ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสภาพอากาศในเอเชียราว 60 คน ประชุมกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับสุขภาพของคนในเอเชีย สืบเนื่องจากสภาพโลกร้อน
องค์การอนามัยโลกแระมาณว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก มีส่วนโดยตรง หรือโดยอ้อม ต่อการที่มีคนเสียชีวิตเกือบ 80,000 คน ในเอเชียในแต่ละปี เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก ยกตัวอย่างอุณหภูมิที่สูงขึ้นและฝนตกมากขึ้น มีผลกระทบต่อการแพร่พันธุ์ของยุง ทำให้มีคนเป็นไข้เลือดออก และมาลาเรียมากขึ้น เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ตอนนี้มีคนติดเชื้อไข้มาลาเรีย แม้กระทั่งในบริเวณพื้นที่สูง ที่เมื่อก่อนไม่มีโรคนี้
ฮิซาริ โอกาว่า ที่ปรึกษาด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในเอเชียกล่าวว่าเมื่อต้นปีนี้มีคนเสียชีวิตเนื่องจากมาลาเรีย 40 คนในบริเวณพื้นที่สูงของปาปัวนิวกีนี ซึ่งบริเวณนั้นไม่เคยมีคนเป็นโรคนี้มาก่อนเลย เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกเชื่อว่า เรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับการที่สภาพอากาศโลกร้อนขึ้น ผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมการประชุมในมาเลเซียกล่าวว่า ในบางพื้นที่ในเอเชีย ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก มีผลให้เกิดพายุและน้ำท่วมมากขึ้น อย่างในบังคลาเทส โรคภัยไข้เจ็บที่มากับน้ำ อย่างโรคท้องร่วง เกิดขึ้นทั่วไป ส่วนอื่นๆ ของเอเชีย เกิดภาวะแห่งแล้งอย่างหนัก ทำให้ผลผลิตพืชพันธุ์ธัญญหารลดลง ทำให้เกรงกันว่าจะเกิดปัญหาการขาดสารอาหาร พายุฝุ่นก็อาจมีส่วนก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้
ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายในเอเชีย จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ประการแรกจะต้องเข้าใจความเกี่ยวโยงระหว่างสภาพโลกร้อนกับปัญหาสุขภาพ และต่อสู้กับการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดสภาพแบบในเรือนกระจก และขอให้รัฐบาลประเทศต่างๆ เตรียมตัวให้ดีขึ้นในการพร้อมรับสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ฮิซาริ โอกาว่า ที่ปรึกษาด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นจะต้องเสริมสร้างระบบบริบาลสุขภาพ ระบบการสอดส่องระวังระวัยด้านสาธารณสุข และระบบตอบสนองในทันทีให้เข้มแข็งเพื่อจะได้พร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรคต่างๆ อย่างเช่นไข้เลือดออก โรคท้องร่วง หรือหิวาตกโรค หรืโรคอิ่นๆ จะมีการเสนอรายงานนี้ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งจะหารือกันเกี่ยวปัญหานี้ที่กรุงเทพมหานคร ในเดิอนหน้า