร์เซ็นต์ ทางประเทศไทยนั้น ขยะที่เป็นของแข็ง ซึ่งมีจำนวนปีละสิบสี่ล้านตันนั้น เป็นขยะพลาสติกแบบที่ไม่สลายตัวได้ โดยกระบวนการทางชีวภาพเสียราวๆสองล้านตัน

สมัยก่อนคนมองเห็นกันว่า พลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ทำถุง และห่อของแทนกระดาษหรือใช้แทนใบตองได้ในบางภูมิภาคในเอเชีย แต่นักกิจกรรมของกลุ่มกรีนพีซ อย่างเช่นคุณพลาย ภิรมย์กล่าวว่า คนเริ่มตระหนักทีละน้อยว่า พลาสติกมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ขณะนี้ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตวัสดุสำหรับทำพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูปรายใหญ่ในเอเชีย สมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทยมีจำนวนห้าร้อยบริษัท

เมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยส่งออกพลาสติก เป็นมูลค่าสองพันสามร้อยเจ็ดสิบล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าสูงติดอันดับต้นๆ ในหมู่ประเทศผู้ส่งออกภาคอุตสาหกรรมชั้นนำสิบราย ตลาดสำคัญๆ ที่ประเทศไทยส่งพลาสติกไปจำหน่ายได้แก่ญี่ปุ่น สหรัฐ ออสเตรเลียและออสเตรเลีย

ตอนนี้ การผลิตพลาสติกในเอเชีย กำลังมีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้เพราะจีนและอินเดียกำลังเป็นที่มองเห็นกันว่า เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าทำด้วยพลาสติกปีละหลายล้านตัน

แต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม มองเห็นแล้วว่าพลาสติกกระทบกระเทือนสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน เรียกร้องให้หาทรัพยากร ที่ยั่งยืนมาใช้แทนและให้ดำเนินงานลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

คุณเกรียงลิตแห่งสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย กล่าวว่าพลาสติกที่สลายตัวได้โดยกระบวนการทางชีวภาพ หรือไบโอ-พลาสติกคือสิ่งที่อุตสาหกรรมพลาสติก มุ่งหมายจะผลิตออกมาในอนาคต และว่าไบโอ-พลาสติกที่ว่านี้ควรจะเป็นไบโอ-พลาสติกร้อยเปอร์เซ็นต์เต็มในอนาคต เขากล่าวว่า ตอนนี้จะเอาไบโอ-พลาสติกผสมกับพลาสติกธรรมดา ครึ่งต่อครึ่งซึ่งจะทำให้สลายตัวได้โดยกระบวนการทางชีวภาพ แต่ไม่เร็วเหมือนไบโอ-พาสติกแท้

เป็นที่มองเห็นกันว่า การใช้ไบโอ-พลาสติกกำลังจะแพร่หลายออกไป ขณะนี้มีการใช้ไบโอ-พลาสติกในการห่อของ ตามเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และการเกษตร

ที่เมืองฟูราโน ประเทศญี่ปุ่น ชุมชนเอาขยะอินทรีย์ใส่ถุงไบโอ-พลาสติก ซึ่งจะทำให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาในที่สุด ขณะนี้ชุมชนเจ็ดร้อยสามสิบครัวเรือน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือนั้น กำลังทำโครงการนำร่อง ซึ่งใช้ไบโอ-พลาสติกในการจัดการเกี่ยวกับขยะ

คุณเกรียงลิตแห่งสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทยกล่าวไว้ตอนนี้ว่า “ไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร อย่างเช่นข้าวโพด มันสำปะหลัง และน้ำตาล ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตุดิบ ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยและส่งออก เมื่อเทคโนโลยีสมบูรณ์พอ ที่เราจะนำมาใช้ได้ประเทศไทย ก็จะเป็นผู้ส่งออกสู่ตลาดทั่วโลกที่เข้มแข็งในอนาคต”

ส่วนคุณแดเนียล โลห์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ ซึ่งชำนาญด้านพลาสติกของ BASF ที่สิงค์โปร์กล่าวว่าเรื่องที่ท้าทายอยู่ในอนาคต ก็คือการทำให้มั่นใจได้ว่าชุมชนทุกแห่ง เข้าร่วมในการถกอภิปรายเกี่ยวกับไบโอ-พลาสติก

เขากล่าวไว้ตอนนี้ว่า “ถ้าไม่มีวิธีการเก็บขยะ และไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน และถ้าผู้บริโภคมีนิสัยชอบทิ้งพลาสติกไม่เลือกที่ ก็จะไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เรื่องเหล่านี้ คือเรื่องที่จะท้าทายเราอยู่”

คุณแดเนียล โลห์ กล่าวด้วยว่า ประเทศทางเอเชีย ที่กำลังตระหนักเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกและการจัดการกับขยะแบบนั้นมากยิ่งขึ้น รวมถึงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์และมาเลเซีย แต่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียว ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากที่สุด