นักวิทยาศาสตร์กล่าวกันว่า Nano Technology ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกนั้น อาจมีผลกระทบอย่างมากมายต่อประเทศกำลังพัฒนาได้
Nano Technology หรือหากจะเรียกว่าเทคโนโลยีจุลวัตถุ หรือเทคโนโลยีวัตถุจิ๋วก็คงไม่ผิด เพราะหมายถึงความสามารถในการจัดแจงสารวัตถุต่างๆ ในระดับเล็กจิ๋วเป็นจุล เล็กขนาดไหนนั้น นักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายโยเทียบสัดส่วนกับอะตอมของสสาร โดยบอกว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับอะตอมเรียงกัน 10 อะตอม หรือ 1 นาโนเมตรเท่ากับ เศษ 1 ส่วน 1000 ของ 1 เมตร แอนดรู เมนาร์ด นักวิทยาศาสตร์นาโนเทค พยายามเทียบให้เห็นภาพว่า ลูกเทนนิสมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 50 นาโนเมตร และหัวเข็มหมุดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 นาโนเมตร
แอนดรู เมนาร์ด เป็นนักวิทยาศาสตร์ใหญ่ที่โครงการ Emerging Nano Technologies ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัย Wood Rowilson ในกรุงวอชิงตัน เขากล่าวในการประชุมเมื่อไม่นานมานี้ว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้เทคโนโลยีแบบนี้ในการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างเครื่องสำอางค์ และเสื้อผ้ากันเปื้อน แต่การใช้งานที่ดูจะมีอนาคตมากที่สุด เห็นจะเป็นด้านการแพทย์และสุขภาพ
ในแต่ละปีในบริเวณตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าลงมา ไข้จับสั่นหรือโรคมาลาเรีย ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตนับล้านคน ปัญหาส่วนใหญ่ของโรคมาลาเรียคือการวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการจ่ายยาต้านมาลาเรียโดยที่ไม่มีการวินิจฉัยอย่างเหมาะสมแก่ผู้ป่วยที่อาจไม่ได้เป็นโรคมาลาเรีย ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเปล่าแล้วยังทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการดื้อยาด้วย นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า Nano Technology ที่เรียกกันว่า แควนตัม ดอทส์ อาจทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะวินิจฉัยโรคมาลาเรียได้อย่างถูกต้อง แทนที่จะใช้วิธีการที่ใช้มาแต่เดิมในการตรวจเลือดผู้ป่วยโดยการใช้กล้องจุลทรรศ นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว Nano Technology ยังอาจช่วยในการบำบัดรักษาโรคด้วย เช่น ช่วยให้ยาต่าง ๆ ที่มีอยู่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพียวเตอร์ รัสซินสกี้ แห่งสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เทคโนโลยีนี้จะช่วยพัฒนาเทคนิควิธีการช่วยแพทย์ในการส่งตัวยาที่ใช้บำบัดรักษา หรือการบำบัดรักษาไปยังก้อนเนื้องอกในบวิเวณที่เป็น ในหลายกรณีจะใช้ยาในปริมาณน้อยลง ซึ่งจะทำให้มีผลข้างเคียงน้อยลงด้วย
ความก้าวหน้าด้าน Nano Technology หรือเทคโนโลยีจุลวัตถุนี้กำลังทยอยออกมาจากห้องทดลองในประเทศที่ก้าวหน้า แต่นักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่กำลังก้าวหน้าขึ้นมาอย่างจีน อินเดีย และบราซิล ก็กำลังมีส่วนในการทำงานด้านนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเตือนว่ายังจะต้องทำงานกันอีกมาก เพื่อจะถ่ายความก้าวหน้าเหล่านี้ไปยังประชาชนที่ยากจน ถึงแม้จะเน้นในเรื่องประโยขน์ที่มีศักยภาพ ว่าจะได้จากเทคโนโลยีใหม่นี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยอมรับว่ามีความเสี่ยง และความไม่แน่นอน ในการทำงานกับวัตถุเล็กจิ๋วที่ได้ขึ้นมาใหม่เหล่านี้
แอนดรู เมนาร์ด แห่งศูนย์วิจัย Wood Rowilson กล่าวว่าหากพิจารณากรณีง่ายๆ ที่สุดของของอนุภาคขนาดนาโนเมตร เราจะทราบว่าอนุภาคเหล่านี้จะมีพฤติกรรมต่างกันออกไปในร่างกายคนเรา และในสภาพแวดล้อมเมื่อเทียบกับอนุภาคขนาดใหญ่กว่าและแบบดั้งเดิมกว่า ดังนั้นจะมีความเสี่ยงชุดใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์จำเป็นจะต้องดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการลงทุนอย่างมากในวิทยาการใหม่ เพื่อทำความเข้าใจว่าความเสี่ยงเหล่านั้นคืออะไร และวิธีที่จะตีความและแปลงข้อมูลที่ได้มาให้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ ผู้ที่เสี่ยงอันตรายเป็นผู้ทำงานเกี่ยวข้องในการผลิตวัตถุขนาดเล็กจิ๋วเป็นจุล และผู้บริโภคอย่างผู้ที่ต้องใช้ยาที่มาจากวัตถุเล็กจิ๋วนั้น