วิเคราะห์: สหรัฐฯหวังขยายเครือข่ายประเทศร่วมคานอำนาจจีนในเอเชียต่อเนื่อง

U.N. Security Council meeting on the situation between Russia and Ukraine, in New York

การเจรจาของตัวเเทนรัฐบาลสหรัฐฯ เกาหลีใต้และญี่ปุ่นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในรัฐฮาวายถูกจับตามองว่าเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯในการขยายเครือข่ายพันธมิตรในเอเชีย

นักวิเคราะห์มองว่าการหารือดังกล่าวซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสหรัฐฯ เกาหลีใต้และญี่ปุ่นในครั้งนี้เเสดงให้เห็นถึงการเดินหน้าคานอำนาจจีน

แถลงการณ์ร่วมของทั้งสามย้ำถึงความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพบริเวณช่องเเคบที่กั้นระหว่างจีนเเผ่นดินใหญ่และไต้หวัน

นอกจากนั้นเเถลงการณ์ยังได้กล่าวถึงความกังวลร่วมกันต่อ “พฤติกรรมที่บั่นทอนระเบียบระหว่างประเทศ" และประณามเกาหลีเหนือที่ทดลองยิงขีปนาวุธ​หลายครั้งไม่นานนี้

รองศาสตราจารย์ ลีฟ-อีริค อีสลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ะหว่างประเทศเเห่งมหาวิทยาลัย Ewha Womans University ที่กรุงโซลกล่าวว่าการที่สหรัฐฯหยิบเรื่องไต้หวันมาหารือเเสดงให้เห็นว่าอเมริกาต้องการขับเน้นเรื่องดังกล่าวให้เป็นวาระสำคัญของนโยบายในภูมิภาคนี้

นักวิชาการผู้นี้กล่าวว่าประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียจึงกำลังพิจารณาว่ามีเเผนอย่างไรบ้าง ถ้าความขัดเเย้งระหว่างไต้หวันเเละจีนปะทุขึ้น จากที่ได้เห็นเป็นเวลาเกือบสองปีเเล้วจีนส่งเครื่องบินทหารเข้าสู่น่านฟ้าไต้หวันที่เป็นเขตเเสดงตนเพื่อป้องกันภัยทางอากาศ

และก่อนหน้าการพบกันของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น รัฐบาลอเมริกันปรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคอินโดเเปซิฟิก ซึ่งมีการเเสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อช่วยให้ชาวไต้หวันสามารถกำหนดอนาคตของตนผ่านกระบวนการที่สันติ

สหรัฐฯมองว่าญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรสำคัญสำหรับเป้าหมายดังกล่าวโดยเมื่อปีที่เเล้วอเมริกานำประเด็นเรื่องการร่วมปกป้องไต้หวันหากเกิดภัยคุกคามหารือกับรัฐบาลโตเกียว

ขณะเดียวกันออสเตรเลียซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้กล่าวในเดือนพฤศจิกายนว่ามีจุดยืนร่วมช่วยเหลือไต้หวันเคียงข้างสหรัฐฯ

​ในนโยบายด้านอินโดเเปซิฟิกฉบับที่ได้รับการปรับเนื้อหาแสดงให้เห็นว่าอเมริกามีความต้องการกระชับความสัมพันธ์ให้เเน่นแฟ้นขึ้นกับประเทศในเอเชีย เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม

Taiwan Military Exercise

ฌอน คิง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง Park Strategies ที่นิวยอร์กกล่าวว่า “จุดเเข็งด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ นอกจากเรื่องยุทโธปกรณ์และบุคลากรของกองทัพ ก็คือเครือข่ายพันธมิตรอันกว้างขวางของประเทศประชาธิปไตย ที่สามารถเป็นตัวเเปรที่ช่วยเพิ่มพละกำลังได้หลายเท่าทวีคูณในยามวิกฤต”

คาร์ล เธเยอร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ​ แห่งมหาวิทยาลัย New South Wales ของออสเตรเลียกล่าวว่า ญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรที่สามารถเข้าช่วยเหลือสหรัฐฯ ได้อย่างรวดเร็ว หากความขัดเเย้งระหว่างไต้หวันเเละจีนบานปลาย เเละกระทบกับเกาะเล็กๆของญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้พื้นที่ขัดเเย้ง

แต่สำหรับเกาหลีใต้ ศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ วูวิงแห่งศูนย์​การศึกษา Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studiesในรัฐฮาวานกล่าวว่า รัฐบาลกรุงโซลมีเรื่องจัดการเร่งด่วนคือเกาหลีเหนือ และอาจไม่มองว่าตนมีผลประโยชน์สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯและญี่ปุ่นในเรื่องไต้หวันเสมอไป

ทั้งนี้เกาหลีใต้พึ่งพาจีนในเรื่องการค้าและนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อ 6 ปีก่อนที่จีนใช้มาตรการลงโทษต่อเกาหลีใต้สืบเนื่องจากประเด็นที่เกาหลีใต้ใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธประเภทหนึ่ง และมาตรการดังกล่าวทำให้เกาหลีใต้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไปเป็นเงิน 15,700 ล้านดอลลาร์

ฌอน คิง แห่ง Park Strategies จึงเห็นว่า เกาหลีใต้คงพยายามรักษาระยะห่างในประเด็นไต้หวันหากอเมริกาไม่กดดัน ขณะที่ญี่ปุ่นคือพันธมิตรที่น่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการหนึ่งที่สำคัญสำหรับกองทัพอเมริกันในเรื่องนี้