วิเคราะห์ลักษณะผู้นำ ‘ปูติน’ ‘เซเลนสกี’ ‘ไบเดน’ ในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

(From left to right) Russian President Vladimir Putin, Ukrainian President Volodymyr Zelenskyy and U.S. President Joe Biden.

สามผู้นำสำคัญในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนซึ่งได้แก่ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี และประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ได้แสดงลักษณะการใช้กลยุทธ์และความเป็นผู้นำที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในเหตุการณ์นี้

แซมมูเอล ฮันเตอร์ อาจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง University of Nebraska ที่เมืองโอมาฮา อธิบายว่า ปกติแล้วความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นระหว่างผู้นำประเทศที่มีสไตล์การบริหารประเทศคล้ายคลึงกัน แต่ในกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั่วโลกสามารถเห็นลักษณะความเป็นผู้นำทั้งสามสไตล์ของสามบุคคลสำคัญได้อย่างชัดเจน

ปูติน: ผู้นำหัวอุดมการณ์

จิตแพทย์และนักวิเคราะห์อาวุโสที่สถานบัน George H. W. Bush Foundation เคนเนธ เดเคลวา ซึ่งเคยศึกษาอดีตผู้แทนคนของหน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียต (KGB) ชี้ว่า ปธน.ปูตินเป็นผู้นำหัวอุดมการณ์

เคนเนธ เดเคลวา กล่าวว่า “ปูตินเป็นผู้นำที่โหดเหี้ยมและเผด็จการที่ใช้ความรุนแรงมานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งก่อนจะเกิดการบุกรุนยูเครนขึ้น หลายคนมองว่าปูตินนั้นฉลาดและมีกลยุทธ์ดี”

FILE -- In this Sept. 2010 file photo released Oct. 30, 2010, Russian President Vladimir Putin (then the prime minister) carries a hunting rifle in Russia's Siberian Tyva region.

โดยผู้นำรัสเซียได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ว่าเขามีร่างกายที่แข็งแรงและมีความเป็นชายสูง ถ่ายรูปตนเองทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ขี่ม้าโดยไม่สวมเสื้อ ตกปลา ถือปืนไรเฟิล หรือกระทั่งทุ่มร่างของศัตรูในศึกประลองศิลปะป้องกันตัว

ไมเคิล เบลก อาจารย์ด้านจิตวิทยาและนโยบายภาครัฐแห่ง University of Washington ชี้ว่า รูปแบบความเป็นผู้นำของ ปธน. รัสเซียสะท้อนให้เห็นถึงการปกครองแบบเก่าที่ผู้คนคุ้ยเคย ซึ่งปูตินจะแสดงความกำยำราวกับได้รับเลือกมาจากเบื้องบ้นเพื่อปกครอง การทำเช่นนี้นั้นเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์และยังเกี่ยวข้องกับลัทธิฟาสซิสต์อีกด้วย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหากพิจารณาผู้ฝักใฝ่ฟาสซิสต์คนอื่นๆ”

เซเลนสกี: ผู้นำบุคลิกน่าดึงดูด

ทางด้านประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ซึ่งกลายเป็นขวัญใจผู้คนจำนวนมากนั้น เป็นคนที่มีมาดผู้นำสูงและมีบุคลิกน่าดึงดูดความสนใจ
เขาเคยเป็นนักแสดงและดาราตลกมาก่อนได้สร้างความประหลาดใจต่อคนจำนวนมาก หลังเขาแสดงความกล้าหาญและมุ่งมั่นที่จะปกป้องประเทศตนเองเมื่อถูกรัสเซียบุกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อาจารย์จิตวิทยาแห่ง University of Nebraska แซมมวล ฮันเตอร์ กล่าวว่าลักษณะผู้นำของเซเลนสกี “เปี่ยมไปด้วยความหวัง ความรู้สึกที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงและอนาคตที่สดใสขึ้น และพวกเขาจะทำสิ่งต่างๆเพื่อให้เป้าหมายเหล่านั้นลุล่วง ซึ่งปธน. เซเลนสกีสามารถสะกดผู้คนด้วยสารที่เขาสื่อและบุคคลิกข้างต้น”

ท่าทีข้างต้นทำให้หลายคนรู้สึกว่าประเมินผู้นำคนนี้ต่ำไปเพียงเพราะเขาไม่มีประสบการณ์การเมืองพอ เนื่องจากเคยเพียงแค่ทำอาชีพนักแสดงมาก่อนหน้า

นอกจากนี้ ไมเคิล เบลก อาจารย์ด้านจิตวิทยาและนโยบายภาครัฐ กล่าวเสริมว่า ผู้นำยูเครนได้แสดงวิถึความเป็นผู้นำในรูปแบบใหม่ โดยปธน. เซเลนสกี ไม่ได้พยายามสร้างภาพว่าเขาไม่หวาดหวั่นกับสิ่งใด แต่กลับใช้การแสดงออกความเป็นตนเองที่บางครั้งรู้สึกกลัวหรือถูกถาโถมด้วยเรื่องยากๆ โดยเฉพาะเมื่อตอนที่สหรัฐฯยื่นมือเข้าไปช่วยและอาสาจะอพยพผู้นำยูเครน

Ukrainian President Volodymyr Zelensky

ปธน. เซเลนสกีได้แสดงจุดยืนที่ทำให้หลายคนจดจำเขาได้ซึ่งเข ากล่าวว่า “การต่อสู้อยู่ที่ประเทศยูเครน ผมต้องการอาวุธ ไม่ใช่ทางหนี”

ไบเดน: ผู้นำปฏิบัตินิยม

ส่วนประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯนั้น นักวิเคราะห์จาก University of Nebraska จัดว่า ไบเดนเป็นผู้นำสาย “ปฏิบัตินิยม” ซึ่งหมายถึงการเน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ในการรับมือกับวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เพราะผู้ลักษณะนี้ส่วนใหญ่ต่างแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและมักมีการใช้ข้อมูลและตัวเลข ซึ่งในหลายๆครั้ง ผู้นำเหล่านี้ค่อนข้างเป็นมีบุคลิกที่ “น่าเบื่อ”

ปธน.ไบเดน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนได้ส่วนเสียของสหรัฐฯในสงครามข้างต้นมากและพยายามไม่ให้สหรัฐฯได้รับความเสียหายใดๆจากความขัดแย้ง เขาจึงใช้การเจรจาและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างเครือข่ายที่มั่นคงและใช้มาตรทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษรัสเซีย ต่างจากการใช้กำลังทหารอเมริกันอย่างชัดเจน

Russia Ukraine War Biden

ทั้งนี้ ปธน. ไบเดนเป็นนักการเมืองมายาวนานตั้งแต่ปี 1972 โดยเริ่มจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ และได้รับเลือกในตำแหน่งเดิมถึง 6 ครั้ง จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯภายใต้รัฐบาลชุด ปธน.บารัค โอบามาถึง 8 ปี เขาจึงสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่เคยเกิดขึ้นมาตลอด และแม้ ปธน.ไบเดน จะมีคุณสมบัติคล้ายกับผู้นำยูเครน แต่เขามักมีโอกาสน้อยกว่าที่จะแสดงสิ่งนี้ออกมา

ทั้งนี้ ผลลัพธ์และทางออกของสงครามนั้นมักจะขึ้นอยู่กับภาวะและลักษณะความเป็นผู้นำของแต่ละคนซึ่งในกรณีของปธน. ปูติน ที่กำลังจะถูกต้อนให้จนมุม จิตแพทย์และนักวิเคราะห์อาวุโสที่สถานบัน George H. W. Bush Foundation เคนเนธ เดเคลวา แนะว่า ควรหาทางลดความขัดแย้งของสงคราม ด้วยการแสดงความเห็นใจแบบหวังผลเชิงยุทธวิธี หรือ tactical empathy

นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่า วิธีดังกล่าว อาจทำให้ผู้นำรัสเซียรู้สึกว่าเขาประสบความสำเร็จในการทำสงครามทางใดทางหนึ่ง และไม่เสียหน้า จนในที่สุดยอมถอยทัพกลับไปประเทศของตน