เปิดพินัยกรรมนางเบนาเซีย บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของปากีสถาน

ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ เป็นวันสิ้นสุด 40 วันแห่งการไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของ นางเบนนาเซีย บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงและผู้นำพรรคเพื่อประชาชนปากีสถานหรือพีพีพีพรรคฝ่ายค้านหลักในปากีสถาน

แม้ว่าจะถูกลอบสังหารไปนานร่วมเดือนกว่าแล้ว นางบุตโตยังเป็นข่าวพาดหัวในประเทศอยู่ไม่่หยุดหย่อน ล่าสุดพินัยกรรมที่นางบุตโต ได้เขียนไว้ก่อนเสียชีวิตได้กลายเป็นประเด็นถกกันอีกแล้วเพราะสนับสนุนสามีตนขึ้นเป็นผู้นำพรรคแทนตนและยังบอกอีกว่ารู้สึกวิตกต่ออนาคตของปากี สถาน

นางเชอรรี่ เรมาน โฆษกพรรคเพื่อประชาชนปากีสถาน อ่านพินัยกรรมของนางเบนนาเซีย บุตโต อดีตผู้นำพรรคทีีถูกลอบสังหารเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผ่านการแถลงข่าวที่ได้รับการถ่ายทอดไปทั่วประ เทศ โดยนางบุตโตเขียนไว้ด้วยลายมือตัวเองว่านางรู้สึกวิตกกังวลต่ออนาคตของปากีสถานจึงขอเรียกร้องให้พรรคพีพีพีเดินหน้าต่อสู้กับลัทธิสุดโต่งทางศาสนา ผู้นำเผด็จการ ความยากจน และความไม่รู้

นางบุตโตเขียนพินัยกรรมฉบับนี้ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2550 สองวันก่อนที่จะเดินทางกลับถึงปากี สถาน หลังจากหนีไปอยู่ต่างประเทศนาน 8 ปีพร้อมลูกๆ สามคน

นางบุตโตถูกลอบสังหารด้วยมือปืนและมือระเบิดพลีชีพขณะยืนโบกมืออยู่บนช่องกันแดดตรงกลางหลังคารถยนตร์กันกระสุนขณะเดินทางออกจากงานปราศรัยหาเสียงในเมืองราวัลพินดีติดกับกรุงอิสลามบัดเท่อวันที่ 27 ธันวาคม แม้ว่าทางรัฐบาลปากีสถานบอกว่ากลุ่มอัลไคด้าอยู่้เบื้องหลังการลอบสังหารนางบุตโต ทางทีมตำรวจอังกฤษที่ช่วยสืบสวนสอบสวนการเสียชีวิตของนางบุตโต ยังไม่ยอมเปิดเผยอะไรทั้งสิ้น

พินัยกรรมของนางบุตโตมีความยาวหนึ่งหน้ากระดาษและแสดงเจตจำนงเอาไว้ว่าใครควรเป็นผู้นำพรรคต่อ

นางเรมานอ่านพินัยกรรมของนางบุตโตต่อว่า นางบุตโตต้องการให้นายอาสิฟ อาลี ซารดารี สามีขึ้นเป็นผู้นำพรรคพีพีพีต่อจากนางในช่วงเวลาที่พรรคยังขาดผู้นำ จนกว่าทางพรรคพีพีพีและนายซารดารีตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป และนางบุตโตยังเขียนไว้อีกว่านางเห็นว่าสามีของนางเป็นผู้ชายที่มีความกล้าหาญ และน่าศรัธราเพราะเขาผ่านการถูกจองจำในคุกนาน 11 ปีครึ่งมาได้แม้จะถูกทรมาน ร่างกายสารพัดในคุก

โฆษกพรรคพีพีพี บอกว่า ทางพรรคเห็นควรว่าต้องเปิดเผยตัวพินัยกรรมให้สาธารณชนรู้ เพื่อลบข้อครหาต่อการแต่งตั้งนายซารดารีขึ้นเป็นผู้นำของพรรค คู่กับนายบิลไลวัล ลูกชายวัย 19 ปี ที่ขณะนี้กำลังเรียนชั้นปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัย Christ Church College ของอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ

อย่างไรก็ดี ภาพลักษณ์ของสามีของนางบุตโตในปากีสถานไม่ค่อยดีนักเพราะ เขาถูกจองจำเนื่อง จากข้อหาฉ้อราษฏ์บังหลวงในช่วงที่นางบุตโตดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยนางบุตโตบอกว่าข้อกล่าวหาต่อสามีของนางเกี่ยงโยงกับการเมืองและข้อกล่าวหานี้ไม่เคยถูกนำไปว่าความกันในศาล

นางเรมานอ่านตอนจบของพินัยกรรมว่า นางบุตโตเขียนว่าตนขออวยพรให้พรรคพีพีพีประสบความสำเร็จในการทำงานตามเป้าหมายและนโยบายของพรรคในการรับใช้คนจน คนที่ถูกกีดกันเอารัดเอาเปรียบในปากี สถาน และยังบอกให้สมาชิกพรรคอุทิศตนในการทำงานเพื่อช่วยให้คนในปากีสถานหลุดพ้นจากความยากจนและความไม่รู้เหมือนอย่างที่เคยทำมาในอดีต

ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์นี้พรรคพีพีพีจะจัดพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสิ้นสุดการไว้อาลัยแก่นางบุตโตที่ดำเนินมานาน40วัน และเป็นวันแรกที่ทางพรรคพีพีพีจะกลับไปหาเสียงเลือกตั้งต่อหลังจากหยุดไปตั้งแต่ผู้นำถูกลอบสังหาร

ปากีสถานจะจัดการเลือกตั้งรัฐสภาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่จะมาถึงนี้ในขณะที่ยังเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัยภายในประเทศนอกจากทหารรัฐบาล ยังต่อสู้กับกลุ่มนักรบทาเลบันและอัลไคด้าในวาซีรีสถานทางใต้ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนปากีสถานอาฟกานิสถานแล้วยังมีมือระเบิดพลีชีพ ออกปฏิบัติการอย่างไม่หยุดหย่อน โดยเมื่อต้นสัปดาห์มือระเบิดพลีชีพขับมอเตอร์ไซด์เข้าชนรถมินิบัสของเจ้าหน้าที่ทหารรัฐบาลและนักศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ทหารที่เมืองระวัลพินดีติกกับเมืองหลวง ทำให้มีคนเสียชีวิตไป 10 รายและ บาดเจ็บอีก 27 คน โดยทางกระทรวงมหาดไทย เชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มนักรบที่นำโดยนายไบตูเลาะห์ เมซู้ด ผู้ที่ถูกรัฐบาล กล่าวหาว่าว่าอยู่เบื้องหลัง การสังหารนางบุตโต ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับนักรบ ที่กำลังต่อสู้กับทหารรัฐบาลอยู่ในวาซีรีสถานในตอนนี้

ในขณะเดียวกันก็มีเสียงเรียกร้องหนาหูจากนานาประเทศตะวันตก นำโดยสหรัฐและอังกฤษว่าการเลือกตั้งในปากีสถานต้องใสสะอาดและยุติธรรม เพื่อสร้างประชาธิปไตยในประเทศเพราะความมั่นคงในปากีสถานมีผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของนานาชาติ ในห้วงแห่งการทำสงครามเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย