ภัยจากโรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้ที่อันตรายถึงชีวิตในปากีสถาน

ขณะนี้เมืองหลวงของปากีสถานอยู่ในช่วงกลางฤดูใบไม้ผลิที่อากาศยังเย็นสบาย ท้องฟ้าแจ่มใส แต่สำหรับชาวอิสลามบัดหลายๆ คนกลับไม่รื่นรมย์กับฤดูุใบไม้ผลิ เพราะเป็นช่วงที่เกิดการเจ็บป่วย ด้วยโรคแพ้เกสรต้นไม้สายพันธ์ต่างชาติชนิด ที่นำมาปลูกทั่วกรุงเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว และอาการแพ้ละอองเกสรจากต้นไม้พันธุ์นี้ได้คร่าชีวิตผู้ป่วยไปแล้วหลาย

คุณซักเกีย อัมมาน อูลล่า สาธยายให้ฟังถึงตำรับยาหลายตัว ที่ใช้เพื่อลดอาการแพ้เกสรจากต้นเปเปอร์มัลแบร์รี่ ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นนำเข้ามาจากทวีปเอเชียตะวัน ออกเพื่อปลูกจำนวนมหาศาลทั่วกรุงอิสลามบัด ตอนที่เริ่มสร้างเมืองหลวงใหม่เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเพื่อให้เกิดให้ร่มเงาเพราะเป็นพันธุ์ไม้ใบที่โตเร็ว

โดยทางการคาดไม่ถึงว่าต้นไม้พันธุ์เทศนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ต่อมาในภายหลัง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปริมาณละอองเกสรจากต้นเปเปอร์มัลแบร์รี้จำนวนมากมายจะแตกกระจายและปลิวไปกับลมทั่วกรุง และเมืองระวัลพินดีที่อยู่ใกล้เคียงทำให้ประชาชนทุกวัยเกิดเจ็บป่วย ด้วยอาการภูมิแพ้ละอองเกสรนี้

คุณซักเกีย ซาฟิก อายุ 45 ปี ซึ่งเป็นโรคแพ้เกสรมานานเกือบ 20 ปีแล้ว บอกว่าถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิทีไร เธอเป็นต้องป่วยด้วยอาการแพ้นี้เสียทุกปี ด้วยอาการระคายเคืองในตา เจ็บคอ น้ำมูกคัดจนหายใจไม่ออก

คุณซาฟิกเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หลายหมื่นคนในเมืองหลวงที่เริ่มพบ

อาการในช่วง 18 ปีที่แล้ว ซึ่งทุกๆ ฤดูใบไม้ผลิ โรงพยาบาลทุกแห่งในเมืองจะเต็มไปด้วยผู้ป่วยด้วยอาการแพ้ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไรจนกระทั่งหลายปีให้หลัง ที่ผู้เชี่ยวชาญลงดาบว่าต้นเหตุก็คือละอองเกสรตัวผู้ของต้นเปเปอร์มัลแบร์รี่นี่เอง

ทางด้านคุณซาร์ดัดร์ ชาปเบียร์ อาเหม็ดหัวหน้าฝ่ายการจ่ายยาที่ศูนย์รักษา อาการภูมิแพ้้ของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิเพื่อรักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดค่่าบริการใดใดบอกกับวีโอเอภาคภาษาไทยว่า นี่เป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรงปัญหาหนึ่งของคนในเมืองหลวง และจากสถิติคาดว่าชาวกรุงราวแปดหมื่นคนเป็นโรคภูมิแพ้นี้ หรือประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในเมืองหลวง คุณอาเหม็ด บอกว่า มีผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์ราววันละ 600 คน

คุณอาเหม็ดบอกว่าลองจินตนาการดูก็แล้วกันว่าเจ้าหน้าที่ของศูนย์จะวุ่นแค่่ไหนที่ต้องรับมือกับผู้ป่วยวันละ 600 คนตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงสี่โมงเย็น แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามอย่างเต็มที่ในการบริการทั้งการให้คำปรึกษา การตรวจอาการและการให้ยา นอกจากนี้ที่ศูนย์ยังมีเครื่องช่วยหายใจไว้บริการด้วย เนื่องจากในบางครั้งมีผู้ป่วยภูมิแพ้แบบฉุกเฉินเข้ามารับบริการด้วย

อีกด้านหนึ่งคุณโมฮัมหมัด ออสมาน ยูสุฟ ผุ้เชี่ยวชาญด้านโรค ภูมิแพ้และโรคหืดหอบ มือหนึ่งของปากีสถานที่เป็นอาจารย์พิเศษให้กับสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทยด้วย บอกกับวีโอเอภาคภาษาไทยว่า ปริมาณละอองเกสรของต้นเปเปอร์มัลแบร์รี่ในกรุงอิสลามบัดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ถือว่าอยู่ในระดับสูงที่สุดและรุนแรงที่สุดอันหนึ่งในโลก ซึ่งทำให้คนเกิดป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ผู้เชื่ียวชาญโรคภูมิแพ้และหืดหอบท่านนี้บอกว่า อาการแพ้เกสรต้นไม้นี้ถ้าเกิดกระทันหันและรุนแรงอาจจะทำให้เสียชีวิตได้อย่างที่เกิดขึ้นกับคนที่เขารู้จักถึงสองคนเมื่อเดือนที่ผ่านมาโดยคนหนึ่งเป็นญาติของเขาเอง

คุณยูสุฟ บอกว่า ผู้ตายเป็นภรรยาของญาติคนหนึ่งของเขา เหตุเกิดค่ำวันหนึ่งเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาโดยเธอเกิดอาการแพ้เกสร ต้นไม้นี้อย่างกระทันหันจนเกิดอาการหายใจไม่ออกและเสียชีวิตขณะถูุกนำส่งโรงพยาบาล

อย่างไรก็ดีทางออกที่ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้แนะนำก็คือต้องตัดต้นเปเปอร์มัลแบร์รี่ทิ้ง

และว่าการตัดต้นไม้ชนิดนี้ทั้งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ ถึงแม้ว่านักสิ่งแวดล้อมจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เพราะเป็นทางเดียวที่จะช่วยลดปริมาณละอองเกสรต้นไม้นี้ในมวลอากาศได้อย่างได้ผล เพราะถ้าปล่อยไว้ปริมาณละอองเกสรนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีกไม่หยุดหย่อน

ในเรื่องนี้ คุณอาเหม็ดเห็นด้วย โดยมองบอกว่าต้นเปเปอร์ มัลเบอร์รี่นี้เป็นสายพันธุ์จากออสเตรเลีย ที่นำเม็ดมาปลูกและได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อพืชพื้นเมืองเพราะโตเร็ว ขยายพันธุ์เร็วและแย่งแหล่งนำ้ของพืชชนิดอื่นไปหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางการต้องทำลายมันทิ้งและปลูกต้นไม้พันธุ์พื้นเมืองขึ้นมาทดแทนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้