สนธิสัญญาเกียวโต ฉบับปี พศ. 2540 กำหนดให้ประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว ลดก๊าซที่ทำให้เกิดสภาพแบบ ในเรือนกระจกปลูกพืช ซึ่งคนทั่วไปคิดว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น ไว้ในปริมาณที่แน่นอน ภายในปี พศ. 2555
แต่สนธสัญญาฉบับนั้นยกเว้นให้ประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนา รวมทั้งจีน และอินเดีย ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ กำหนดดังกล่าว ส่วนสหรัฐซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดสภาพแบบ ในเรือนกระจกปลูกพืช มากเป็นที่ 2 รองจากจีน ไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนั้นเลย
แต่เวลาล่วงไปอีก 10 ปี ประเทศต่างๆ ในโลก เห็นพ้องต้องกันว่า ภาวะที่โลกร้อนขึ้นนี้ เป็นภัยคุกคามที่มนุษย์ก่อขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย กล่าวว่า เขาคาดหมายว่า การประชุมที่เกาะบาหลีจะบรรลุผลกว้าง ขวางมากกว่าการประชุมที่เกียวโต และว่าจะมีการบรรลุความคิดเห็นโดยรวมระดับโลก ว่าจะแก้ไขเรื่องการเปลี่ยน แปลงของภูมิอากาศอย่างไร และนั่นหมายถึงว่าทุกประเทศ และมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ต้องร่วมมือกัน