ทนายความหลายพันคนในกรุงอิสลามาบัด เดินขบวนเรียกร้องรัฐบาล

ที่ปากีสถาน บรรดานักกฏหมายและทนายความหลายพันคนเริ่มต้นเดินขบวนระยะทางมาราธอนที่เรียกว่า Long March แล้วเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนำทีมผู้พิพากษา และอัยการชุดเดิมที่ถูกประธานาธิบดีเปเวซ มูชาราฟขับไล่ออกจากตำแหน่งเมื่อปีที่แล้วมาดำรงตำแหน่งตามเดิม และยังต้องการให้ประธานาธิบดีมูชาราฟลาออกจากตำแหน่งด้วย

ทนายความทั่วปากีสถานก็เริ่มการเดินขบวนระยะทางมาราธอนตามที่ขู่เอาไว้แล้ว โดยเริ่มต้นที่ คาราจี โบโลจิสถาน ผ่านเข้ามูลตานและคาดว่าจะมาถึงกรุงอิสลบามบัดราวๆ ปลายสัปดาห์นี้ เพื่อทวงสัญญาที่พรรคร่วมรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ที่นำโดยพรรคเพื่อประชาชนปากีสถาน ที่ทำไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าจะกอบกู้ฐานันดรของระบบยุติธรรมของประเทศและนำทีมผู้พิพากษา และอัยการสูงสุด คือนายอีฟติคา ชาวดารี่ เข้ากลับทำงานตามเดิม แต่เวลาผ่านไปกว่าสามเดือนแล้วตั้งแต่ตั้งรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศ รัฐบาลผสมก็ยังไม่ได้ทำตามที่สัญญาไว้

รัฐบาลผสมปากีสถานหลักๆ แล้ว ประกอบด้วยพรรคพีพีพีที่นำโดยนายอาสีฟ อาลี ซัดดารี่ สามีหม้ายของนายเบนนาเซีย บุตโต ที่ถูกลอบสังหารเมื่อปลายปีกลายตอนหาเสียงเลือกตั้งและพรรคพีเอ็มแอลเอ็นของนายนายวาส ชารีฟ คุณซาฮิ้ด ฮุสเสน นักวิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น และนักหนัง สือพิมพ์อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมการแก้ปัญหาระบบยุติธรรมนี้จึงยืดเยื้อ

คุณซาฮิ้ด บอกว่า สาเหตุของความล่าช้าในการแก้ปัญหาเกิดจากการที่ทั้งสองพรรคร่วมรัฐบาลคือ พีพีพีและพีเอ็มแอลเอ็น มีความคิดเห็นที่แตกต่างในประเด็นนี้และความแตกต่างนี้ขยายขีดความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เขาบอกว่าถึงแม้แม้ว่าทางการสหรัฐอาจจะแสดงปฏิกริยาที่ไม่สนับสนุนนายอีฟติกา ชาวดารี่ อัยการสูงสุดให้คืนสู่ตำแหน่งเพราะขัดแย้งกับประธานาธิบดีมูชาราฟที่สหรัฐหนุนหลัง นั่นไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้การแก้ปัญหานี้ยืดเยื้อเลย ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับพรรคพีพีพีเท่านั้นที่จะตัดสินใจกอบกู้สถานภาพของอัยการสูงสุด

วิกฤติศรัทธาของทนายความต่อผู้บริหารประเทศ สืบเนื่องจากการที่ประธานาธิบดีมูชาราฟ ขับไล่นายอีฟตีคา ชาวดรี่ ออกจากตำแหน่งอัยการศาลสูงสุดเพราะนายอีฟตีคา เริ่มทำงานขัดขากับตัวประธานาธิบดีด้วยการเล่นงานทางกฏหมายกับหน่วยงานความมั่นคงของชาติ ในเรื่องการลักพาตัวประชาชนที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย และนอกจากนี้ยังมีอำนาจตัดสินว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีมูชาราฟให้ดำรงตำแหน่งเป็นครั้งที่สอง ผิดต่อกกหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย

ตั้งแต่มีเรื่องราวกันมานายอีฟตีคา ชาวดรี่ กลายเป็นสัญลักษณ์ความเป็นเอกเทศในการทำงานของระบบยุติธรรม ที่ท้าทายต่อทั้งทหารและทั้งรัฐบาลพลเรือน อย่างที่คุณซาฮิ้ด ฮุสเสน อธิบาย

คุณซาฮิ้ด ฮุสเสน บอกว่า ไม่มีรัฐบาลไหนไม่ว่าทั้งรัฐบาลทหารหรือรัฐบาลพลเรือนที่อยากได้อัยการศาลสูงสุดและทีมผุ้พิพาษษาศาลสูงสุดที่เสียงแข็งกร้าวและท้าทายอำนาจรัฐ เขาบอกว่าทั้งผู้นำทหารและนักการเมืองทุกคน ตั้งแต่ประธานาะบดีมุชาราฟ นายอาสิฟ อาลี ซัดดารี่ นายนาวาส ชาฟ ล้วนต้องการให้อัยการสูงสุดอยู่ภายใต้อำนาจตนกันทั้งนั้น ซึ่งเรื่องนี้เคยเห็นกันมาแล้วในอดีต อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์การเมืองผู้นี้บอกว่าเขาไม่ต่อต้านหรือเห็นด้วยกับการเดินขบวนของกลุ่มทนายความ แต่ต้องการให้หลายฝ่ายมองให้ทะลุปรุโปร่งว่าใครเป็นใคร เพราะว่าการเดินขบวนมาราธอนของทนายความนี้กลายเป็นเรื่องการเมืองแฝงจุดประสงค์ส่วนตัวไปเสียแล้ว

คุณซาฮี้ด บอกว่า การเดินขบวนนี้ มีกลุ่มทั้งพรรคการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างพรรคของนายนาวาส ชารีฟ และพรรคของนายอิมราน ค่าน อดีตดาราคริกเก็ตทีมชาติ แล้วยังมีกลุ่มอดีตนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่กลายพันธุ์เป็นนักเรียกร้องสิทธิและต่อต้านประธาธานาธิบดีมูชาราฟเข้าร่วมด้วย ทั้งๆที่กลุ่มหลังนี้เคยทำงานรับใช้พลเอกเซีย อัล ฮัก ผู้นำทหารจอมเผด็จการ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์มาอ้างว่า ตนรักประชาธิปไตย

ทางด้านคุณ ซัฟฟาร์ อับบาส นักวิเคราะห์การเมืองอีกท่านหนึ่งวิจารณ์ว่า ปัญหากอบกู้สถานภาพผู้พิพากษานี้ยืดเยื้อเพราะนายอาสีฟ อาลี ซัดดารี่ ผู้นำพรรคพีพีพี ไม่รักษาคำสัญญา

เขาบอกว่า ซัดดารี ทำไม่ถูกต้องที่ไปให้คำสัญญาว่าจะกอบกู้สถานภาพผู้พิพาษกาและอัยการสูงสุด เขาเห็นว่า นี่เป็นข้อผิดพลาดใหญ่หลวง นักวิเคราะห์การเมืองคนนี้ บอกว่า ถ้าพรรคร่วมรัฐบาลแก้ปัญหานี้ให้ลุล่วงไปตอนเข้าบริหารประเทศเมื่อสามเดือนก่อน ป่านนี้คงจะสามารถลุยงานเร่งด่วนอื่นๆ อย่างจริงจังได้เพราะตอนนี้ปากีสถานกำลังเผชิญกับปัญหาข้าวยากหมากแพง ขาดแคลนแป้งสาลีที่เป็นอาหารหลักของคนในประเทศจนเกิดการประท้วงเกือบทุกวันในหลายๆเมือง เงินรูปีของปากีสถานลดค่าลงเกือบ 10 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีปัยหาขาดแคลนนำและพลังงานไฟฟ้ารุนแรง ถึงขึ้นต้องปิดการจ่ายไฟฟ้าทั่วประเทศวันละ 6-12ชั่วโมง ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศและธุรกิจอื่นๆ

คุณซัฟฟา บอกว่าเขาไม่เห็นด้วยที่กลุ่มทนายความออกมาชุมนุมตามท้องถนนเพื่อใช้กฏหมู่กดดันรัฐบาล เขาบอกว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นผู้แทนของประชาชนที่เลือกกันมา ดังนั้นควรปล่อยให้รัฐสภาทำหน้าที่พิจารณาขั้นตอนในการกอบกู้ฐานันดรของทีมผู้พิพากษาศาลสูงและอัยการสูงสุดชุดเดิม หากรัฐสภาพิจารณาออกมาอย่างไร ก็ให้เป็นไปตามนั้น เพราะนั่นคือขั้นตอนตามระบอบประชาธิปไตยที่เรียกร้องกันมา