กัมพูชาไม่เชิญ รมต. ตปท. ของเมียนมาเข้าร่วมประชุมอาเซียน

In this photo provided by An Khoun Sam Aun/National Television of Cambodia, Cambodian Prime Minister Hun Sen, left, greets with Myanmar State Administration Council Chairman, Senior General Min Aung Hlaing, right, during a meeting in Naypyitaw, Myanmar, Friday Jan. 7, 2022. (AP)

In this photo provided by An Khoun Sam Aun/National Television of Cambodia, Cambodian Prime Minister Hun Sen, left, greets with Myanmar State Administration Council Chairman, Senior General Min Aung Hlaing, right, during a meeting in Naypyitaw, Myanmar, Friday Jan. 7, 2022. (AP)

Your browser doesn’t support HTML5

Cambodia Asean Myanmar Invitation

มื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้นำกัมพูชาได้สร้างความไม่พอใจต่อตัวแทนในกลุ่มประเทศอาเซียน หลังนายกฯ ฮุน เซนเยือนประเทศเมียนมาและพบรัฐบาลทหารเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ล่าสุดนั้นรัฐบาลกัมพูชาปรับกลยุทธ์ไม่ยื่นคำเชิญให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมประชุมอาเซียนที่จะจัดขึ้นในกลางเดือนนี้

รัฐบาลกัมพูชาซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานจัดงานการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กำลังจะเริ่มขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ ณ​ กรุงพนมเปญ ได้ตัดสินใจไม่เชิญนายวั นนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมงาน

โดยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา นาย ชุม สหนุรี กล่าวกับวีโอเอภาคภาษาเขมรว่า “เนื่องจาก (รัฐบาลทหารเมียนมา) ไม่แสดงความคืบหน้าในการปฏิบัติตาม ฉันทามติ 5 ข้อ ผู้แทนอื่นๆ จากประเทศในกลุ่มอาเซียนจึงไม่สามารถตกลงกันได้ว่าควรที่จะเชิญ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศที่มาจากการแต่งตั้งโดยสภาบริหารแห่งรัฐของเมียนมา ให้มาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้หรือไม่”

สภาบริหารแห่งรัฐของเมียนมา หรือ State Administration Council ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยกองทัพเมียนมา หลังเกิดการทำรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนาง ออง ซาน ซู จี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์เมื่อปีที่ผ่านมา

รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา นาย ชุม สหนุรี กล่าวเสริมถึงวิธีการแก้ปัญหาว่า “ดังนั้น เราจึงเชิญผู้แทนจากประเทศเมียนมาที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองมาให้เข้ามาร่วมแทน” และ “เราต้องการให้เมียนมามาเข้าร่วมงานในระดับที่ไม่ใช่การเมืองแทน แทนที่จะตัดไม่ให้เข้าร่วมเลย ประเทศเมียนสามารถเลือกได้ว่าใครจะมาเป็นตัวแทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง”

การตัดสินใจข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงการกลับลำของผู้นำกัมพูชา นายกฯ ฮุน เซน ที่เดินทางไปเยือนเมียนมาและพบพลเอกมิน อ่อง หล่าย เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในตอนแรกผู้นำกัมพูชาให้เหตุว่าที่ทำเช่นนั้นเพราะผู้นำกัมพูชาต้องการให้อาเซียนครบทั้ง 10 ชาติกลับมาร่วมโต๊ะประชุมกัน

ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวของนายกฯ ฮุน เซนได้สร้างความไม่พอใจให้กับประเทศในกลุ่มอาเซียนหลายประเทศ รวมทั้งอินโดนิเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำกัมพูชาประกาศเลื่อนการประชุมจากวันที่ 18-19 มกราคม ออกไปเป็น 16-17 กุมภาพันธ์แทน

นอกจากนี้ นายกฯ ฮุน เซยัง ได้ยอมรับถึงการมีตัวตนของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐบาลเงาของเมียนมาและพยายามที่กดดันให้รัฐบาลทหารของเมียนมาให้แสดงความคืบหน้าในการปฏิบัติตาม ฉันทามติ 5 ข้อเพื่อที่จะสามารถเข้าร่วมการประชุมโดยมีฝ่ายการเมืองมาเป็นตัวแทนได้

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชาชี้ว่า คำว่า “ความคืบหน้า” ในบริบทนี้หมายถึง “ความตั้งมั่นของรัฐบาลเมียนมาและฝ่ายอื่นๆ ที่จะหยุดความรุนแรงด้วยการทำความตกลงหยุดยิง เพื่อที่ได้จะเริ่มการสนทนากันและเปิดช่องทางให้นักโทษทางการเมืองและหน่วยงานช่วยเหลือมนุษยชนต่างๆ ด้วย”

ทั้งนี้ความรุนเเรงที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพเมียนมาทำรัฐประหารได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 1,500 ราย

แวนน์ บุนนา ผู้เชี่ยวชาญจาก Cambodian Institute for Cooperation and Peace ในกรุงพนมเปญ อธิบายถึงการปรับกลยุทธ์ที่ทางการกัมพูชาพยายามใช้ในตอนแรกเพื่อให้ฝั่งทหารเมียนมาเข้ามามีส่วนร่วมว่า “ที่กัมพูชาทำแบบนั้น เพราะรู้ว่าถ้ายังดึงดันให้ฝ่ายการเมืองของรัฐบาลทหารเมียนมามาร่วมอยู่ มันมีโอกาสที่จะการประชุมอาเชียนอาจจะไม่เกิดขึ้น”

ทางวีโอเอพยายามติดต่อไปยัง สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และสถานทูตอินโดนิเซียที่กรุงพนมเปญเพื่อขอความคิดเห็นแต่ไม่ได้รับกาตอบกลับ ทั้งนี้ เอกอัครราชฑูตสหรัฐฯ ประจำกรุงพนมเปญได้กล่าวผ่านการสัมภาษณ์กับวีโอเอ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียนกดดันให้ รัฐบาลทหารเมียนมาแสดงความรับผิดชอบกับการกระทำที่ผ่านมา