วิเคราะห์: ความหวังครั้งใหม่ในการเจรจาสันติภาพชายแดนใต้

Students hold white balloons during a demonstration against violence, after recent incidents between Thai rangers and suspected separatists, in Ra-ngae district in the southern Thai province of Narathiwat, March 21, 2022.

Students hold white balloons during a demonstration against violence, after recent incidents between Thai rangers and suspected separatists, in Ra-ngae district in the southern Thai province of Narathiwat, March 21, 2022.

เมื่อช่วงวันที่ 31 มีนาคมและ 1 เมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยพบกับตัวเเทนขบวนการเเบ่งเเยกดินเเดน “บีอาร์เอ็น” ที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อหารือเรื่องการลดปัญหาความรุนเเรงบริเวณจังหวัดชายเเดนภาคใต้

ครั้งนี้เป็นการพบกันครั้งเเรกของทั้งสองฝ่ายตั้งเเต่เกิดการระบาดของโคโรนาไวรัส ฝ่ายรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นตกลงที่จะพยายามทำให้เดือนศักดิ์สิทธิ์รอมฎอนของศาสนาอิสลาม เป็นช่วงเวลาเเห่งการหยุดยิง โดยเริ่มตั้งเเต่ วันที่ 3 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม

ต่อมาสื่อรายงานว่ากลุ่มพูโล ซึ่งมิได้ร่วมการเจรจา อ้างว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 15 เมษายน ซึ่งทำให้มีประชาชนเสียชีวิตหนึ่งรายและตำรวจบาดเจ็บสามราย

นักวิเคราะห์เรื่องสถานการณ์ชายเเดนภาคใต้มองว่าโดยภาพรวมการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลไทยเเละบีอาร์เอ็น เเสดงให้เห็นถึงความหวังครั้งใหม่ ทั้งนี้ในบริเวณพื้นที่ความขัดเเย้งกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งมีชื่อเต็มว่า Barisan Revolusi National คือกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนไหวบ่อยที่สุด

ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งคณะทำงานสามกลุ่ม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความรุนเเรง และรับฟังภาคประชาชน รวมถึงหา “ทางออกทางการเมือง” ต่อความขัดเเย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งปะทุมาตั้งเเต่ 18 ปีก่อน และความรุนเเรงที่เกิดขึ้นทำให้มีคนเสียชีวิตเเล้วกว่า 7,300 ราย แม้ว่าความพยายามเริ่มเจรจาสันติภาพเกิดขึ้นมาเเล้วเก้าปีก็ตาม

อาจารย์รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช แห่งสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวกับวีโอเอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ว่าหากช่วงรอมฎอนดำเนินไปอย่างสงบเรียบร้อย จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย และอาจเกิดการเจรจาในลำดับถัดไป ที่เป็นทางการมากขึ้นเเละอาจตั้งเป้าหมายให้เกิดการหยุดยิงยาวนานขึ้น

เธอกล่าวว่าการยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาการเมืองเเละพยายามหาทางออกทางการเมืองเป็นการปรับจุดยืนที่สำคัญของฝ่ายรัฐบาลไทย

นอกจากนี้ เเมตธิว วีลเลอร์​ นักวิเคราะห์อาวุโสแห่งหน่วยงาน International Crisis Group ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม กล่าวว่ท่าทีข้างต้นอาจจะช่วยเปิดทางให้เกิดการการกระจายอำนาจสู่การปกครองในท้องถิ่นของจังหวัดชายเเดนภาคใต้มากขึ้น เเม้อาจจะยังไม่ถึงขึ้นการตั้งรัฐอิสระ

เเต่เขากล่าวว่าต้องรอพิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ ก่อนที่จะเกิดข้อสรุปใดๆ

แม้ว่าทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยเเละบีอาร์เอ็นมิได้เปิดเผยรายละเอียดของการหารือที่เกิดขึ้น แต่การใช้คำของฝ่ายรัฐบาลไทยได้ชี้ถึงวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์จำเพาะของชุมชนปัตตานีที่มีประวัติการปกครองแบบรัฐสุลต่านมาก่อน

Girls walk past Pattani mosque whilst waiting for the arrival of Thai Crown Prince Maha Vajiralongkorn during a royal visit to the southern Thai province of Narathiwat Nov. 14, 2016.

เเมตธิว วีลเลอร์​ กล่าวว่าการรับรู้ถึงอัตลักษณ์จำเพาะของชุมชนปัตตานี เป็นก้าวที่สำคัญ

อีกสัญญาณหนึ่งที่เเสดงถึงความเอาจริงเอาจังในความพยายามครั้งนี้คือบุคคลที่ร่วมเจรจา

อาจารย์รุ่งรวี กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งเเรกที่ตัวเเทนฝั่งกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็น ที่เป็นชายที่ใช้นามแฝงว่า “Deng Awaeji” เข้าร่วมเจรจา ซึ่งชี้ให้เห็นว่านอกจากฝ่ายการเมืองเเล้ว บีอาร์เอ็นยังส่งฝ่ายกองกำลังมาเจรจาด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องดูยาวๆ ว่าหนทางสู่สันติภาพจะคดเคี้ยวเพียงใด

ดอน ปาทาน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องชายเเดนภาคใต้ กล่าวว่า ที่การพบกันครั้งล่าสุดระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยเเละบีอาร์เอ็น มีการจัดงานเเถลงข่าวขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน เเต่เกิดการเลี่ยงคำถามที่เกี่ยวกับสถานะการปกครองตนเอง

เขากล่าวว่า ถ้ามีกลุ่มภายในของบีอาร์เอ็น รู้สึกไม่พอใจที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดการปกปครองอิสระขึ้น คนเหล่านั้นอาจตั้งกลุ่มย่อยเเยกออกมา ซึ่งอาจจะมีความคิดหัวรุนเเรงกว่าเดิม

A map of Thailand showing the location of Pattani province.

ท้ายสุด อาจารย์ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษาสภาความมั่นคงเเห่งชาติและตัวเเทนพิเศษของรัฐบาลไทยเรื่องชายเเดนใต้ กล่าวว่า ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่านักรบรุ่นใหม่ของขบวนการเเบ่งเเยกดินเเดนมีเเนวโน้มที่จะยอมสละชีพในการต่อสู้ เเละมีเเนวโน้มที่จะนำศาสนามาปนกับการเมือง

เขากล่าวว่าหากเรื่องนี้ถูกละเลย อาจนำไปสู่วังวนใหม่ของการใช้ความรุนเเรงและจะมีผลต่อบรรยากาศเจรจาสันติภาพในอนาคต

ทั้งนี้ บริเวณพื้นที่ความขัดเเย้งในภาคใต้อยู่ภายใต้การใช้กฎหมายที่ยกระดับมาตรการของฝ่ายความมั่นคง มานานหลายปีเเล้ว โดยเกิดข้อกล่าวหาต่อทหารเเละตำรวจว่าละเมิดสิทธิทมนุษยชนซ้ำๆหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการทรมานและทำให้ผู้ต้องสงสัยที่อยู่ในขบวนการต่อต้านรัฐเสียชีวิต ขณะอยู่ในภายใต้การควบคุมตัว