ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักข่าวหลายชาติรวมทั้งไทย ไม่สามารถเข้าร่วมวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก


FILE - A protester is seen holding a placard at a rally in support of press freedom near the headquarters of a media company in Istanbul, Wednesday, Oct. 28, 2015.
FILE - A protester is seen holding a placard at a rally in support of press freedom near the headquarters of a media company in Istanbul, Wednesday, Oct. 28, 2015.

UNESCO ร่วมกับกระทรวงศึกษาและวัฒนธรรมของฟินแลนด์ จัดการประชุมเนื่องในวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ที่กรุงเฮลซิงกิ นครหลวงของฟินแลนด์

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:37 0:00
Direct link

ในช่วงระหว่างวันที่ 2 – 4 พฤษภาคมนี้ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ร่วมกับกระทรวงศึกษาและวัฒนธรรมของฟินแลนด์ จัดการประชุมเนื่องในโอกาสวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ที่กรุงเฮลซิงกิ นครหลวงของฟินแลนด์

แต่การประชุมครั้งนี้ไม่มีนักข่าว Khadija Ismayilova ไปรับรางวัล UNESCO/Guillermo Cano World Press Freedom ตามกำหนด เพราะเธอถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปีครึ่ง อยู่ที่ Azerbaijan เพราะการรายงานข่าวการคอรัปชั่นของรัฐบาล

และก็ไม่มีนักข่าวชาวไทย นายประวิตร โรจนพฤกษ์ ไปร่วมงานตามที่ผู้จัดเชื้อเชิญไว้ด้วย เพราะทางการทหารผู้ปกครองประเทศไม่อนุญาตให้เขาเดินทาง

นักข่าวไทยผู้นี้กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว VOA ว่า เขาสังหรณ์ใจว่านักข่าวไทยส่วนมากไม่อยากเสี่ยง จึงเซ็นเซอร์ตนเองถ้าจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับระบอบปกครองทหาร และกว่าจะรู้ตัวว่าได้ข้ามเส้น ก็เมื่อถูกทางการทหารควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา

อย่างไรก็ตามนักข่าวผู้นี้บอกกับ VOA ด้วยว่า รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ก็กดดันสื่อในประเทศโดยการใช้อำนาจเชิงพาณิชย์

พร้อมกันนี้ องค์กร Freedom House ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อเผยแพร่เสรีภาพและประชาธิปไตยทั่วโลก ได้เผยแพร่รายงานประจำปีว่าด้วยอิสรภาพของสื่อออกมาด้วย โดยได้ประเมินเสรีภาพของสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียงและสื่อดิจิตัล ตามประเทศและเขตการปกครองต่างๆ รวมทั้งหมด 199 แห่งทั่วโลก

รายงานประจำปีของ Freedom House สรุปผลการสำรวจเสรีภาพของสื่อทั่วโลกว่า ในปี ค.ศ. 2015 เสรีภาพสื่อลดลงต่ำสุดในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา โดยระบุว่าเป็นผลมาจากพลังกดดันทางการเมือง อาชญากรรม และการก่อการร้าย ที่ต้องการจะปิดปากสื่อ

รายงานของ Freedom House ยังกล่าวไว้ด้วยว่าการสูญเสียเสรีภาพของสื่อ เชื่อมโยงกับการแบ่งพรรคพวกที่เข้มข้นขึ้นในหลายๆประเทศ รวมทั้งการเพิ่มระดับการข่มขู่และการทำร้ายร่างกายนักข่าวด้วย

Freedom House Report
Freedom House Report

รายงานฉบับนี้ระบุว่า มีประชากรโลกเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่เข้าถึงสื่อที่มีเสรีภาพ ในขณะที่ร้อยละ 41 มีสื่อที่มีเสรีภาพบางส่วน และมากถึงร้อยละ 46 ที่มีสื่อที่ไม่มีเสรีภาพ ส่วนเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตสำหรับปีที่แล้ว รายงานฉบับนี้กล่าวว่า ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ห้า

รายงานขององค์กร Freedom House กล่าวไว้ด้วยว่า ประเทศที่ลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมากที่สุดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา คือ บังคลาเทศ ตุรกี บุรุนดี ฝรั่งเศส เซอร์เบีย เยเมน อียิปต์ มาซีโดเนีย และซิมบับเว แต่ที่ผ่อนคลายการควบคุมลง คือ ศรีลังกา และ เบอร์กิน่า ฟาโซ

ขณะเดียวกัน Reporters without Border ซึ่งจัดทำดัชนีสิทธิเสรีภาพสื่อออกมาทุกปี ลดตำแหน่งประเทศไทยลงสองตำแหน่ง คือจาก 134 ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 136 ในปีนี้

โดยมีประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จับกลุ่มอยู่ใกล้เคียง คือกัมพูชาที่ 128 อินโดนีเซียที่ 130 ฟิลิปปินส์ที่ 138 และพม่าซึ่งเพิ่งจะมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้นมาใหม่ ติดในอันดับที่ 143 มาเลเซียที่ 146 ส่วนลาวและเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ 173 และ 175 ตามลำดับ

ประเทศที่ติดอันดับหนึ่ง คือฟินแลนด์ โดยมีเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน เรียงตามมาในอันดับที่ 2, 3, 4 และที่ 5 คือนิวซีแลนด์ ที่รั้งท้ายคือเกาหลีเหนือ และเอริเทรีย ในอันดับที่ 179 และ 180 ส่วนสหรัฐถูกจัดไว้ในอันดับที่ 41

Reporters Without Borders (RSF) Freedom of the Press Worldwide 2016
Reporters Without Borders (RSF) Freedom of the Press Worldwide 2016

XS
SM
MD
LG