นอกจากความสำคัญทางด้านการกีฬาแล้ว การแข่งขันโอลิมปิดฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันจากต่างชาติ โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีเชื้อสายจีนแต่ลงแข่งในนามของประเทศอื่น ได้มีโอกาสย้อนสำรวจรากเหง้าของตัวเองมากขึ้น
การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ‘ปักกิ่ง เกมส์ 2022’ ของนักกีฬาชาติต่างๆ ที่มีเชื้อสายจีนผสมเปรียบเสมือนการหวนกลับบ้านเกิดที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและละเอียดอ่อน และถือเป็นโอกาสสำคัญในการสะท้อนตัวตนของพวกเขาและจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิก
แมนดิสัน ซ็อก นักกีฬาโอลิมปิกเต้นรำน้ำแข็ง (ice dancer) ของทีมชาติสหรัฐฯ บอกสำนักข่าวเอพีว่า “ทุกครั้งที่ฉันอยู่บนรสบัส (ที่กรุงปักกิ่ง) ฉันมักจะมองออกไปนอกหน้าต่างและศึกษาเมือง ฉันจินตนาการถึงรกรากและบรรพบุรุษของฉัน มันเป็นความรู้สึกดีๆ ที่ว่าฉันเองเป็นมีความส่วนหนึ่งของผืนดินนี้” โดยบิดาของนักกีฬาสาวผู้นี้เป็นชาวรัฐฮาวายที่มีเชื้อสายจีนผสม
อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์แห่ง University of Massachusetts วิทยาเขตแอมเฮิร์สต์ ริชาร์ด ชู อธิบายว่า Chinese diaspora หรือ กลุ่มคนที่มีเชื้อสายจีนแต่อาศัยอยู่นอกประเทศจีนนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 16 และมีความหลากหลายมาก คือมีตั้งแต่ชั้นแรงงานระดับล่างในสมัยการล่าอาณานิคม ไปจนถึงผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงและย้ายไปต่างประเทศเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า รวมทั้งเด็กผู้หญิงจีนจำนวนมากที่ถูกชาวต่างชาติรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมในช่วงที่ทางการจีนใช้นโยบายลูกคนเดียว
ความหลากหลายนี้ส่งผลต่อการรับรู้และดำรงความเป็นจีนของผู้ที่มีเชื้อสายจีนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแตกต่างกันด้วย
ประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ความเป็นจีน (Chinese identity) จึงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน โดยอย่างยิ่งกับชาวฮ่องกงและไต้หวันที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับทางการจีนมานาน นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็งของสหรัฐฯ แคเร็น เช็น ซึ่งครอบครัวอพยพมาจากไต้หวัน บอกกับเอพีว่า เธอเป็นคนทั้งไต้หวันและคนจีน และมักใช้สองคำแทนกันบ่อยครั้ง
เธอกล่าวเสริมว่า เธอจะพยายามใช้ภาษาจีนให้มากที่สุดระหว่างที่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง และเธอรู้สึกภูมิใจที่สามารถแสดงภูมิหลังของเธอบนลานน้ำแข็งผ่านการสเก็ตด้วยเพลง ‘Butterfly Lovers Violin Concerto’ ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงสไตล์คลาสสิคแบบสากลที่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนผสมอยู่ หลายคนเรียกเพลงนี้ว่าเป็น "โรมิโอกับจูเลียต เวอร์ชั่นจีน"
การแข่งขัน ‘ปักกิ่ง เกมส์’ ของนักกีฬาโอลิมปิกหลายคนที่มีเชื้อสายจีนจึงแสดงให้เห็นความหลากหลายของคนจีนที่พลัดถิ่นเพราะนักกีฬาบางคนมีเชื้อชาติและวัฒนธรรมอื่นผสมกับจีนอยู่ บางคนมีเชื้อสายจีนย้อนกลับไปหนึ่ง สอง หรือหลายรุ่น ขณะที่นักกีฬาบางคนแม้มีภูมิหลังคล้ายกันแต่ก็เลือกที่จะแสดงออกต่างกัน เช่น กรณีของนักกีฬาโอลิมปิกสเก็ตชาย นาธาน เช็น และ นักกีฬาโอลิมปิกสกีหญิง ไอลีน กู่ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้งสองคนเกิดและโตที่สหรัฐฯ จากพ่อแม่ที่อพยพมาจากประเทศจีนเหมือนกัน แต่นาธานลงแข่งในนามสหรัฐฯ ส่วนไอลีนนั้นลงแข่งในนามของประเทศจีน
การตัดสินของไอลีนได้เรียกเสียงฮือฮาในแวดวงกีฬามาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการที่นักกีฬาเลือกที่จะแสดงออกความเป็นตัวเอง ดังนั้น ‘ปักกิ่ง เกมส์’ ที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาเชื้อสายจีนหลายๆ คนมาเยือนแผ่นดินจึนเป็นครั้งแรก จึงมีความหมายมากทั้งในเรื่องความสำเร็จในด้านอาชีพนักกีฬาและความสำเร็จส่วนตัว
อลิสา หลิว นักกีฬาโอลิมปิกสเก็ตหญิงทีมสหรัฐฯ ที่กำลังจะเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก มีบิดาเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศจีนและอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นครซานฟรานซิสโก บิดาของเธอมีความผูกพันและความต้องการที่จะกลับไปเหยียบแผ่นบ้านเกิดที่ประเทศจีนมาก แต่ไม่สามารถทำได้เพราะข้อจำกัดข้างต้น ดังนั้น การที่อลิสาสามารถลงแข่งในประเทศจีนได้จึงถือเป็นก้าวสำคัญของครอบครัวของเธอ
ขณะที่ นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งจากประเทศแคนาดา จอร์จ โฮ ซาง ที่มีเชื้อสายจาไมก้ากับจีน และได้รับการเลี้ยงดูมาในวัฒนธรรมยุโรปผสมกับยิว ได้บอกกับเอพีว่า การที่เขาลงแข่งในนามประเทศแคนาดานั้นสะท้อนให้เห็นถึงการหลอมรวมกันของเชื้อชาติต่างๆ ที่ถือเป็นจิตวิญญาณที่แท้จริงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ที่มา: สำนักข่าวเอพี