ขณะที่รัฐบาลอินเดียบอกว่า เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเติบโตในอัตราปีละ 9 เปอร์เซนต์นั้น นักเศรษศาสตร์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวว่า การเติบโตในอัตราดังกล่าว อาจทำทรัพยากรของอินเดียถูกใช้งานมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ เขากล่าวว่ามี สิ่งส่อแสดงต่างๆ ปรากฏให้เห็นแล้ว รวมทั้งราคาบ้านตามเมืองใหญ่ๆ สูงขึ้นเท่าตัว และราคาหุ้น พุ่งสูงขึ้น 43 เปอร์เซนต์ในปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันนักเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่าอินเดียกำลังล้าหลังประเทศจีน ในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น สำหรับการเกื้อหนุนการเติบโต ให้คงยั่งยืนอยู่ได้ นอกจากนั้นยังมีความจำเป็นเฉพาะหน้า ที่จะต้องมีการปฏิรูปด้านสถาบันหรือหน่วยงานทาง เศรษฐกิจต่างๆ
นิวิการ์ ซิงห์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า สิ่งที่ยังดูไม่สดใส และอืดอาดล่าช้านั้นเป็นเรื่อง จิปาถะ อย่างงบประมาณ และการบัญชีและมีเรื่องรายละเอียดของการปรับแก้ข่ายงาน และขั้นตอน ทางกฏหมาย การบริหารงานทางด้านภาษี ตลอดจนการปฏิรูปการให้บริการด้านพลเรือน สำหรับนัก วิชาการของธนาคารโลกยังเห็นข้อบกพร่องอื่นๆ ที่เป็นจุดด่างพร้อย มิฉะนั้นแล้ว อินเดียจะมีการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจอย่างน่าประทับใจเลยทีเดียว
นักวิชาการที่ธนาคารโลกกล่าวว่า ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของอินเดียขยายตัวอย่างรวดเร็วในเวลา 10 ปีที่ ผ่านมา แต่อัตราลดของภาวะยากจนไม่ได้มากไปกว่าระดับเมื่อ 25-35 มาแล้ว และภาคบริการด้าน ไฮเทคที่คึกคัก ทำให้จ้างคนมาทำงานได้ราว 100 ล้านคน ขณะที่อินเียมีแรงงานถึง 400 ล้านคน เขากล่าวว่าความเจริญรุ่งเรืองในอินเดียเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ภาคใต้
ซาทายาน เทวราชันย์ นักวิชาการธนาคารโลกกล่าวว่า นั่นไม่ใช่การขยายตัวเติบโตโดยรวม แต่เป็น การเติบโตเฉพาะบางรัฐที่รวมอยู่ในบางส่วนของประเทศ และไม่น่าแปลกใจที่ภาวะยากจน ไม่ได้ลด ลงอย่างรวดเร็วเลย นักวิชาการธนาคารโลกเทวราชันย์กล่าวว่า เมืองต่างๆ ในอินเดีย ไม่มีเมืองใดเลย ที่สามารถจัดบริการน้ำประปาให้ประชาชนพลเมืองได้ตลอดวันละ 24 ชั่วโมง การปฏิรูปเพื่อเปิดตลาด ของอินเดีย เริ่มในปี 2534 หรือราว 15 ปีมาแล้ว หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน ซึ่งเป็นคู่แข่ง ทางเศรษฐกิจ และการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นพันธมิตรของอินเดีย