ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญชี้ 'เอดส์' หยุดระบาดไม่ได้หากไม่เปลี่ยนวิธีคิด


FILE - Buddhist monks light candles during an HIV/AIDS awareness campaign for World AIDS Day in Kolkata, India, Dec. 1, 2018.
FILE - Buddhist monks light candles during an HIV/AIDS awareness campaign for World AIDS Day in Kolkata, India, Dec. 1, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:59 0:00

หากพูดถึง โรคเอดส์ เมื่อกว่า 40 ปีก่อน ก็แทบจะไม่แตกต่างกับการต้องโทษประหารชีวิต ที่หากติดเชื้อแล้วจบลงที่ต้องเสียชีวิตแน่นอน แต่วิวัฒนาการทางการแพทย์ทำให้สามารถจัดการกับเจ้ามหันตภัยโรคร้ายได้มากขึ้น

การรณรงค์ในวันเอดส์โลก ในวันที่ 1 ธันวาคม เป็นประจำทุกปีคือส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกได้รู้เท่าทันแต่ก็ไม่ประมาทกับการใช้ชีวิต ที่แม้จะลดน้อยลงแต่ก็ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง

นั่นคือสิ่งที่ผู้คนจากทั่วโลกร่วมการรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก ที่ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเน้นย้ำมาตลอด คือ การสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยร้ายการไปตรวจเลือดการแนะวิธีป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งการรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

สิ่งเหล่านี้ดำเนินมาต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 3 ทศวรรรษ นับแต่ผู้คนในวงการแพทย์ เห็นพ้องที่จะกำหนด ในวันแรกของเดือนธันวาคม เป็นวันแห่งการตระหนักรู้ถึงภัยร้ายของโรคระบาดจาก ไวรัส HIV ที่ขณะนั้นยังไม่มียารักษาและจะไม่มีโอกาสรอดชีวิตหากติดเชื้อ

พอล คาวาตะ (Paul Kawata) นักรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ ที่เริ่มต้นทำงานรับมือกับโรคร้ายนี้มาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก บอกถึงความพยายามที่จะลุกขึ้นมารับมือมหันภัยร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย

เช่นเดียวกับ นายแพทย์ แอนโธนี่ เฟาชี่ (Dr. Anthony Fauci)ผู้อำนวยการสถาบันด้านภูมิแพ้เเละโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ผู้ค้นคว้าและพัฒนาวิธีการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส HIV มาตั้งแต่ในช่วงการแพร่ระบาดในยุคแรกก่อนจะสามารถพัฒนาตัวยา 'Truvada' ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัสของผู้ติดเชื้อไปยังผู้อื่นได้สำเร็จ เพียงแต่ผู้ที่ติดเชื้อต้องรับประทาน 1 เม็ดต่อวันเท่านั้น

นายแพทย์ แอนโธนี่บอกว่า การยุติการระบาดของโรคเอดส์นั้นสามารถทำได้เพียง 2 ทาง คือ การรักษาและการป้องกัน ทั้งการรักษาในกลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มที่แสดงอาการ และการป้องกันในกลุ่มเสี่ยงซึ่งหากดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว ในทางทฤษฎีก็จะสามารถยุติการแพร่ระบาดได้อย่างเด็ดขาด

ตัวยาชนิดใหม่ที่สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส HIV ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื่อ HIV ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ ก็ลดลงมากกว่าร้อยละ55 ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2547 แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อ HIV เพียงร้อยละ 60 เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษา

พอล คาวาตะ นักรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ ที่ทำงานในองค์รด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสุขภาพและเชื้อชาติของผู้ติดเชื่อ HIVบอกว่า ปัญหาหลักของโรคไวรัส HIVคือ การที่ผุ้ป้วยถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม และการเป็นตราบาปในสังคม

เขาบอกด้วยว่า ผู้ติดเชื้อส่วนมากมักอยู่ใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนผิวสี - กลุ่มรักเพศเดียวกัน และกลุ่มคนยากจนและจากข้อมูลพบว่าผู้ติดเชื้อ HIV ส่วนมากทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลก ก็มักจะเป็นมีฐานะยากจน มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการตรวจเลือด หรือการมีหลักประกันสุขภาพ ทำให้แนวทางการรักษาจำเป็นต้องพัฒนาไปในแนวทางอื่นควบคู่กันไปด้วย

นายแพทย์ แอนโธนี่ เฟาชี่ บอกว่า แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ คือสิ่งจำเป็นในการจัดการกับปัญหา HIV แม้ว่าในปัจจุบันจะยังอยู่ในขั้นทดลอง แต่ก็เป็นความหวังในอนาคต อย่างไรก็การรณรงค์ตรวจเลือดเพื่อคัดแยกและค้นหาผู้ติดเชื้อเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อให้ยาที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาด น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้

XS
SM
MD
LG