รายงานขององค์การ UNCTAD เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในประเทศด้อยพัฒนา

รายงานระบุว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นของจำเป็น ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย และว่าชาติด้อยพัฒนาที่สุดในโลก 50 ชาติจะไม่มีวันโผล่พ้นจากความยากจน จนกว่าจะรู้วิธีใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ชาติที่เจริญทางอุตสาหกรรมรุ่งเรืองไพบูลย์

เกษตรกรของ UNCTAD กล่าวว่า เศรษฐกิจของชาติที่ยากจนส่วนมากนั้น ผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจของโลกส่วนอื่น แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจของชาติยากจนเหล่านั้น ผูกติดอยู่กับการผลิตโภคภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่ำ และการผลิตที่ใช้ทักษะต่ำ ซึ่งจะไม่ช่วยแก้ไขสถานการณ์ในชาติเหล่านั้นให้ดีขึ้นได้กี่มากน้อย

เลขาธิการ UNCTAD ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ กล่าวว่า การที่จะฝ่าวัฒจักรดังกล่าวออกไปได้ ประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดต้องเบนการกำหนดนโยบายมุ่งไปที่ภาคธุรกิจ และทำการลงทุนที่ถูกต้องในด้านอย่างเช่น การศึกษา และว่าจะต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเช่น กระเเสไฟฟ้า เมื่อมีการขาดไฟฟ้า เราก็ไม่สามารถคิดจะทำงานวิจัยด้านพื้นฐานได้

รายงานกล่าวต่อไปว่า ประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดต้องค้นหาวิธีที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากภาวะยากจน และว่าถ้าประเทศยากจนไม่ปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้นก็จะแข่งขันสู้เขาไม่ได้ในตลาดโลกต่อไป

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD กล่าวต่อไปว่า ประเทศที่ยากจนจะต้องมุ่งในด้านการวิจัย การพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในเชิงพานิชย์ ที่สามารถมีผลกระทบต่อการผลิตที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพการประกอบผลิตภัณฑ์ และทักษะของผู้ที่ทำงานในด้านการผลิต

รายงานของ UNCTAD พบว่าผลิตภาพด้านการเกษตรในประเทศยากจนส่วนมากนั้นต่ำมาก และด้วยการที่ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น และพื้นที่ทำไร่ทำนามีขนาดเล็กลงไป คนที่มองหางานทำนอกภาคเกษตรย่อมจะมีจำนวนมากขึ้น รายงานกล่าวด้วยว่า ประเทศเหล่านั้นจะไม่สามารถแหวกวงล้อมของภาวะยากจนออกไปได้ โดยไม่มีการสร้างงานที่ไม่เกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม โดยอาศัยการปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆ ให้ดีขึ้น UNCTAD ระบุว่า ต่างประเทศจะต้องให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ในบรรดาประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก