กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ เปิดตัวโครงการรณรงค์ เพื่อยุติการใช้ ความรุนแรงต่อสตรี โดยมีคุณนิโคล คิดแมนดาราฮอลลิวูด เป็นทูตสันทวไมตรี โครงการนี้ใช้อินเตอร์เนต เป็นสื่อกลาง ในการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงนามในสมุดเสมือนจริง หรือ “Virtual Book” เพื่อส่งเสริมเรื่องสิทธิสตรี
กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า การทำร้ายผู้หญิง ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดแพร่หลายมากที่สุดในโลก ผู้หญิงมักจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว การลักลอบค้ามนุษย์ข้ามพรมแดน และการข่มขืนกระทำชำเราอย่างเป็นระบบ ในเขตที่มีความขัดแย้ง
สหประชาชาติคาดประมาณว่า มีผู้หญิงจำนวนมากถึงหนึ่งในสามที่ต้องตกเป็นเหยื่อของการกระทำทารุณ ตลอดชีวิตของพวกเธอ
กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีพยายามที่จะให้ชาวโลกหันมาใส่ใจในเรื่องนี้ และส่งเสริมความเสมอภาค ทางเพศ
ดาราภาพยนต์ชื่อดัง นิโคล คิดแมนกล่าวในที่ประชุมว่า เธอภูมิใจที่ได้เป็นทูตสันทวไมตรีให้กับ สหประชาชาติ และว่าโครงการรณรงค์ทางอินเตอร์เนต ที่ชื่อว่า “Say NO to Violence Against Women” จะช่วยให้ชาวโลก ตระหนักในเรื่องนี้กันมากขึ้น
คุณนิโคลบอกว่า การกระทำทารุณผู้หญิงจะเป็นปัญหาที่มีทางแก้ไข
คุณโจแอน แซนเลอร์ รักษาการผู้อำนวยการบริหารของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า องค์กรต่างๆ ที่กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนรัฐบาลของประเทศต่างๆ พยายามที่จะยุติเรื่อง การทำร้ายผู้หญิง และให้การสนับสนุนโครงการรณรงค์ทางอินเตอร์เนต และเวบไซต์ www-dot-say-no-to-violence-against-women-dot-org
คุณโจแอนกล่าวว่า เวบไซต์ดังกล่าวจะเป็นแหล่งข้อมูลในเรื่องการทำรุนแรงต่อสตรี และว่าเอกสาร เสมือนจริง หรือ Virtual Book จะเพิ่มความคิดเห็นในการเร่งเร้าให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินการอย่างแข็งขัน เพื่อ ยุติการทำทารุณสตรี
เธอกล่าวต่อไปว่า ตอนนี้อย่างน้อย 89 ประเทศออกกฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวแล้ว แต่อีกกว่า 200 ประเทศยังไม่มีการป้องกันเช่นนั้น
นอกจากนี้ สหประชาชาติยังบริหารกองทุนสินเชื่อ ซึ่งมอบเงินและความช่วยเหลือทางด้านเทค นิคแก่ประเทศ ต่างๆ ที่ดำเนินการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง คุณโจแอน แซนเลอร์กล่าวว่า 35 ประเทศ ซึ่งรวม ถึงระวันด้า และเปรู จะให้เงินช่วยเหลือแก่โครงการที่เกี่ยวข้องกับสตรีในปีนี้ และว่ากองทุนสินเชื่อเป็นเครื่องมือ ที่ประเมิน ค่าไม่ได้ ในการช่วยสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ แต่ก็ยังต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อรักษาสถานภาพทาง ด้านการเงินไว้ให้ได้
คุณโจแอน แซนเลอร์ รักษาการผู้อำนวยการบริหารของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ขอบเขตของปัญหาเรื่องการกระทำทารุณผู้หญิงนั้น ไม่เหมือนกับปัญหาเรื่องโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ซึ่งมีเงินทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ กองทุนสินเชื่อเพื่อยุติความรุนแรงพยายามต่อสู้เพื่อเก็บรักษาเงิน ช่วยเหลือ 5 ล้านเหรียญสหรัฐที่ได้มาเมื่อปีที่แล้ว ในขณะที่มีการขอเงินช่วยเหลือมามากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับวันเปิดตัวโครงการรณรงค์ทางอินเตอร์เนตนั้น ถูกเลือกให้ตรงกับวันยุติความรุนแรงต่อสตรีนานาชาติ