ตัวเลขจากโครงการ Hotline ที่รัฐบาลอินเดียจัดตั้งขึ้น ระบุว่ามีผู้หญิงโทรศัพท์เข้าไปร้องทุกข์มากกว่า 1,500 รายในแต่ละวัน และประมาณ 20% ของคำร้องทุกข์เป็นเรื่องร้ายแรง เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน ไปจนถึงการถูกก่อกวนในเรื่องสินสมรส
Khadijah Faruqui ผู้อำนวยการโครงการ Hotline ในกรุงนิวเดลี และนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี บอกว่า ปัญหาที่ได้รับฟังไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ใหม่คือ มีความกล้าที่จะพูดเรื่องผู้หญิงถูกรังแกในลักษณะต่างๆกันมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้จะไม่มีใครกล้าพูดว่าตนถูกรังแกทางเพศ เพราะกลัวจะเสียชื่อ
อย่างไรก็ตาม กรณีการรุมข่มขืนนักศึกษาหญิงบนรถโดยสาร และผู้รับเคราะห์เสียชีวิตในเวลาต่อมา ตามด้วยการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่และการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักมากขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในอินเดียยุติลง
แต่ Ranjana Kumari สมาชิก National Commission for Empowerment of Women เชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงท่าทีเล็กน้อย เพราะแม้ผู้หญิงในอินเดียส่วนใหญ่จะยังถูกกดดันทางสังคมและกฎหมายอยู่ต่อไป แต่ผู้หญิงในเขตนาครที่มีการศึกษา เริ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีความเชื่อมั่น และแสดงความคิดเห็นและความเป็นผู้นำออกมา
ปัญหาที่เป็นตัวถ่วงสำคัญในเวลานี้ ตามความเห็นของ Ranjana Kumari คือการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความเห็นใจหรือเข้าใจปัญหา และระบบการศาลที่เชื่องช้า ทำให้ผู้รับเคราะห์มักไม่อยากไปแจ้งความ
สมาชิก National Commission for Empowerment of Women ผู้นี้เชื่อว่าเป็นเรื่องของการขาดเจตนารมณ์ทางการเมือง
แต่นักสังคมวิทยา Dipankar Gupta ในกรุงนิวเดลี บอกว่าปฏิกิริยาจากคนหนุ่มคนสาวที่ได้เห็นในการเดินขบวนหลังกรณีการรุมข่มขืนนักศึกษาสาว ทำให้เขารู้สึกมีความหวังในคนรุ่นใหม่ เพราะการเรียกร้องของคนเหล่านั้น เป็นการเรียกร้องให้รัฐรับใช้ประชาชน ไม่มีการนำเรื่องชนชั้นวรรณะมาเป็นข้ออ้าง
อย่างไรก็ตาม นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีในอินเดียกล่าวว่า ยังมีงานจะต้องทำกันอีกมาก และเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างเชื่องช้ามาก โดยเฉพาะในชนบท ซึ่งมีประชาชนมากถึงสองในสามพำนักอาศัยอยู่
Khadijah Faruqui ผู้อำนวยการโครงการ Hotline ในกรุงนิวเดลี และนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี บอกว่า ปัญหาที่ได้รับฟังไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ใหม่คือ มีความกล้าที่จะพูดเรื่องผู้หญิงถูกรังแกในลักษณะต่างๆกันมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้จะไม่มีใครกล้าพูดว่าตนถูกรังแกทางเพศ เพราะกลัวจะเสียชื่อ
อย่างไรก็ตาม กรณีการรุมข่มขืนนักศึกษาหญิงบนรถโดยสาร และผู้รับเคราะห์เสียชีวิตในเวลาต่อมา ตามด้วยการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่และการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักมากขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในอินเดียยุติลง
แต่ Ranjana Kumari สมาชิก National Commission for Empowerment of Women เชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงท่าทีเล็กน้อย เพราะแม้ผู้หญิงในอินเดียส่วนใหญ่จะยังถูกกดดันทางสังคมและกฎหมายอยู่ต่อไป แต่ผู้หญิงในเขตนาครที่มีการศึกษา เริ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีความเชื่อมั่น และแสดงความคิดเห็นและความเป็นผู้นำออกมา
ปัญหาที่เป็นตัวถ่วงสำคัญในเวลานี้ ตามความเห็นของ Ranjana Kumari คือการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความเห็นใจหรือเข้าใจปัญหา และระบบการศาลที่เชื่องช้า ทำให้ผู้รับเคราะห์มักไม่อยากไปแจ้งความ
สมาชิก National Commission for Empowerment of Women ผู้นี้เชื่อว่าเป็นเรื่องของการขาดเจตนารมณ์ทางการเมือง
แต่นักสังคมวิทยา Dipankar Gupta ในกรุงนิวเดลี บอกว่าปฏิกิริยาจากคนหนุ่มคนสาวที่ได้เห็นในการเดินขบวนหลังกรณีการรุมข่มขืนนักศึกษาสาว ทำให้เขารู้สึกมีความหวังในคนรุ่นใหม่ เพราะการเรียกร้องของคนเหล่านั้น เป็นการเรียกร้องให้รัฐรับใช้ประชาชน ไม่มีการนำเรื่องชนชั้นวรรณะมาเป็นข้ออ้าง
อย่างไรก็ตาม นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีในอินเดียกล่าวว่า ยังมีงานจะต้องทำกันอีกมาก และเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างเชื่องช้ามาก โดยเฉพาะในชนบท ซึ่งมีประชาชนมากถึงสองในสามพำนักอาศัยอยู่