ความสำเร็จครั้งสำคัญๆ ของวงการสำรวจอวกาศในปีพุทธศักราช 2557 นี้ เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
ในเดือนสิงหาคม ยานสำรวจดาวหาง Rosetta ที่องค์การสำรวจอวกาศยุโรป (European Space Agency) ส่งออกไปนอกโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กลายเป็นยานสำรวจอวกาศลำแรกของโลกที่สามารถโคจรรอบดาวหางได้สำเร็จ ดาวหางดวงนี้อยู่ห่างจากโลกออกไปในอวกาศกว่า 400 ล้านกิโลเมตร
และในเดือนพฤศจิกายน ยานสำรวจดาวหาง Rosetta ได้ส่งยานสำรวจลูกชื่อ Philae ลงจอดบนดางหางดังกล่าวได้สำเร็จ
พื้นผิวที่ขรุขระของดาวหางทำให้ยานสำรวจ Philae ลงจอดในจุดที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ทั่วถึง แต่นาย Stephen Ulamec ผู้จัดการฝ่ายยานสำรวจกล่าวว่าทำอะไรไม่ได้ นอกจากต้องอดใจรอ
เขากล่าวว่าตอนแรก ทีมงานกลัวว่ายานลูกอาจจะมีความร้อนสูงจัด แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ปัญหาตอนนี้คือตัวยานลงจอดในที่ร่ม เขากล่าวว่ายานสามารถทำงานได้นานกว่าที่คาดเอาไว้แต่ต้องอดใจรอจนกว่าตัวยานจะได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอที่จะเริ่มทำงานได้อีกครั้ง
ในเดือนกันยายน ดาวเทียมสำรวจดาวอังคารของสหรัฐ ชื่อ MAVEN (Mars Atmosphere and Volatile Evolution Mission) เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารได้สำเร็จ ดางเทียมดวงนี้มุ่งศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นกับชั้นบรรยากาศและแหล่งน้ำของดาวอังคาร
นาย Bruce Jakosky principal investigator แห่งโครงการ MAVEN กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานพยายามค้นหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศของดาวอังคาร เขาชี้ว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเรียนรู้แล้วว่าดาวอังคารเคยมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น แต่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงหลายพันล้านปีที่ผ่านมา ไม่มีใครรู้ว่าทำไมและอย่างไร
และหลังจาก MAVEN เข้าสู่วงโครจรรอบดาวอังคารได้ไม่กี่วัน ยานสำรวจอวกาศของอินเดียชื่อมังคลายานก็เดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารได้สำเร็จเช่นกัน ทำให้อินเดียกลายเป็นชาติแรกที่สามารถส่งยานสำรวจเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารได้สำเร็จในความพยายามหนแรก
มาถึงเดือนธันวาคม นาซ่าทดลองส่งกระสวยอวกาศรุ่นใหม่ Orion ขึ้นไปนอกโลกโดยติดไปกับตัว space rocket ที่ใหญ่ที่สุดของนาซ่าชื่อ Delta IV Heavy ถือเป็นการทดลองส่งที่เกือบสมบูรณ์แบบ
ยานอวกาศ Orion ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถนำนักอวกาศออกไปสำรวจอวกาศที่ไกลโพ้นในอนาคต
นาซ่าวางแผนที่จะส่งกระสวยอวกาศ Orion ไปโคจรรอบดวงจันทร์ใน
ปีคริสตศักราช 2018 ในขณะที่ Orion จะนำนักบินอวกาศชุดแรกออกไปสำรวจอวกาศไกลโพ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 2021 ก็ต้องอดใจรอกันหน่อย
นอกจากความสำเร็จแล้ว วงการสำรวจอวกาศสหรัฐประสบอุบัติเหตุถึงสองครั้งในปีนี้
ในเดือนกันยายน จรวด Antares ของ บริษัท Orbital Sciences Corporation เกิดระเบิดกลางอากาศเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดขององค์การนาซ่านอกชายฝั่งรัฐเวอร์จิเนีย จรวดไร้คนขับดังกล่าวมีภารกิจลำเลียงสัมภาระไปส่งยังสถานีอวกาศนานาชาติ
ต่อมาในปลายเดือนเดียวกัน ยานอวกาศ SpaceShipTwo ของบริษัท Virgin Galactic ประสบอุบัติเหตุระหว่างช่วงการทดลองบินในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทำให้นักบินเสียชีวิต 1 รายและนักบินอีกคนได้รับบาดเจ็บ
แต่บริษัททั้งสองแห่งนี้เปิดเผยว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เป็นอุปสรรคต่อความพยายามพัฒนายานอวกาศที่เชื่อถือได้ในอนาคตต่อไป